ประกาศผลผู้ได้รับทุน 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 2

ประกาศคณะกรรมการโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี)
เรื่อง ประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกให้รับทุนโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) รุ่นที่ 2 (ปีการศึกษา 2549)

ตามที่ คณะกรรมการโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) (โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน) ได้ประกาศรับสมัครผู้รับทุนโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) (โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน) โดยกำหนดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 - 16 มกราคม 2549 กำหนดสอบข้อเขียนในวันที่ 29 มกราคม 2549 และกำหนดสอบสัมภาษณ์ในวันที่ 4 มีนาคม 2549 นั้น บัดนี้ การสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้รับทุน ดังต่อไปนี้

รายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกทุนการศึกษาโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งทุนฯ
ที่มา กระทรวงศึกษาธิการ

ประกาศเกณฑ์การรับสมัคร 1 อำเภอ 1 ทุน (รุ่นที่ 2)

ประกาศคณะกรรมการโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี)เรื่อง การคัดเลือกผู้รับทุนรัฐบาลตามโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา(ปริญญาตรี) รุ่นที่ 2 (ปีการศึกษา 2549)
ด้วยรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับสำนักงาน ก.พ. กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ดำเนินโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) (โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน) และคณะกรรมการโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จึงมีมติในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2548 เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกผู้รับทุนโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน จึงให้ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้รับทุน ดังนี้
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับทุน
1.1 เป็นนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2547 หรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2548 สายสามัญหรือสายอาชีพ โดยพิจารณาจากอำเภอ/กิ่งอำเภอที่สถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าตั้งอยู่เป็นเกณฑ์ในการสมัคร และต้องศึกษาอยู่ในสถานศึกษานั้นๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร
1.2 กรณีผู้จบการศึกษานอกโรงเรียนจะต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร และมีระยะเวลาศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน การที่ผู้สมัครจะใช้สิทธิสมัครของอำเภอใด ให้พิจารณาที่ตั้งของสถานศึกษาที่ตนศึกษาอยู่ และให้มีหนังสือรับรองจากผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนที่ศึกษาอยู่ด้วย
1.3 ผู้สมัครจะต้องมีผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 กรณีนักเรียนที่จบการศึกษาในปี 2547 ให้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ย 6 ภาคการศึกษา ส่วนนักเรียนที่กำลังจะจบการศึกษาในปีการศึกษา 2548 นักเรียนสายสามัญให้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ย 5 ภาคการศึกษา สำหรับผู้เรียนการศึกษานอกโรงเรียนที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2548 ให้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกภาคเรียนที่ผ่านมาก่อนภาคเรียนสุดท้ายที่จะจบการศึกษา ส่วนผู้เรียนการศึกษานอกโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2547 ให้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกภาคเรียน
1.4 เป็นผู้มีฐานะยากจน โดยครอบครัว ซึ่งหมายถึง บิดามารดารวมกัน หรือ ผู้ใช้อำนาจปกครองที่ให้การอุปการะ ในกรณีที่บิดามารดาไม่ใช่ผู้ปกครอง (ไม่นับรวมญาติพี่น้อง) มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปี (นับช่วงเวลาระหว่าง 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2547) ทั้งนี้จะต้องมีหลักฐานแสดงรายได้ ดังนี้
1.4.1 กรณีบิดามารดาหรือผู้ใช้อำนาจปกครองที่ให้การอุปการะมีเงินเดือนและรายได้ที่แน่นอน ให้ใช้ใบรับรองเงินเดือนเป็นหลักฐาน
1.4.2 กรณีที่บิดามารดาหรือผู้ใช้อำนาจปกครองที่ให้การอุปการะมีรายได้ไม่แน่นอน ต้องมีผู้รับรองรายได้เป็นลายลักษณ์อักษร จำนวน 3 คน ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของผู้รับรองที่ต้องดำเนินการอย่างเปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ ประกอบด้วย
1.4.2.1 สรรพากรอำเภอ หรือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (กรณีอยู่นอกเขตเทศบาล) หรือ นายกเทศมนตรี (กรณีอยู่ในเขตเมือง) หรือผู้อำนวยการเขต กทม. (กรณีอยู่ในกรุงเทพมหานคร) โดยให้ยึดภูมิลำเนาของบิดามารดาหรือผู้ใช้อำนาจปกครองที่ให้การอุปการะเป็นเกณฑ์
1.4.2.2 ผู้บริหารสถานศึกษา
1.4.2.3 ครูประจำชั้น
1.4.3 กรณีบิดามารดาหย่าร้างหรือเสียชีวิต ให้พิจารณาจากรายได้ของผู้ใช้อำนาจปกครองที่ให้การอุปการะ หรือของตนเองในกรณีที่ไม่มีผู้ใช้อำนาจปกครองที่ให้การอุปการะ
1.5 ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย มีความประพฤติดี และมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ เงื่อนไขสำหรับผู้รับทุน
2.1 ทุนการศึกษาที่ให้เป็นทุนศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยผู้ได้รับทุนจะต้องศึกษาตามหลักสูตร และระยะเวลาที่ทางสถานศึกษากำหนด ทั้งนี้ผู้รับทุนที่เลือกศึกษาในประเทศจะอยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส่วนผู้รับทุนที่เลือกศึกษาต่างประเทศจะอยู่ในความดูแลของสำนักงาน ก.พ. และกระทรวงการต่างประเทศ
2.2 กรณีที่ผู้รับทุนเลือกศึกษาต่อในประเทศให้ใช้ผลสอบคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษาตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
2.3 หากผู้รับทุนที่เลือกศึกษาต่อต่างประเทศ ไม่สามารถสอบเข้าสถานศึกษาในระดับปริญญาตรีได้ สามารถเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาเป็นระดับอาชีวศึกษาตามความเหมาะสมและความสมัครใจของผู้รับทุน หรือเปลี่ยนมาศึกษาต่อในประเทศไทย โดยให้ติดต่อกับสำนักงาน ก.พ. และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
2.4 สำหรับผู้รับทุนที่เลือกศึกษาต่อในประเทศ หากประสงค์จะเปลี่ยนสาขาวิชา หรือเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบของสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนกำหนด
2.5 ผู้รับทุนที่ศึกษาต่อต่างประเทศ เมื่อสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว จะต้องเดินทางกลับประเทศไทยภายใน 20 วัน และจะต้องประกอบอาชีพในประเทศไทย ซึ่งผู้รับทุนสามารถเลือกปฏิบัติงานได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนตามความต้องการของตนเอง
2.6 ในกรณีที่ผู้รับทุนที่เลือกศึกษาต่อต่างประเทศแต่ไม่กลับประเทศไทยหลังจบการศึกษา จะพิจารณาใช้มาตรการที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล การรับสมัคร
3.1 ผู้สมัครสามารถขอรับใบสมัครและยื่นใบสมัครได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่สถานศึกษาตั้งอยู่
3.2 หลักฐานในการสมัครได้แก่ - ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าโดยเฉลี่ย ตามรายละเอียดข้อ 1.3 - หลักฐานการรับรองรายได้ ตามข้อ 1.4 - ใบรับรองความประพฤติจากสถานศึกษา - สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน - รูปถ่ายขนาด 1 X 1.5 นิ้ว จำนวน 3 ใบ - เอกสารสำคัญในการเปลี่ยนชื่อและชื่อสกุล (ถ้ามี) - เอกสารสำคัญแสดงในกรณีบิดามารดาหย่าร้างหรือเสียชีวิต และหลักฐานอื่นๆ ที่แสดงถึงที่มาของผู้ใช้อำนาจปกครองที่ให้การอุปการะ การสอบคัดเลือก
4.1 การสอบข้อเขียน ให้สอบพร้อมกันทุกจังหวัด โดยใช้ข้อสอบกลาง ซึ่งประกอบด้วย ข้อสอบ วัดความรู้พื้นฐาน (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ รวม 3 ชม.) และข้อสอบภาษาอังกฤษ (2 ชม.) สำหรับสถานที่สอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 ของแต่ละจังหวัดจะเป็นผู้กำหนด
4.2 ให้ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนที่ได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกของแต่ละอำเภอ (โดยจะต้องมีคะแนนผ่านไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60) เพื่อเข้าสอบสัมภาษณ์ กรณีที่มีผู้ได้คะแนนเท่ากันให้นับรวมเป็นอันดับเดียวกัน
4.3 การสอบสัมภาษณ์ ให้แต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำหนดสถานที่สอบและดำเนินการสอบสัมภาษณ์ โดยให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ เกณฑ์การตัดสินจะกำหนดสัดส่วนคะแนน ดังนี้ คะแนนสอบข้อเขียนคิดเป็นร้อยละ 90 และคะแนนสอบสัมภาษณ์คิดเป็นร้อยละ 10 โดยผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับทุนของอำเภอ/กิ่งอำเภอ นั้นๆ
4.4 การประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้รับทุน กระทรวงศึกษาธิการจะประกาศตามสื่อต่างๆ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับสมัคร สอบคัดเลือก และตรวจข้อสอบ
5.1 คณะกรรมการรับสมัครให้เขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 175 เขต แต่งตั้งคณะกรรมการรับสมัครโดยให้เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เปิดเผย และตรวจสอบได้
5.2 คณะกรรมการสอบข้อเขียนให้ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการออกข้อสอบข้อเขียนรับ-ส่งข้อสอบ สรรหาคณะกรรมการคุมสอบโดยประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษาตรวจข้อสอบ ประมวลผลข้อสอบ และส่งผลคะแนนสอบของผู้สอบได้คะแนนสูงสุดสามอันดับแรกของแต่ละจังหวัด พร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้สอบได้ดังกล่าวให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อจัดสอบสัมภาษณ์
5.3 คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
5.3.1 สอบสัมภาษณ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวคำถามสำหรับสอบสัมภาษณ์
5.3.2 ให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาของแต่ละเขตเป็นประธานคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ โดยพิจารณาสรรหากรรมการสอบสัมภาษณ์จากสถาบันการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม
5.4 คณะกรรมการจากส่วนกลางเพื่อรับเรื่องร้องเรียน ให้กระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน หรือให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับทุน ระยะเวลาดำเนินงานในการรับสมัครและสอบคัดเลือก
6.1 ประชาสัมพันธ์โครงการ 1 กันยายน - 31 ตุลาคม 2548
6.2 ดำเนินการรับสมัคร และตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร 1 พฤศจิกายน - 15 ธันวาคม 2548
6.3 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ธันวาคม 2548
6.4 สอบข้อเขียน มกราคม 2549
6.5 ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียน มกราคม 2549
6.6 สอบสัมภาษณ์ กุมภาพันธ์ 2549
6.7 ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุน มีนาคม 2549
6.8 ตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อจัดกลุ่มก่อนเข้ารับการปฐมนิเทศ มีนาคม 2549
6.9 จัดให้นักเรียนทุนเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อรับโอวาท กลางเดือนมิถุนายน 2549
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แก้ไขเพิ่มเติมประกาศเกณฑ์การรับสมัคร 1 อำเภอ 1 ทุน (รุ่นที่ 2)
ตามที่ คณะกรรมการโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) (โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน) ได้มีประกาศคณะกรรมการฯ ลงวันที่ 20 กันยายน 2548 เรื่อง การคัดเลือกผู้รับทุนรัฐบาลตามโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) รุ่นที่ 2 (ปีการศึกษา 2549) นั้น
1. ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 1.1 ของคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับทุน และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
1.1 เป็นนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2547 หรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2548 สายสามัญหรือสายอาชีพ โดยพิจารณาจากอำเภอ/กิ่งอำเภอที่สถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าตั้งอยู่เป็นเกณฑ์ในการสมัคร หรือต้องศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในอำเภอ/กิ่งอำเภอนั้นๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร
กรณีที่อำเภอ/กิ่งอำเภอใดไม่มีสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือมีสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแต่ไม่มีนักเรียนศึกษาอยู่ ให้ผู้ที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนราษฎร์อยู่ในอำเภอ/กิ่งอำเภอนั้นๆ มาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี มีสิทธิสมัครรับทุนในอำเภอ/กิ่งอำเภอนั้นได้ โดยให้ใช้สิทธิสมัครรับทุนในอำเภอ/กิ่งอำเภอเดียวเท่านั้น
2. ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 1.2 ของคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับทุน และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 1.2 กรณีผู้จบการศึกษานอกโรงเรียนจะต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร และมีระยะเวลาศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน การที่ผู้สมัครจะใช้สิทธิสมัครของอำเภอใด ให้พิจารณาที่ตั้งของสถานศึกษาที่ตนศึกษาอยู่ และให้มีหนังสือรับรองจากผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนที่ศึกษาอยู่ด้วย อนึ่ง สำหรับผู้สมัครที่ใช้วุฒิการศึกษานอกโรงเรียนสมัคร จะต้องไม่เคยจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามาก่อน
3. ให้คงข้อความในข้อ 3.2 ของการรับสมัคร และเพิ่มเติมหลักฐานในการสมัคร ดังนี้ - สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของบิดามารดา หรือผู้ใช้อำนาจปกครองที่ให้การอุปการะ
4. ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 4.2 ของการสอบคัดเลือก และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 4.2 ให้ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียน ที่ได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกของแต่ละอำเภอ เพื่อเข้าสอบสัมภาษณ์ กรณีที่มีผู้ได้คะแนนเท่ากันให้นับรวมเป็นอันดับเดียวกัน
5. ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 4.3 ของการสอบคัดเลือก และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 4.3 การสอบสัมภาษณ์ ให้แต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำหนดสถานที่สอบและดำเนินการสอบสัมภาษณ์ โดยให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ เกณฑ์การตัดสินจะกำหนดสัดส่วนคะแนน ดังนี้ คะแนนสอบข้อเขียนคิดเป็นร้อยละ 90 และคะแนนสอบสัมภาษณ์คิดเป็นร้อยละ 10 โดยผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับทุนของอำเภอ/กิ่งอำเภอ นั้นๆ กรณีที่ผู้สมัครได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้ที่ได้คะแนนสอบสัมภาษณ์สูงกว่ามีสิทธิได้รับทุนก่อน ถ้าคะแนนสอบสัมภาษณ์เท่ากัน ให้ผู้ที่ได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษสูงกว่ามีสิทธิได้รับทุนก่อน ถ้าคะแนนสอบภาษาอังกฤษเท่ากันอีก ให้สัมภาษณ์ (เฉพาะผู้ได้คะแนนรวมเท่ากัน) เป็นภาษาอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง และผู้ได้คะแนนสัมภาษณ์สูงกว่ามีสิทธิได้รับทุนก่อน
6. ให้เพิ่มเติมประกาศ ข้อ 4.5 ดังนี้ 4.5 ถ้าผู้มีสิทธิได้รับทุนสละสิทธิการรับทุน หรือถูกเพิกถอนการให้ทุน หรือไม่สามารถรับทุนได้ หรือปรากฏภายหลังว่าขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ จะพิจารณาให้ผู้ที่สอบแข่งขันได้ที่อยู่ในลำดับถัดไป และยังมิได้รับทุนใดในการสอบครั้งเดียวกันนี้ เป็นผู้มีสิทธิได้รับทุนแทน
7. ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 5.2 ของการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับสมัคร สอบคัดเลือก และตรวจข้อสอบ และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 5.2 คณะกรรมการสอบข้อเขียน ให้ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการออกข้อสอบข้อเขียนรับ-ส่งข้อสอบ สรรหาคณะกรรมการคุมสอบโดยประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษาตรวจข้อสอบ ประมวลผลข้อสอบ และส่งผลคะแนนสอบของผู้สอบได้คะแนนสูงสุด สามอันดับแรกของแต่ละอำเภอ/กิ่งอำเภอ พร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้สอบได้ดังกล่าวให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อจัดสอบสัมภาษณ์
8. ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 5.4 ของการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับสมัคร สอบคัดเลือก และตรวจข้อสอบและใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 5.4 คณะกรรมการจากส่วนกลางเพื่อรับเรื่องร้องเรียนให้กระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน หรือให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับทุน กรณีมีข้อปัญหาใดๆ ให้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) เพื่อพิจารณา และถือมติที่ประชุมคณะกรรมการฯ เป็นที่สิ้นสุด
9. ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 6.8 ของระยะเวลาดำเนินงานในการรับสมัครและสอบคัดเลือก และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 6.8 ผู้ได้รับการคัดเลือกให้รับทุนรายงานตัว วันที่ 13 - 17 มีนาคม 2549

ขยายเวลาการรับสมัครผู้รับทุนโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน

ขยายเวลาการรับสมัครผู้รับทุนโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน
ตามที่ คณะกรรมการโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ได้มีประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง การคัดเลือกผู้รับทุนรัฐบาลตามโครงการทุนศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา(ปริญญาตรี) รุ่นที่ 2 (ปีการศึกษา 2549) ลงวันที่ 20 กันยายน 2548 และ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศการคัดเลือกผู้รับทุนรัฐบาลตามโครงการทุกศึกษาต่อของนักเรียนจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) รุ่นที่ 2 (ปีการศึกษา 2549) ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2548 นั้น
เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้นักเรียนได้สมัครรับทุนอย่างทั่วถึง จึงเห็นสมควรขยายเวลาการรับสมัครทุนไปจนถึงวันที่ 16 มกราคม 2549 และแก้ไขกำหนดระยะเวลาการดำเนินการในกระบวนการคัดเลือกผู้รับทุน ดังนี้
1. รับสมัคร 1 พ.ย. 48 - 16 ม.ค. 49
2. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบข้อเขียน 23 ม.ค. 49
3. สอบข้อเขียนพร้อมกันทุกจังหวัด 29 ม.ค. 49
4. ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียน 14 ก.พ. 49
5. สอบสัมภาษณ์ 25 ก.พ. 49
6. สพท.ส่งคะแนนสอบสัมภาษณ์ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ 3 มี.ค. 49
7. ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนอย่างเป็นทางการ 17 มี.ค. 49
8. ผู้ได้รับทุนรายงานตัว 20 - 24 มี.ค. 49
นอกจากข้อความเพิ่มเติมข้างต้น ให้เป็นไปตามประกาศเดิม
ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548

*** เลื่อนวันสอบสัมภาษณ์เป็นวันที่ 4 มีนาคม 2549
เนื่องจากวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งกำหนดให้เป็นวันสอบสัมภาษณ์ผู้สมัครโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ตรงกับวันสอบ O-NET สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงขอเลื่อนวันสัมภาษณ์ออกไปเป็นวันที่ 4 มีนาคม 2549จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน
24 มกราคม 2549