ปลัดศธ.ยันงานจัดศึกษายังราบรื่นแต่ทุนอำเภอรอรัฐบาลใหม่ชี้ขาด

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้จะมีเพียงรัฐบาลรักษาการ แต่ก็ไม่มีผลกระทบกับงานด้านการศึกษามากนัก เพราะผู้บริหารระดับสูงทั้ง 5 องค์กรหลักของศธ. และข้าราชการทั่วประเทศเป็นฝ่ายทำงานประจำซึ่งมีหน้าที่ทำให้งานการศึกษา เดินหน้าไปตามที่กำหนดไว้ในแผนงานและนโยบาย งานการศึกษาจึงไม่สะดุด หรือ ต้องชะลอจนทำให้เกิดผลกระทบอะไร ทั้งนี้สิ่งที่อาจทำให้หลายฝ่ายกังวลอาจเป็นเพราะช่วงนี้ศธ.ไม่มีการขับ เคลื่อนนโยบายออกมาเนื่องจากต้องรอฟังนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาและจะ ต้องจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะแถลงต่อรัฐสภา

ปลัดศธ. กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้มีเพียงบางเรื่องเท่านั้นที่จะต้องรอรัฐบาลใหม่เข้ามาตัดสินใจ เช่น โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ที่จะต้องรอเสนอรัฐบาลว่าจะหาเงินงบประมาณจากแหล่งใดมาขับเคลื่อนโครงการนี้ ต่อไป ส่วนการเสนองบประมาณที่ได้เสนอขอไปในสมัยนายศรีเมือง เจริญศิริ อดีตรมว.ศึกษาธิการ เช่น การเสนอของบฯกลางของปีงบฯ 2552 ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า ศธ.จะได้รับจัดสรรจำนวนเท่าใด เพราะเป็นการกระจายเม็ดเงินลงสู่ภูมิภาค สำหรับโครงการอบรมและพัฒนาข้าราชการครูที่ไม่ผ่านการประเมินวิทยฐานะชำนาญ การพิเศษประมาณ 2 หมื่นคนนั้น ขณะนี้ได้จัดทำหลักสูตรการอบรมพัฒนาแล้วคาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งตนได้เสนอเรื่องนี้ให้นายวรวัจน์ เอื้ออภิญ ญกุล รักษาการรมว.ศึกษาธิการ ในฐานะ ประธาน ก.ค.ศ.ได้รับทราบแล้ว จึงไม่อยากให้ข้าราชการครูกังวลใจ.


ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.dailynews.co.th

1 อ.1 ทุน รุ่น 3 ล่ม หลังหาแหล่งทุนที่ชัดเจนไม่ได้

1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ล่ม หลังไม่มีความชัดเจนเรื่องแหล่งทุน “ศรีวิการ์” แย้มเตรียมตั้งกองทุนกรณีฉุกเฉิน ช่วยเด็กทุนหวยใช้หนี้ หลังเกิดอุบัติเหตุทำไฟไหม้หอ ต้องใช้หนี้กว่าล้าน

นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เผย ผลการหารือโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ว่า ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องเม็ดเงิน คงต้องชะลอออกไปอย่างไม่กำหนด จนกว่าจะมีความชัดเจนของแหล่งเงิน หากมีรุ่นที่ 3 จริงจะต้องใช้เงิน 180 ล้านบาท และต้องตั้งงบผูกพัน 4,900 ล้านบาท สำหรับเด็ก 1,003 คน อีกทั้งจะต้องมีการปรับปรุงเกณฑ์บางอย่าง โดยนำประสบการณ์จากรุ่น 1 และรุ่น 2 มาปรับปรุง

นางศรีวิการ์ กล่าวด้วยว่า คณะกรรมการมีความเห็นร่วมกันว่าจะตั้งกองทุนกรณีฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือ เด็กทุน สาเหตุมาจากเด็กทุนรายหนึ่งเกิดอุบัติเหตุทำไฟไหม้หอพักที่สวีเดน และต้องเสียค่าซ่อมแซมให้กับเจ้าของหอ จำนวน 1 ล้านบาท

ขณะที่ทางกระทรวงต่างประเทศกำลังประสานของบประมาณจากกระทรวงการคลัง เพื่อช่วยเหลือนักเรียนรายนี้ เพราะเราไม่ได้ตั้งงบส่วนนี้ไว้ อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นทางคณะกรรมการจึงหาทางช่วยเหลือเด็ก จึงคิดจะตั้งกองทุนกรณีฉุกเฉินขึ้นโดยเปิดรับบริจาคทั่วไป คงไม่ได้ขอจากรัฐบาล อีกอย่างหนึ่งเด็กไม่ได้มีฐานะ และเพิ่งไปเรียนภาษาหากมีหนี้เป็นล้านอาจจะเสียกำลังใจ แต่เด็กต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบเรื่องที่เกิดขึ้นโดยจะหักเงินเดือนละ 5,000 บาท

“ที่ ประชุมหารือกันว่าในอนาคตอาจจะต้องมีเงินประกันอุบัติเหตุสำหรับนักเรียนทุน ดีหรือไม่ ตรงนี้ไม่รวมทุนอื่นๆ สำหรับอุบัติเหตุลักษณะนี้ไม่ได้นักเรียนทุน ก.พ.ก็เคยมี แต่เด็กมีฐานะทางครอบครัวดี จึงไม่มีปัญหาขัดสน"

อนึ่ง สถิติจำนวนนักเรียนโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน มีจำนวนนักเรียนที่กำลังศึกษาในต่างประเทศ จำนวน 1,228 คน จำนวนนักเรียนที่ยุติการศึกษา และขอลาออก 210 คน และรุ่นที่ 1 มีผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศแล้วจำนวน 41 คน จบในประเทศจำนวน 129 คน


ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ - 3 ธันวาคม 2551

เศร้าทุนอำเภอรุ่น 3 ยังไม่ได้เกิด

นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือนักเรียนทุน รุ่น 2 ซึ่งทำไฟไหม้หอพักที่ประเทศสวีเดนโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์สร้างความเสียหาย เป็นมูลค่า 1.07 ล้านบาท โดยที่ประชุมเห็นว่า แม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เนื่องจากเป็นนักเรียนทุนที่ยากจน หากไม่เข้าไปช่วยเหลือเด็กก็จะขาดกำลังใจ ที่จะเรียนต่อ เพราะต้องเสียดอกเบี้ยให้สถานที่พักร้อยละ 8 ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศจะสำรองจ่ายค่าเสียหายไปก่อน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติกระทรวงการคลัง แต่ทั้งนี้นักเรียนจะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย โดยทางโครงการฯจะหักค่าใช้จ่ายของนักเรียนเดือนละ 5,000 บาท จนกว่าจะเรียนจบ
นางศรีวิการ์ กล่าวต่อไปว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ประชุมเห็นว่า ควรมีการจัดตั้งกองทุนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือนักเรียนทุนในต่างประเทศด้วย โดยอาจระดมทุนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในอนาคตสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) น่าจะมีการจัดทำประกันอุบัติเหตุให้แก่นักเรียนทุนที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่ง ก.พ.ได้รับเรื่องไปพิจารณาแล้ว อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ได้ทำให้เด็กได้ตระหนักและระมัดระวังมากขึ้น เพราะมีส่วนรับผิดชอบค่าเสียหายด้วย
“สำหรับการดำเนินการรุ่นที่ 3 ขณะนี้ชัดเจนแล้วว่าต้องชะลอไปก่อน เพราะยังไม่ได้รับอนุมัติงบฯจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้เสนอขอใช้งบฯกลาง 180 ล้านบาท และงบฯผูกพัน 7 ปี อีก 4,900 ล้านบาท สำหรับนักเรียนทุน 1,003 คน แบ่งเป็น สายสามัญ 927 คน และอาชีวศึกษา 76 คน นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เตรียมปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียน ซึ่งอาจจะมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า นักเรียนต้องกลับมาใช้ทุน เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีความต้องการนักเรียนทุนที่จบสายวิชาชีพโดยตรงกลับเข้ามาทำงานในสถาบัน อาชีวศึกษา ซึ่ง 2 รุ่นที่ผ่านมาไม่ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ เนื่องจากไม่มีอัตรารองรับ”นางศรีวิการ์ กล่าว.--จบ--


ที่มา : เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 5 ธ.ค. 2551

ศธ.ชะลอ 1อ. 1ทุน รุ่น3 ตั้งกองทุนช่วยนร.ต่างประเทศ

ศธ.ชะลอโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนรุ่นที่ 3 หลังครม.ยังไม่ได้อนุมัติงบ 4.9 พันล้าน พร้อมผนึกกระทรวงการต่างประเทศประสานคลังจ่ายเงินช่วยเหลือนักเรียนรุ่น 2 เรียนสวีเดนทำไฟไหม้หอพักมูลค่าเสียหายกว่า 1 ล้าน สอนเด็กรับผิดชอบหักเงินเด็กเดือนละ 5 พันบาทช่วยค่าเสียหายจนกว่าเรียนจบ

เมื่อ วันที่ 3 ธ.ค.2551 นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนว่า ที่ประชุมได้พิจาณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือนักเรียนทุน รุ่น 2 ซึ่งทำไฟไหม้หอพัก ที่ประเทศสวีเดน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์สร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่า 1.07 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมพิจาณาแล้วเห็นว่า ถึงแม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เนื่องจากเป็นนักเรียนทุนที่ยากจน หากไม่เข้าไปช่วยเหลือเด็กจะขาดกำลังใจที่จะเรียนหนังสือ ทั้งนี้ กระทรวงต่างประเทศจะสำรองจ่ายค่าเสียหายไปก่อน ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำเรื่องเสนอขออนุมัติจากกระทรวงการคลัง เพราะหากไม่มีรีบดำเนินการเด็กจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 8 ให้แก่สถานที่พัก แต่การช่วยเหลือนี้นักเรียนจะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย โดยทางโครงการฯจะหักค่าใช้จ่ายของนักเรียนเดือนละ 5,000 บาท จนกว่าจะเรียนจบ

”เบื้องต้นคณะกรรมการฯได้ระดมทุนเพื่อช่วยเหลือ นักเรียนแล้วจำนวน 10,000 บาท และจะมีการขอรับบริจาคจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักเรียนทุนด้วยกัน ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ประชุมจึงเห็นว่า ควรจัดตั้งกองทุนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือนักเรียนทุนในต่างประเทศ โดยอาจระดมทุนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะต้องสร้างจิตสำนึกให้เด็กได้ตระหนักและระมัดระวังไม่ให้ เกิดอุบัติเหตุ เพราะหากเกิดขึ้นเด็กจะต้องมีส่วนในการรับผิดชอบกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ด้วย อนาคตสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) น่าจะมีการจัดทำประกันอุบัติเหตุให้แก่นักเรียนทุนยากจนที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่ง ก.พ.ได้รับเรื่องไปพิจารณา”นางศรีวิการ์ กล่าว

รองปลัด ศธ. กล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินการนักเรียนทุน รุ่นที่ 3 นั้น ขณะนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า จะต้องชะลอออกไปก่อน เนื่องจากยังไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งได้เสนอขอใช้งบประมาณกลางจำนวน 180 ล้านบาท และงบประมาณผูกพัน 7 ปีโดยเป็นการเรียนภาษา 2 ปีที่เหลืออีก 4-5 ปีขึ้นอยู่กับหลักสูตรอีก 4,900 ล้านบาท ซึ่งจะต้องจัดสรรให้แก่นักเรียนทุนจำนวน 1,003 คนแยกเป็นสายสามัญ 927 คน และสายอาชีวศึกษา 76 คน

”ที่ ประชุมได้เตรียมปรับวิธีการ แนวทาง และเกณฑ์ในการคัดเลือกนักเรียนทุนรุ่นที่ 3 โดยได้นำบทเรียนรุ่นที่ 1 และ 2 มาปรับ อาจจะมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า นักเรียนที่จะได้รับทุนอาจต้องกลับมาใช้ทุนให้แก่รัฐบาล เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีความต้องการนักเรียนทุนที่จบสายวิชาชีพโดยตรงกลับเข้ามาทำงานในสถาบัน อาชีวศึกษา ซึ่ง 2 รุ่น ที่ผ่านมาไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไข เนื่องจากเวลากระชั้นชิดและไม่มีอัตรามารองรับ โดยเรื่องนี้จะมีการพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้นักเรียนทุน รุ่นที่ 1 มีนักเรียนทุนต่างประเทศจบออกมาแล้ว 41 คน และในประเทศ 129 คน “ นางศรีวิการ์ กล่าว


ที่มา : http://www.komchadluek.net

"ศรีเมือง" ฟุ้ง 1อ.1ทุน รุ่น 3 มีแววฉลุย หากกองสลากเดินหน้าหวยออนไลน์

“ศรีเมือง” เดินหน้าโครงการ 1อ. 1 ทุน รุ่น 3 หลังบอร์ดกองสลากฯ เดินหน้าจำหน่ายหวยบนดิน ด้าน ปลัด ศธ. ยังไม่กล้าประกาศรับสมัครนักเรียน รอดูขายหวยชัวร์ๆ ก่อน

นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เผยความคืบหน้าการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ว่า เป็น เรื่องน่ายินดีที่คณะกรรมการกองสลากกินแบ่งรัฐบาลออกมายืนยันว่าจะเดินหน้า จำหน่ายหวยเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว หรือหวยออนไลน์ หากมีการจำหน่ายหวยออนไลน์จริง จะดำเนินโครงการ 1 อ. 1 ทุนรุ่น 3 ทันที

“ระหว่าง นี้ความชัดเจนก่อนว่ามีมากน้อยเพียงใด เพราะโครงการนี้ใช้เงินหวยออนไลน์ หากไม่ได้เงินจากกองสลากจริงๆ ต้องหาเงินจากแหล่งอื่นมาดำเนินการ ทั้งนี้ ตนก็ยังยืนยันว่าโครงการนี้มีความจำเป็นต้องทำต่อ เพราะที่ผ่านมาทำมาแล้ว 2 รุ่น ก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก เปิดโอกาสให้นักเรียนที่อยู่ในตำบลต่างๆ ได้รับทุนการศึกษาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน”

นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กองสลากฯ ส่งสัญญาณว่าจะมีการจำหน่ายหวยออนไลน์ ศธ.จะต้องเชิญคณะกรรมการ 1 อ. 1 ทุน มาประชุมอย่างเร่งด่วน เตรียมพร้อมรองรับการดำเนินโครงการนี้ ซึ่งถึงวันนี้ ศธ.ยังไม่ได้ประกาศรับสมัครนักเรียนเพื่อคัดเลือกรับทุนตามปฏิทินที่กำหนด เพราะต้องรอความชัดเชนของแหล่งเงินก่อน


ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์

จัดแนะการศึกษาต่อในยุโรป พร้อมชี้ช่องขอทุนที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์สิ้นเดือนนี้

คณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย เตรียมจัดงานนิทรรศการการศึกษาต่อในยุโรป ปี 2551 แนะแนวการศึกษาต่อในยุโรป พร้อมข้อมูลด้านทุนการศึกษา ชี้ค่าเงินปอนด์และยูโรตก ทำให้ค่าครองชีพต่ำลง

วันที่ 17 พ.ย. ที่สำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย จัดแถลงข่าวการจัดนิทรรศการการศึกษาต่อในยุโรปปี 2551 หรือ The European Higher Education Fair 2008 (ESHEF) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมการศึกษาเพื่ออนาคต ครั้งที่ 5 ของสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยงานจัดระหว่างวันที่ 29-30 พ.ย.นี้ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เวลา 10.00-18.00 น.

นายฌอง ฟรองซัวร์ โกแตง อุปทูตของสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า ในส่วนของสำนักผู้แทนฯ ได้จัดนิทรรศการเพื่อให้ข้อมูลการเข้าศึกษาต่อใน 27 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งงานดังกล่าวจัดมาแล้ว 2 ครั้ง โดยในส่วนของสำนักงาน ก.พ.จัดมาแล้ว 5 ครั้ง โดยเริ่มในปี 2547 ขณะนั้นมีนักเรียน นักศึกษาไทยสนใจเข้าร่วมงานประมาณ 4,000 คน และในปี 2549 เพิ่มจำนวนเป็น 25,000-30,000 คน โดยคาดว่า การจัดงานในปี 2551 จะมีผู้สนใจเข้าร่วมชมนิทรรศการ ไม่น้อยกว่า 30,000 คน

“มีนักเรียนไทยในยุโรปที่เข้าศึกษาต่อทั้งสิ้น 18,000 คน และมีแนวโน้มว่า จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก 10 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่นักเรียนไทยนิยมไปเรียนมากที่สุด แต่ในระยะหลังประเทศในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ มีนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น ซึ่งนิทรรศการการศึกษา เปรียบเสมือนเป็นประตูทางเลือกให้กับนักเรียน นักศึกษาไทยอีกด้วย อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมงาน พบตัวแทนจากสถาบันการศึกษาอีก 3 ประเทศจาก 27 ประเทศ เพื่อพูดคุยและซักถามในรายละเอียด”

ด้านนายแมดส์ คอร์น เจ้า หน้าที่บริหารโครงการความร่วมมือด้านการศึกษา กล่าวว่า นอกจากการเปิดบูทกว่า 40 บูทแล้ว ยังมีการสัมมนาให้ข้อมูลการศึกษาต่อและทุนการศึกษาของประเทศต่างๆ หนึ่งในนั้นเป็นทุนการศึกษาของสหภาพยุโรปชื่อว่า Erasmus Mundus ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนนักศึกษาและนักวิชาการไทยได้รับทุนดังกล่าว เพื่อไปศึกษาและวิจัยในประเทศแถบยุโรปแล้ว 188 คน ซึ่งในช่วงต้นปี 2551 มีนักเรียนนักศึกษา และนักวิชาการได้ทุนนี้ไปแล้ว 37 คน โดยจะมีการประกาศรับสมัครรอบที่ 2 ภายในงานนิทรรศการนี้ด้วย

“1 ทุน 1 ล้านบาทไทยต่อปี ไม่มีข้อผู้มัด จากจำนวนผู้ขอทุนนักเรียน นักศึกษาไทย ที่ยื่นขอทุนนี้ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรป มีโอกาสได้รับทุนถึง 14% จากจำนวนนักเรียนที่ขอทุนทั้งหมด”

นอกจากนี้ นายฌอง ฟรองซัวร์ โกแตง กล่าวเสริมอีกว่า ในสภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ไม่แน่นอนและอยู่ในช่วงขาลง ค่าเงินปอนด์ และเงินยูโร ก็ลดลงตามไปด้วย ในช่วงแรกอุตสาหกรรมการศึกษาได้รับผลกระทบเล็กน้อย แต่คาดว่าอยู่ในระยะสั้น ดังนั้น จึงต้องเร่งสร้างเครือข่ายนักศึกษาต่างประเทศ ซึ่งนิทรรศการนี้จะสามารถช่วยได้ และถือเป็นโอกาสอันดีของนักเรียนไทยที่อยากไปศึกษาต่อในยุโรปเนื่องจากค่า เงินปอนด์ต่ำก็จะทำให้ค่าครองชีพลดลง อีกทั้งการศึกษาต่อในยุโรปใช้เวลาไม่มาก อย่างน้อยที่สุด 1 ปี ซึ่งใช้เงินน้อยกว่าแต่เรียนจบเร็วถือเป็นการท้าทาย และเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

ที่มา : http://manager.co.th

คลังขอดูข้อมูล 1 ทุน 1 อ.หาเงินสานต่อ ศธ.ยันเดินหน้าตามกำหนดเดิม

คลังขอดูข้อมูลโครงการ 1 ทุน 1 อำเภอ เพื่อหาทางหาเงินสานต่อโครงการ รุ่น 3 ขณะที่ ปลัด ศธ.ยืนยัน ในเบื้องต้นกระทรวงศึกษาฯ ยังเดินหน้า 1 ทุน 1 อำเภอ ตามกำหนดการเดิม

นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยความคืบหน้าโครงการ 1อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ว่า ขณะนี้การดำเนินโครงการในรุ่นที่ 3 อยู่ระหว่างรอความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีความเห็นในเรื่องนี้ อย่างใดบ้าง แต่จากการหารือในเบื้องต้น ยืนยันว่า ศธ.ยังคงเดินหน้าตามกำหนดการเดิม โดยเป็นการจัดสรรทุนให้กับนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รวม 921 ทุน ซึ่งได้เตรียมการคัดเลือกทั้งหมดไว้แล้ว โดยในรุ่นที่ 3 ใช้งบประมาณ 5 พันล้านบาท เป็นงบต่อเนื่อง 7 ปี ซึ่งในเร็วๆ นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ และจะนำเรื่องดังกล่าวหารือร่วมกันด้วย

นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกระทรวงการคลัง นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องจำเป็น และต้องดำรงคงไว้ จึงประสานขอข้อมูลจาก ศธ.ว่า ทุนดังกล่าวในรุ่นที่ 1 และ 2 ประสบความสำเร็จอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง และนักเรียนที่ไปเรียนมีการถอนตัวไปแล้วกี่ราย เพื่อใช้พิจารณาว่าจำนวนทุนในรุ่นที่ 3 ควรจะเท่าเดิมหรือลดขนาดลง รวมทั้งให้ ศธ.ประมาณการงบประมาณที่จะต้องใช้ทั้งหมด โดย รมว.คลังรับปากว่าจะดูแลและเตรียมไปหาเงินจากแหล่งอื่นมาใช้ในโครงการนี้ ทั้งนี้ นายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ดูแลเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าว เพราะขณะนี้ยังไม่มีแหล่งเงินทุน ซึ่งหากจะเดินหน้าต่อก็อาจจะต้องมีการปรับเงื่อนไขบางประการบ้าง อย่างไรก็ตาม 1อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 รุ่น 3 ยังคงต้อรอความชัดเจนอีกครั้ง

ที่มา : http://manager.co.th

ศธ.มั่นใจทุนอำเภอรุ่น3 ได้เกิดแน่

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างถามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่จากการหารือในเบื้องต้นยืนยันว่า ศธ.จะยังคงเดินหน้าตามกำหนดการเดิม โดยเป็นการจัดสรรทุนให้แก่นักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รวม 921 ทุน ซึ่งได้เตรียมการคัดเลือกทั้งหมดไว้แล้ว โดยในรุ่นที่ 3 ใช้งบประมาณ 5 พันล้านบาท เป็นงบต่อเนื่อง 7 ปี
นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ที่ปรึกษารมว. ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการหารือร่วมกันระหว่างศธ. และกระทรวงการคลัง นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง เห็นว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็น จึงประสานขอข้อมูลจาก ศธ.ว่า ทุนในรุ่นที่ 1 และ 2 ประสบความสำเร็จอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง เพื่อใช้พิจารณาว่าทุนในรุ่น 3 ควรจะเท่าเดิมหรือลดขนาดลง รวมทั้งให้ ศธ. ประมาณการงบประมาณทั้งหมด โดย รมว.คลังรับปากว่าจะดูแลและไปหาเงินจากแหล่งอื่นมาใช้ในโครง การนี้ ทั้งนี้ นายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ปลัดศธ.เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าว เพราะขณะนี้ยังไม่มีแหล่งเงินทุน ซึ่ง หากจะเดินหน้าต่อก็อาจจะต้องมีการปรับเงื่อนไข บางประการบ้าง อย่างไรก็ตามโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ยังคงต้อรอความชัดเจนอีกครั้ง

ที่มา : http://www.moe.go.th - เดลินิวส์

คิดถึงทุน คิดถึง ก.พ. มหกรรมการศึกษาเพื่ออนาคต

กลับ มาอีกครั้งแล้ว งานมหกรรมการศึกษาเพื่ออนาคต ที่ สำนักงาน ก.พ. จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 (5 th OCSC International Education Expo 2008) ระหว่างวันเสาร์ที่ 29 และวันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน 2551 มีกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในงานมารายงานให้ทราบกันโดยละเอียด

ปีนี้ สำนักงาน ก.พ. ใช้สโลแกนอันเก๋ไก๋ภายใต้ชื่อ “คิดถึงทุน คิดถึง ก.พ.” โดยภายในงานมีสถานศึกษาชั้นนำ ที่พร้อมให้ข้อมูลการศึกษาต่อต่างประเทศมากกว่า 180 สถาบัน อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ฯลฯ รวมกว่า 124 บูธ โดยจะมาให้ข้อมูลข่าวสารการศึกษาต่อต่างประเทศจากผู้แทนการศึกษา แต่ละประเทศให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบการศึกษา หลักสูตรการศึกษา การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ แหล่งทุน การศึกษาของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลทุน ก.พ. และโครงการทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียปี 2552 อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีมหกรรมการศึกษาต่อสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 23 โดยจะมีการเสวนาในหัวข้อต่างๆ อาทิ “การศึกษาต่อสาขาวิชาต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา” “การขอวีซ่าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา” “ทุนการศึกษา ก.พ. ทุนฟุลไบร์ท ทุน ADB ทุน Japan IMF ฯลฯ”

รวมทั้งนิทรรศการการศึกษาต่อสหภาพยุโรป ที่ผู้ร่วมงานสามารถพบผู้แทนสถาบันการศึกษาจากสหภาพยุโรปได้โดยตรง พร้อมกับขอรับข้อมูลการศึกษาจากคณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งประกาศให้ทุนการศึกษา ระดับปริญญาโท ภายใต้ทุนการศึกษาอีรามุส มุนดุส (Eramus Mundus) และยังมีทุนอื่นๆ จากยุโรปอีกมากมาย

ท่านที่สนใจ สามารถไปพบความพิเศษของงานได้ใน วันเสาร์ที่ 29 และ วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน เวลา 10.00 -18.00 น. ณ ห้องเพลนารีฮอลล์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ถกคลังหาเงินโปะทุนหวยรุ่น 3 ศธ.แย้มอาจต้องออกสลากพิเศษ

ศธ.ถกคลังหาเงินโปะทุนหวยรุ่น 3 แย้มอาจต้องออกสลากพิเศษ แต่ต้องรอ ครม.อนุมัติ ชี้ให้สบายใจเด็ก 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 1, 2 เรียนจบแน่

นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ว่า ขณะนี้กำลังรอเพียงแหล่งเงินทุนที่ชัดเจน เพราะไม่สามารถใช้งบประมาณปกติมาดำเนินการได้ หากแหล่งเงินพร้อมเมื่อไหร่ ศธ.จะดำเนินการรับสมัครผู้กู้รุ่นที่ 3 ทันที ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการกำหนดปฏิทินการรับสมัครช่วงเดือน พ.ย.ไปแล้ว จะต้องเลื่อนออกไปก่อน

ทั้งนี้ ได้มีการปรึกษาหาทางออกร่วมกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช. คลัง ว่า อาจจะต้องจัดสรรเงินจากการสลากพิเศษตามกฎหมาย มาใช้เป็นแหล่งทุน แต่ไม่ใช่แบบเดิม อาจจะเป็นการออกสลากพิเศษเฉพาะกรณีไป อย่างไรก็ตาม คงต้องได้รับการอนุมัติจาก ครม.ก่อน

โฆษก ศธ.กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ในรุ่นที่ 1 และ 2 ขอให้นักเรียน ผู้ปกครองสบายใจได้ เพราะโครงการจะต้องดำเนินต่อไปอย่างแน่นอน จนกระทั่งเด็กทั้ง 2 รุ่น เรียนจบ โดยกระทรวงศึกษา (ศธ.) จะเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด

ที่มา : http://manager.co.th

ถกคลังหาเงินโปะทุนหวยรุ่น 3 ศธ.แย้มอาจต้องออกสลากพิเศษ

ศธ.ถกคลังหาเงินโปะทุนหวยรุ่น 3 แย้มอาจต้องออกสลากพิเศษ แต่ต้องรอ ครม.อนุมัติ ชี้ให้สบายใจเด็ก 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 1, 2 เรียนจบแน่

นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ว่า ขณะนี้กำลังรอเพียงแหล่งเงินทุนที่ชัดเจน เพราะไม่สามารถใช้งบประมาณปกติมาดำเนินการได้ หากแหล่งเงินพร้อมเมื่อไหร่ ศธ.จะดำเนินการรับสมัครผู้กู้รุ่นที่ 3 ทันที ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการกำหนดปฏิทินการรับสมัครช่วงเดือน พ.ย.ไปแล้ว จะต้องเลื่อนออกไปก่อน

ทั้งนี้ ได้มีการปรึกษาหาทางออกร่วมกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช. คลัง ว่า อาจจะต้องจัดสรรเงินจากการสลากพิเศษตามกฎหมาย มาใช้เป็นแหล่งทุน แต่ไม่ใช่แบบเดิม อาจจะเป็นการออกสลากพิเศษเฉพาะกรณีไป อย่างไรก็ตาม คงต้องได้รับการอนุมัติจาก ครม.ก่อน

โฆษก ศธ.กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ในรุ่นที่ 1 และ 2 ขอให้นักเรียน ผู้ปกครองสบายใจได้ เพราะโครงการจะต้องดำเนินต่อไปอย่างแน่นอน จนกระทั่งเด็กทั้ง 2 รุ่น เรียนจบ โดยกระทรวงศึกษา (ศธ.) จะเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด

ที่มา : http://manager.co.th

1 ทุน 1 อ.รุ่น 3 เป็นหมัน ศธ.สั่งชะลอยังหาแหล่งเงินไม่ได้

ศธ.ชะลอรับสมัครเด็กโครงการ 1 อ.1 ทุน รุ่นที่ 3 เหตุยังไม่มีถังเงินสำหรับมาให้ทุนการศึกษากับเด็ก

นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ว่า ระหว่าง นี้กำลังรอเพียงแหล่งเงินทุนที่ชัดเจน เพราะเราไม่สามารถใช้งบประมาณปกติมาดำเนินการได้ ซึ่งเรื่องนี้ได้บอกแต่ต้นแล้วว่าหากแหล่งเงินพร้อมเมื่อไหร่ ศธ.จึงจะดำเนินการรับสมัครผู้กู้รุ่นที่ 3 ทันที ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการกำหนดปฏิทินการรับสมัครช่วงเดือน พฤศจิกายนจะต้องเลื่อนออกไปก่อน

ซึ่งรุ่นที่ 3 จะรับสมัครและตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551- มกราคม 2552 สอบข้อเขียนปลายเดือนมกราคม2552 สอบสัมภาษณ์เดือนมีนาคม 2552 และคาดว่าจะประกาศรายชื่อได้ในเดือนมีนาคม 2552 หลังจากนั้นจะมีการเตรียมความพร้อมด้านภาษา วัฒนธรรม คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์อีกประมาณ 8 เดือน ก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ

ทั้งนี้ ทุน 1 อ.1ทุน รุ่นที่ 3 จะมีจำนวนทุนรวม กว่า 1,000 ทุน มีทั้งทุนสายสามัญและสายอาชีวศึกษา ซึ่งคุณสมบัติผู้สมัครสายสามัญเป็นนักเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบ เท่า (รวมทั้งผู้จบ กศน.ด้วย) ในปีการศึกษา 2551 เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 และสายอาชีวศึกษา ซึ่งเพิ่มให้รุ่นนี้เป็นรุ่นแรก จะได้รับทุนประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนทุนทั้งหมด โดยเป็นผู้จบ ปวช.ทุกสังกัด เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.75 และต้องเลือกศึกษาในสาขาที่กำหนดตามความต้องการของประเทศ 8 สาขา คือ 1) ยานยนต์ 2) ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 3) บริการและโลจิสติกส์ 4) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์ 5) ของใช้ในครัวเรือนส่วนตัวและเวชภัณฑ์ 6) เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 7) แฟชั่น-สิ่งทอ และ 8)คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกศึกษาต่อได้ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ

ที่มา : http://manager.co.th - 6 พฤศจิกายน 2551

“ชินภัทร” ระดมทุนเอกชนป้อนไอเดีย 1 อำเภอ 1 ทุน

1 อำเภอ 1 ทุน ส่อเลื่อนขาดแหล่งเงินทุน “ชินภัทร” ปิ๊งไอเดียระดมทุนจากเอกชน มั่นใจนายกฯ หนุนเพราะเป็นคนนำกลับมาเดินหน้า

นายชินภัทร ภูมิรัตน ว่าที่ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ว่า การดำเนินเรื่องดังกล่าวกำลังรอความชัดเจนเรื่องแหล่งที่มาของเงินที่จะมา ให้ทุน เพราะขณะนี้รัฐบาลยังไม่ได้จำหน่ายหวยบนดิน แม้คณะกรรมการกฤษฎีกาจะตีความว่าสามารถกระทำได้ และโครงการดังกล่าวเป็นแนวนโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งตนพยายามจะไม่ปรับเรื่องกำหนดเวลาในการเดินหน้าโครงการฯ แต่ก็ยอมรับว่า การโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน มีระยะเวลากระชั้นชิดมาก และยอมรับว่า หากการจำหน่ายหวยบนดินยังไม่เกิดขึ้น การเดินหน้าโครงการฯ ก็คงจะลำบาก เพราะโครงการนี้ เป็นการคิดที่เสริมเพิ่มเติมเข้ามาในระบบปกติ เพื่อกระจายโอกาสให้กับเด็กในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เมื่อเป็นการคิดนอกกรอบจึงทำให้ไม่มีงบประมาณปกติมารองรับ ดังนั้น จึงต้องหาแหล่งที่มาของงบประมาณจากภายนอก ซึ่งหากแหล่งที่มาของเงินไม่เกิดขึ้น โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนก็ต้องชะลอออกไปก่อน ยกเว้นว่ารัฐบาลจะไปหาแหล่งเงินทุนเข้ามาจากภายนอก

ว่าที่ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า หากไม่มีแหล่งเงินทุนจริงๆ ก็อาจจะต้องใช้วิธีการระดมทุนจากเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งก็ต้องหารือกันว่า หากเอกชนสนับสนุนทุนก็อาจจะมีสิทธิเสนอเงื่อนไขในการรับทุน เช่น หลังเรียนจบแล้วจะต้องกลับมาทำงานในบริษัทที่สนับสนุนทุนหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่ต้องหารือกัน อย่างไรก็ตามจากที่ตนได้เดินทางไปปฏิบัติราชการที่ประเทศฟิลิปปินส์ พบแนวทางการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาที่น่าสนใจ โดยภาคเอกชนที่เข้ามาสนับสนุนงบประมาณให้กับสถานศึกษา จะสามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหักภาษีได้ถึง 150% เป็นแนวทางที่น่าสนใจ และน่าจะนำมาใช้กับประเทศไทยได้

“โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เป็นโครงการที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี มีความคิดนำกลับมาดำเนินการต่อ และแสดงจุดยืนว่า จะหาเงินมาเดินหน้าโครงการต่อให้ได้ ซึ่งหากเราเสนอแนวทางการดำเนินโครงการขึ้นไป เชื่อว่านายกรัฐมนตรีก็คงจะช่วยสนับสนุนและผลักดัน อย่างไรก็ตาม คงต้องหารือร่วมกับคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนรุ่น 3 ว่า หากไม่มีแหล่งเงินทุนจะดำเนินการอย่างไรต่อไป และหากมีความล่าช้าจะมีการปรับปฏิทินการรับสมัครนักเรียนเพื่อรับทุนดัง กล่าวหรือไม่ เพราะกำหนดเดิมจะเปิดรับสมัครนักเรียนเข้าโครงการในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ แล้ว”นายชินภัทร กล่าว

ที่มา : http://www.manager.co.th - 30 กันยายน 2551

เลื่อนสอบ 1 อ.1 ทุนเป็น มี.ค.ปีหน้า เหตุชนโอเน็ต-เอเน็ต

เลื่อนสอบ 1 อ.1 ทุนออกไป เป็นต้นเดือน มี.ค.เหตุชนกับ โอเน็ต เอเน็ต แย้มปีการศึกษา 52 มีลูกเล่นใหม่โดยจับมือกับเอกชนร่วมส่งเสียด้วย

นางจรวยพร ธรณินทร์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ว่า เมื่อเร็วๆ นี้นางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้เข้าหารือถึงช่วงเวลาในการจัดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนที่จะเข้ารับทุน 1 อำเภอ 1 ทุน ซึ่ง นางอุทุมพร เห็นว่า ไม่ควรให้เวลาในการจัดสอบตรงกับช่วงเวลาที่มีการจัดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) เพราะจะทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวล ดังนั้น จึงได้ขยับเวลาการสอบคัดเลือกนักเรียน 1 อำเภอ 1 ทุนออกไป จากเดิมประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นเดือนมีนาคม 2552 เพื่อให้เด็กมีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น

“ข้อสอบที่ใช้จัดสอบนั้น สายสามัญศึกษา สอบวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา ส่วนสายอาชีวศึกษา สอบวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และความถนัดทางวิชาชีพ โดยทุกวิชานักเรียนจะต้องได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปถึงจะผ่านการคัดเลือก และถึงแม้จะได้คะแนนเป็นอันดับที่ 1-3 ของอำเภอ แต่หากคะแนนไม่ถึงร้อยละ 60 ก็จะไม่ได้รับการคัดเลือกเช่นกัน รวมทั้งหากอำเภอใดไม่มีใครสอบได้ถึงร้อยละ 60 ก็จะไม่มีการสอบคัดเลือกใหม่ด้วย ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ได้เด็กที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ” นางจรวยพร กล่าว

ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับการคัดเลือกเด็ก 1 อำเภอ 1 ทุนในปีนี้ ได้มีสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมา โดยหลังจากการคัดเลือกนักเรียนที่จะได้รับทุน 1 อำเภอ 1 ทุนเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการจัดปฐมนิเทศผู้ปกครองด้วย เพื่อให้ผู้ปกครองทราบบทบาทของตนเอง ว่า จะต้องมีการสนับสนุนบุตรหลานของตนที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นนักเรียนทุนอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ ในการเข้าค่ายในโครงการระยะยาวของนักเรียนที่ได้รับทุนในรุ่นที่ 3 นั้น จะเชิญภาคเอกชนที่สนใจจะรับนักเรียน 1 อำเภอ 1 ทุนเข้าทำงานมาคัดเลือกเด็กด้วย ซึ่งเมื่อถึงเวลาฝึกประสบการณ์วิชาชีพก็จะให้เด็กกลับมาฝึกงาน และเข้าทำงานต่อไป


ที่มา : http://manager.co.th - 8 กันยายน 2551

“สมชาย” ยันไม่หยุด 1 อ.1 ทุน เลื่อนขายหวยก็แบมือขอเอกชนได้

“สมชาย” รับเลื่อนจำหน่ายหวย กระทบโครงการ 1 อ.1 ทุน แต่ยืนยันไม่ระงับโครงการให้คัดเลือกเด็กก่อน แย้มจะแบมือขอเงินจากภาคเอกชน

จากกรณีที่ต้องเลื่อนการจำหน่ายหวยออนไลน์ออกไป จากเดิมกำหนดจำหน่ายงวดแรกวันที่ 17 ก.ย.และออกรางวัลที่ 1 ต.ค.นั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวยอมรับว่า การเลื่อนจำหน่ายหวยออนไลน์ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เพราะโครงการนี้ต้องอาศัยงบประมาณที่มาจากการจำหน่ายหวยออนไลน์ อย่างไรก็ตาม หากจำหน่ายได้เมื่อไหร่จะทันส่งนักเรียนที่ได้รับทุนไปศึกษาต่อ ส่วนจะทันปีการศึกษา 2552 หรือไม่ ยังระบุไม่ได้

“รับว่า ยังไม่มีทางออกเกี่ยวกับนี้ คงต้องรอจนกว่าจะมีการจำหน่ายหวยออนไลน์ สำหรับขบวนการคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับทุนยังให้ดำเนินการตามเดิม เพื่อเตรียมเด็กเอาไว้ก่อน ทั้งนี้ คงต้องชี้แจงให้เด็กทราบว่าต้องรอเงินหวยถึงจะไปศึกษาต่อได้ ถ้าเด็กที่ได้รับทุนไม่อยากรอ ต้องการศึกษาต่อที่สถานศึกษาในเมืองไทย ก็ทำได้ ไม่ได้มีการบังคับแต่อย่างใด”

นายสมชาย บอกว่า เมื่อการจำหน่ายหวยถูกเลื่อนออกไป การดำเนินโครงการ 1 ทุน 1 อำเภอ ก็ต้องเลื่อนตามไปด้วย ถ้าจะแก้ปัญหาโดยใช้งบประมาณประจำปี 2552 ส่งเด็กไปเรียนนั้น คงมีเงินไม่เพียงพอ แต่อย่างไรก็ดี ตนยังขอยืนยันว่า ตอนนี้ยังไม่มีเงินหวย แต่โครงการนี้ยังดำเนินการต่อไป ไม่มีการระงับอย่างแน่นอน ถ้าสุดท้ายแล้วจะไม่ได้เงินหวยมา ตนจะพยายามหาทางแก้ไขปัญหาโดยการขอความร่วมมือจากภาคเอกชน


ที่มา : http://manager.co.th - 4 กันยายน 2551

“สมชาย” ชี้เลื่อนออกหวยไม่กระทบ 1 อ.1 ทุน พร้อมเลือกเด็กอาชีวะรับทุนด้วย

“สมชาย” เดินหน้าลุยโครงการ 1อำเภอ 1 ทุน ให้เลือกเด็กอาชีวศึกษารับทุนด้วย โดยจะหางบฯ เพิ่มเติมเอง ชี้เลื่อนออกหวยบนดินยังไม่กระทบ เพราะระหว่างนี้ยังไม่ได้ใช้เงินอะไรมาก หรือหากกระทบรัฐบาลจะหางบประมาณจากส่วนอื่นมาชดเชยให้ก่อน

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมได้พิจารณารายละเอียดและวิธีการเกี่ยวกับการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษาที่จะรับทุนโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน โดยตนมีนโยบายให้มีการคัดเลือกเด็กอาชีวศึกษาไปบ้าง แต่ได้มีผู้แสดงความคิดเห็นว่า ถ้ามีการพิจารณาคัดเด็กอาชีวศึกษาเข้ามาด้วยบางอำเภออาจจะมีเด็กที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามามากกว่า 1 คน คือ เป็นเด็กสายสามัญศึกษา 1 คน และเด็กสายอาชีวศึกษาอีก 1 คน แล้วจะพิจารณากันอย่างไร ซึ่งตนแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ในกรณีที่บางอำเภอมีการคัดเลือกเด็กเข้ามาได้ 2 คน คือมีทั้งเด็กจากสายสามัญ และอาชีวศึกษาก็ไม่ต้องตัดใครคนใดคนหนึ่งออกไป แต่ตนจะไปของบประมาณเพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาในรายละเอียดเกี่ยวกับประเทศที่จะส่งเด็กไปเรียน ซึ่งคงไม่ได้แตกต่างจากที่เคยดำเนินการมานัก โดยคำนึงถึงสาขาวิชาที่ประเทศชาติขาดแคลน และมีความต้องการ หลังจากนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะได้ไปจัดทำรายละเอียดต่างๆ และกำหนดปฏิทินการดำเนินงานให้ชัดเจน ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์โครงการให้เด็กได้ทราบ การรับสมัครเด็ก สอบคัดเลือกเด็ก การเข้าค่ายเก็บตัวเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่เด็กจะเดินทาง ทั้งเรื่องภาษา และวัฒนธรรม การจัดหาสถานที่เรียนให้เพื่อไม่ให้เด็กต้องโดดเดี่ยวเมื่อเดินทางไปถึง

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้เลื่อนการจำหน่ายหวยบนดินจากเดิมที่จะเริ่มจำหน่ายได้ในงวดประจำวันที่ 17 ก.ย.นี้ ออกไปอย่างไม่มีกำหนด จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ช่วงนี้ยังไม่ได้ใช้เงินอะไรมาก เพราะอยู่ระหว่างการเริ่มดำเนินการ และต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมของเด็กอีกหลายเดือน จึงไม่น่าจะเกิดผลกระทบอะไรมาก

“หากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลต้องเลื่อนการออกหวยบนดิน ซึ่งเราอาจจะต้องเลื่อนเวลาการส่งเด็กไปนิดหน่อยก็คงไม่เป็นไร หรือรัฐบาลอาจจะหางบฯจากส่วนอื่นมาชดเชยให้ก่อนก็ได้ ดังนั้น จึงไม่น่ามีปัญหาโครงการนี้จะต้องเดินหน้าต่อไป ขอให้นักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครองสบายใจได้”นายสมชายกล่าว


ที่มา : http://manager.co.th - 4 กันยายน 2551

เสนอ สมชาย ลดจำนวน 1 อำเภอ 1 ทุนสายอาชีวะ

ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการประชุมคณะทำงานโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 คณะทำงานได้หารือถึงการจัดสรรทุนในส่วนของอาชีวศึกษา โดยได้ข้อสรุปว่าจะเสนอแนวทางการให้ทุนต่อคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน เพื่อพิจารณาชี้ขาดในวันที่ 3 ก.ย.นี้ โดยมี 3 แนวทาง คือ 1.ให้ทุนจังหวัดละ 1 ทุน 2.ให้ทุนจังหวัดละ 2 ทุน และ 3.ใช้วิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์ โดยพิจารณาจากจำนวนอำเภอเป็นหลัก หากจังหวัดใดมีอำเภอมากก็จะได้รับการจัดสรรทุนมาก อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีการอภิปรายว่าเป็นห่วงเรื่องพื้นฐานทางด้านภาษา หากส่งเด็กอาชีวะไปเรียนต่างประเทศถึง 200 ทุนตามที่ตั้งเป้าหมายไว้อาจไม่ประสบความสำเร็จ จึงจำเป็นต้องเสนอทางเลือกต่างๆ ให้นายสมชายตัดสิน ซึ่งหากใช้ทางเลือกตามที่คณะทำงานเสนอก็จะมีทุนอาชีวะเพียง 76 ทุนเท่านั้น

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าวอีกว่า สำหรับข้อสอบที่จะใช้คัดเลือกทั้งในส่วนของสายสามัญศึกษา และอาชีวศึกษานั้น ได้มอบให้สถาบันทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) เป็นผู้จัดสอบ โดยแบ่งข้อสอบเป็น 3 ชุด คือ สายวิทย์ สายศิลป์ และสายอาชีวะ ซึ่งการสอบครั้งนี้จะเข้มข้นกว่าครั้งที่ผ่านมา โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกจะต้องสอบผ่านร้อยละ 60 ในทุกวิชาจึงจะมีสิทธิ์ได้รับทุน และหากเด็กคนใดต้องการไปศึกษาต่อต่างประเทศ ก็ต้องมีการสอบคัดเลือกอีกครั้งหนึ่ง โดยเน้นเรื่องภาษาของประเทศที่จะไปศึกษาต่อ สำหรับโครงการดังกล่าวจะเริ่มรับสมัครในช่วงเดือน พ.ย.นี้.


ที่มา : http://www.thairath.co.th - 28 ส.ค. 51

ศธ.ทำแผนกระจายทุนอำเภอ

ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 จำนวน 926 ทุน นั้น ในเร็ว ๆ นี้ จะมีการประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำปฏิทินการคัดเลือกผู้รับทุน รวมถึงวิธีการคัดเลือก และ ปรับปรุงการดำเนินโครงการบางส่วน อาทิ ให้มีการปูพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ในระยะเวลาที่นานขึ้น ส่วนวิธีการคัดเลือกจะใช้ข้อสอบคนละชุด โดยสายสามัญจะให้สถาบันทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) เป็นผู้จัดสอบ ขณะที่สายอาชีวศึกษาจะให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ร่วมกันจัดสอบ โดยจะไม่เน้นความรู้ทางวิชาการแต่จะพิจารณาความสามารถพิเศษ เช่น ผู้ชนะเลิศการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ เป็นต้น

ปลัดศธ.กล่าวต่อไปว่า ในการจัดสรรทุนสายอาชีวศึกษา คง ต้องนำรายละเอียดของอำเภอต่าง ๆ มาทำเป็นแผนที่โรงเรียน เพื่อให้ ทุนกระจายครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด โดยในจังหวัดใหญ่ ๆ อาจจะได้ มากกว่า 1 ทุน ทั้งนี้คาดว่าคณะทำงานจะจัดทำรายละเอียดได้แล้วเสร็จก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ จากนั้นจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ต่อไป

ที่มา : http://www.moe.go.th , เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 14 ส.ค. 2551

"สมชาย"เผย ใช้งบ 30ล้านบาท ติวเข้มภาษา นร.ทุน 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น3

"สมชาย" เผย 1 ตุลาได้งบ 30 ล้านบาท จัดอบรมเข้มภาษา ให้นักเรียนทุน 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงโครงการร 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติไปเมื่อวันที่ 5 ส.ค.2551 ว่า หลังจากนี้จะต้องดำเนินการโดยเบื้องต้นสำนักงบประมาณให้งบประมาณสนับสนุนจำนวน 30 ล้านบาท เพื่อเป็นงบประมาณดำเนินการระหว่างที่จะรองบประมาณจากการจำหน่ายหวยบนดิน ซึ่งงวดแรกจะได้วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ทั้งนี้ งบประมาณ 30 ล้านบาท
"งบประมาณ ที่ได้รับมางวดแรก 30 ล้านบาท จะนำไปใช้ในเรื่องการจัดทำข้อสอบ คัดเลือกนักเรียนทุน 1อำเภอ 1 ทถุน รุ่นที่3 รวมถึงใช้เพื่อประชุมคณะกรรมการออกข้อสอบ จัดเข้าค่ายเด็กและเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเรียนภาษาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ" นายสมชาย กล่าว

ที่มา : http://www.komchadluek.net

อนุมัติ"1อำเภอ1ทุน" คาด5ปีงบ5.4พันล.

ครม.ไฟเขียวฟื้นประชานิยม "1 อำเภอ 1 ทุน" ส่งเด็กเรียนต่อต่างประเทศ ตั้ง "สมชาย" ประธานคัดเลือกผู้ได้รับทุนจากกระทรวงศึกษาธิการ คาด 5 ปีใช้งบกว่า 5.4 พันล้านบาท

น.ส.ศุภรัตน์ นาคบุญนำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วานนี้ (5 ส.ค.) เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อ โครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 3 เป็น โครงการเดิม คือ 1 อำเภอ 1 ทุน ตามที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เสนอ

ขณะเดียวกัน ได้อนุมัติในหลักการให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 เพื่อกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ให้นักเรียนที่มีฐานะยากจน และเรียนดี มีความประพฤติดีได้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศ และต่างประเทศในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบให้ ตั้งคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนขึ้นมา 1 คณะ เพื่อกำกับดูแลการดำเนินโครงการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีก 24 คน เป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่สำคัญ ได้แก่ กำหนดทิศทางการดำเนินงานให้สอดคล้องนโยบายรัฐบาล คัดเลือกผู้ได้รับทุนให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม รวมถึงติดตามประเมินผลสำเร็จโครงการเพื่อรายงานต่อรัฐบาล

ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ รายงานว่า หลักเกณฑ์การดำเนินงานโครงการ รุ่นที่ 3 ปีการศึกษา 2552 แยกเป็นให้ทุนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาไม่เกินปริญญาตรี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยให้ไปศึกษาในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษ และเรียนรู้วิทยาการจากประเทศเหล่านั้น ซึ่งนักเรียนที่เลือกไปศึกษาต่อต่างประเทศ ต้องเข้ารับการเตรียมความพร้อมด้านภาษาของประเทศที่เลือกจนถึงระดับที่สามารถใช้สื่อสารได้ และต้องได้รับการตอบรับจากสถาบันการศึกษาที่นักเรียนสมัครเข้าศึกษาก่อน จึงสามารถด้านทางไปศึกษาต่อได้

สำหรับทุนแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สายสามัญ และสายอาชีพศึกษา จำนวน 926 ทุน โดยจะดำเนินการคัดเลือกผู้รับทุนจากทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ ทั่วประเทศ โดยผู้สมัครสายสามัญต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าไม่ต่ำกว่า 3.00 สำหรับผู้สมัครสายอาชีวศึกษาต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 2.75 นักเรียนสายอาชีวศึกษาต้องเลือกศึกษาในสาขาอุตสาหกรรมที่กำหนดให้ ซึ่งเป็นสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ และต้องมีการเตรียมความพร้อมผู้รับทุนให้มากขึ้นกว่ารุ่นที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครรับทุนต้องมีรายได้ครอบครัวรวมกันไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี

การให้ทุนการศึกษาจะพิจารณาจากความเชี่ยวชาญ และความชำนาญในสาขาตามกลุ่มอุตสาหกรรมหลักในสถาบันการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยจัดสรรจำนวนทุน ตามกลุ่มสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมหลัก และความต้องการกำลังบุคลากรของประเทศ ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ปี งบประมาณ พ.ศ.2552-2558

ส่วนค่าใช้จ่ายในกระบวนการคัดเลือก และเตรียมความพร้อมสำหรับปีงบประมาณ 2552 จำนวน 147,201,200 บาท และค่าใช้จ่ายตลอดโครงการคิดเป็นเงินประมาณ 5,460.62 ล้านบาท โดยอาจใช้แหล่งเงินนอกงบประมาณ อาทิเช่น เงินรายได้จากการจำหน่ายสลากเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมครม.พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า งบประมาณที่จะนำมาใช้ในโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนในรุ่นที่ 3 ทางกระทรวงศึกษาธิการควรเจียดจ่ายเงินงบประมาณที่กระทรวงได้รับในการดำเนินโครงการนี้ไปก่อน เพราะรัฐบาลไม่ได้ตั้งงบไว้สำหรับดำเนินโครงการดังกล่าว

ที่มา : http://www.moe.go.th , http://www.bangkokbiznews.com

หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สวัสดีครับทุกคน, ในฐานะผู้จัดทำและดูแลบล็อกแห่งนี้ ผมขออาสาเชิญชวนเพื่อนๆทุกคน ผู้ที่สนใจหรือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทุนรัฐบาลโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนนี้เป็นอย่างดีหรือพอประมาณ เข้าร่วมเขียนบทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมถึงรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับทุนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนฯบนเว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จุดประสงค์คร่าวๆของโครงการนี้ก็คือ การอ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุดเกี่ยวกับทุนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ผู้ที่ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับทุนนี้ได้รับข้อมูลอ้างอิงที่ถูกต้องอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งยังเป็นการหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดๆหรือเข้าใจไม่ดีพอเกี่ยวกับทุนโครงการนี้ และยังมีอีกหลายๆจุดประสงค์ที่ไม่สามารถนำมากล่าวให้ทราบกันหมด

สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจผลักดันให้ทำโครงการนี้ขี้นมาก็คือ การที่ทุนโครงการนี้มาอายุมาหลายปีแต่ยังไม่มีใครหรือเนื้อหาใดๆเลยที่สามารถอ้างอิงข้อมูลเป็นหลักเป็นแหล่งได้ ที่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับได้ อีกทั้งยังมีความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาด้วยเช่นกัน ฉนั้นแล้วการที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมการเขียนบนความ เนื้อหา ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้ขึ้นมานั้นก็จะจัดว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับได้เป็นอย่างดีระดับหนึ่ง

สุดท้ายผมต้องกล่าวขอบคุณล่วงหน้าสำหรับการช่วยเหลือของทุกคน การมีส่วนร่วมในโครงการนี้ และการได้รับข้อมูลต่างอันเป็นประโยชน์อย่างมากเกี่ยวกับทุนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ผู้รับทุน และผู้ที่สนใจอีกมากมาย

หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน : http://th.wikipedia.org/wiki/หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน
วิกิพีเดีย คืออะไร? : http://th.wikipedia.org/wiki/วิกิพีเดีย

สรุปการประชุม โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3

รม ว.ศึกษาธิการ เผยโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เตรียมดำเนินการรุ่น 3 เริ่มรับสมัครปลายปีนี้ สายสามัญ-อาชีวะทั่วประเทศ รวม 926 ทุน (20 มิ.ย. 2551)

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ ที่ห้องประชุมชั้น ๒ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

รมว.ศธ.กล่าวภายหลังการประชุมว่า คณะกรรมการฯ ที่มาประชุมครั้งนี้ มาจากผู้แทนหลายฝ่าย คือ คณะกรรมการที่ปรึกษา รมว.ศธ. องค์กรหลักของ ศธ. ผู้แทนสำนักงาน ก.พ. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กระทรวงการต่างประเทศ มหาดไทย การคลัง สำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เป็นต้น โดยที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันที่จะให้มีการเปลี่ยนชื่อโครงการ จาก "ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" เป็น "โครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน" ตามชื่อเดิมที่ได้เคยดำเนินการมาแล้ว ๒ รุ่น แต่ได้ถูกระงับไปในสมัยรัฐบาลที่แล้ว

ขณะนี้รัฐบาลได้เห็นชอบที่จะให้มีการดำเนินการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล เลขท้าย ๓ ตัว ๒ ตัว (หวยบนดิน) ในเดือนกันยายน ๒๕๕๑ หลังจากนั้นจึงจะจัดสรรเงินรายได้มาให้โครงการนี้ต่อไป

ดังนั้น ศธ.จึงต้องเตรียมความพร้อมที่จะดำเนินการเป็นรุ่นที่ ๓ โดยให้ปลัด ศธ.และสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ (สต.สป.) เป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งได้เตรียมการไว้แล้ว นอกจากนี้ ตนยังได้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุนขึ้นมาชุดหนึ่ง ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาจาก ครม.

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลการดำเนินการที่ผ่านมา ดังนี้

## รุ่นที่ ๑ ปี ๒๕๔๗ มีผู้ได้รับทุนทั้งสิ้น ๙๒๑ คน แบ่งเป็นไปศึกษาในไทย ๑๘๒ คน ต่างประเทศ ๗๓๙ คน ในจำนวนนี้กลับมาศึกษาต่อในไทย ๑๔๒ คน ลาออกหรือ ก.พ.ให้ยุติ ๑๑ คน, ทั้งนี้นักเรียนทุนในรุ่นแรกที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศได้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรีแล้วถึง ๑๓ คน ส่วนใหญ่เป็นผู้เลือกไปศึกษาที่อินเดีย และสำเร็จระดับอนุปริญญาอีก ๔ คนจากเนเธอร์แลนด์ ๓ คน ญี่ปุ่น ๑ คน

## รุ่นที่ ๒ ปี ๒๕๔๙ มีผู้ได้รับทุนทั้งสิ้น ๙๑๕ คน แบ่งเป็นศึกษาในไทย ๑๗๖ คน ต่างประเทศ ๗๓๙ คน ในจำนวนนี้กลับมาศึกษาต่อในไทย ๓๑ คน

ส่วนการดำเนินการรุ่นที่ ๓ จะมีจำนวนทุนรวมทั้งสิ้น ๙๒๖ ทุน ซึ่งมีทั้งทุนสายสามัญและสายอาชีวศึกษา ซึ่งคุณสมบัติผู้สมัครสายสามัญเป็นนักเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (รวมทั้งผู้จบ กศน.ด้วย) ในปีการศึกษา ๒๕๕๑ เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ ส่วนสายอาชีวศึกษาซึ่งเพิ่มให้รุ่นนี้เป็นรุ่นแรก จะได้รับทุนประมาณ ๑ ใน ๓ ของจำนวนทุนทั้งหมด โดยเป็นผู้จบ ปวช.ทุกสังกัด เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕ และต้องเลือกศึกษาในสาขาที่กำหนดตามความต้องการของประเทศ ๘ สาขาคือ ๑)ยานยนต์ ๒)ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ๓)บริการและโลจิสติกส์ ๔)ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์ ๕)ของใช้ในครัวเรือนส่วนตัวและเวชภัณฑ์ ๖)เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ๗)แฟชั่น-สิ่งทอ และ ๘)คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกศึกษาต่อได้ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ

สำหรับการดำเนินการรุ่นที่ ๓ จะรับสมัครและตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๑ - มกราคม ๒๕๕๒ สอบข้อเขียนปลายเดือนมกราคม ๒๕๕๒ สอบสัมภาษณ์เดือนมีนาคม ๒๕๕๒ และคาดว่าจะประกาศรายชื่อได้ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ หลังจากนั้นจะมีการเตรียมความพร้อมด้านภาษา วัฒนธรรม คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์อีกประมาณ ๘ เดือน ก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ

นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัด ศธ.กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาว่าอาจจะเพิ่มทุนในสาขาครูในต่างประเทศด้วย สำหรับคุณสมบัติผู้รับทุนจะต้องมีฐานะยากจน แต่เส้นความยากจนไม่ได้จำกัดเฉพาะรายได้ครอบครัวไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาทต่อปีเหมือนรุ่นที่ผ่านมา แต่คณะกรรมการจะต้องพิจารณาโดยใช้ข้อมูลภาระทางครอบครัวประกอบด้วย เช่น บางครอบครัวมีรายได้เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาทต่อปีแต่มีบุตรมากถึง ๓ คน หรือบางครอบครัวเป็นตา ยายที่ไม่มีรายได้เป็นผู้ส่งเสียเลี้ยงดูผู้รับทุน ให้พิจารณากรณีพิเศษ เป็นต้น


ที่มา : http://www.moe.go.th - 23 มิถุนายน 2551

เดินหน้า1อำเภอ1ทุนรุ่น3ศธ.เล็งรับสมัครเดือนพ.ย.

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการ กล่าวหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการ 1 อำเภอ 1 ทุน ว่า นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.การคลัง ยืนยันว่า

กระทรวงการคลังพร้อมที่จำหน่ายหวยบนดินในเดือนกันยายน หลังจากนั้นจะจัดสรรเงินรายได้จากการจำหน่ายหวยบนดิน มาให้ศธ. ดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 จึงให้ศธ. เตรียมความพร้อมไว้และให้ตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด เพื่อบริหารโครงการมีตัวแทน 8 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งศธ. ได้ส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการและแต่งตั้งคณะกรรมการแล้ว คาดว่าครม.จะพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์ และปลายปีนี้จะเริ่มคัดเลือกเด็กเพื่อให้ทันส่งไปเรียนต่างประเทศในปีการ ศึกษา 2552 และโครงการนี้มีทั้งสิ้น 926 ทุน แบ่งทุนสายสามัญ 626 ทุน และทุนสายอาชีวะ 300 ทุน

ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัด ศธ. กล่าวว่า ทุนสายสามัญให้เฉพาะ 4 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, บริหารและการจัดการ, ภาษาและสังคมศาสตร์ และครุศาสตร์ และทุนสายอาชีวะ 8 สาขา ได้แก่ สาขายานยนต์, ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์, บริการและโลจิสติกส์, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้าและเครื่องคอมพิวเตอร์, ของใช้ในครัวเรือนส่วนตัวและเวชภัณฑ์, เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร, แฟชั่น วิศวกรรมอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสื่อสาร วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะประกาศรับสมัครได้เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้ สอบคัดเลือกเดือนมกราคม 2552 และเดือนเมษายน จะให้เด็กเรียนภาษา วัฒนธรรม คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพื่อปรับพื้นฐานก่อนไปเรียนต่างประเทศ 8 เดือน

ทั้งนี้ นักเรียนม.6 และปวช.ปีที่ 3 ที่มีสิทธิสมัครรับทุนมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 ในสายสามัญและ 2.75 ในสายอาชีวะ เป็นเด็กยากจน ครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน 1.5 แสนบาทต่อปี แต่เด็กที่ครอบครัวมีรายได้เกิน 1.5 แสนบาทต่อปีก็มีสิทธิ์ได้รับทุน หากพ่อแม่มีลูก 3 คนกำลังศึกษา หรืออาศัยผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้ปกครองส่งเสีย ซึ่งโครงการนี้ต้องใช้งบ 5,500 ล้านบาท


ที่มา : http://www.komchadluek.net - June 20, 2008

1อำเภอ1ทุนฟื้นตามหวยบนดิน เสมา1ชงเข้าครม.สัปดาห์หน้า

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. ว่า เบื้องต้นได้สั่งการให้ กระทรวงศึกษาธิการเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และสำนักการต่างประเทศ สำหรับการดำเนินงานยังยึดตามนโยบายเดิม คือ ส่งนักเรียนไปศึกษาในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษด้วย เพื่อจะได้กลับมาเปิดทางกว้างให้ประเทศไทยในการค้าขายสัมพันธ์กับประเทศ นั้นๆ ได้สะดวก ที่เพิ่มเติมจากเดิม คือ ในจำนวนนักเรียน 928 คน ที่จะได้ทุน จะให้เป็นนักเรียนอาชีวศึกษาประมาณ 1 ใน 3 เริ่มมีการเดินทางไปศึกษาจริงในปีการศึกษาหน้า

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า โครงการนี้เริ่มต้นสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐบาลต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ ตนจำไม่ได้แล้ว มาถึงสมัยนี้จึงได้เปลี่ยนกลับมาเป็นชื่อเดิมที่จำง่ายกว่า ที่ผ่านมาส่งนักเรียนไปเรียนต่างประเทศแล้วกว่า 900 คน บางส่วนเรียนจบกลับมามีงานทำ ในวันนี้เป็นการเรียกประชุมอย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากโครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นของ 8 หน่วยงาน ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า จะใช้งบประมาณจากรายได้การจำหน่ายสลากพิเศษเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว ที่จะเริ่มต้นในเดือนก.ย.นี้

ด้าน นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนการศึกษา คาดว่าจะเริ่มประกาศรับสมัครในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. 2551 จากนั้นจะมีการสอบคัดเลือกในเดือนม.ค. 2552 และเริ่มการฝึกอบรมภาษา วัฒนธรรม คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาการต่าง ๆ เพื่อปูพื้นฐานเตรียมความพร้อม ตั้งแต่เดือนเม.ย. 2552 โดยขยายเวลาการอบรมจากเดิม 4 เดือน เป็น 8 เดือน สำหรับเกณฑ์ผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าโครงการดังกล่าว เบื้องต้นต้องมีรายได้ครัวเรือนไม่เกิน 150,000 บาท/ปี และคัดเลือกภายในแต่ละอำเภอ โดยสายสามัญจะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป ส่วนสายอาชีวศึกษาต้องมีผลการเรียนเฉลี่ย 2.75 ขึ้นไป


ที่มา : http://www.thairath.com

"สมชาย" ฟื้น 1 อ.1 แพทย์หลายพยาบาล

ผู้จัดการรายวัน - วานนี้(18 มิ.ย.) ที่ รร.รามาการ์เด้นส์ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวในการสัมมนาพยาบาลศาสตร์ ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ว่า จะฟื้นโครงการทุนการศึกษาให้นักเรียนมัธยมที่ยากจนแต่เรียนดีในแต่ละอำเภอเรียนต่อแพทย์-พยาบาล หรือที่เรียกกันว่าโครงการ 1 อำเภอ 1 แพทย์ 1 พยาบาลให้เร็วที่สุด เนื่องจากขณะนี้ไทยขาดแคลนพยาบาลจำนวนมาก ส่งผลให้ทุกวันนี้พยาบาลต้องรับภาระหนักด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงต้องหนุนให้ผลิตพยาบาลเพิ่มขึ้นเพื่อมาดูแลชีวิต สุขภาพของประชาชน

ส่วนชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลจะมีปัญหาขาดแคลนหมอและพยาบาลส่วนใหญ่เลือกที่จะทำงานในตัวเมืองมากกว่า ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด จึงเลือกเฉพาะผู้ที่มีอุดมการณ์แน่วแน่เท่านั้นที่อาสาไปอยู่ในท้องถิ่นที่ไม่เจริญ และการให้ทุนเด็กเรียนต่อหมอ พยาบาลจะต้องมีเงื่อนไขว่า หลังเรียนจบแล้วต้องกลับไปประจำในภูมิลำเนา วิธีนี้ก็จะมีหมอพยาบาลประจำท้องถิ่น

"ไม่ใช่ฟื้นแค่โครงการ 1 อำเภอ 1 หมอ 1 พยาบาลเท่านั้น อาจจะเป็น 20 พยาบาลก็ได้ หากเป็นเช่นนั้น ชื่อโครงการอาจเปลี่ยน เป็น "ทุนพยาบาลรักถิ่น" ซึ่งมีเงื่อนไขว่า เรียนจบแล้วต้องกลับไปประจำในท้องถิ่นของตัวเอง จะทำให้ชนบททุกแห่งมีหมอ พยาบาล ซึ่งเป็นลูกหลานคอยดูชีวิต ความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัยของคนในท้องถิ่น" นายสมชายกล่าวและว่า เรื่องนี้จะไปปรึกษากระทรวงการคลังเรื่องประมาณที่นำมาดำเนินการ ซึ่งเงินน่าจะมาจากการจำหน่ายหวยบนดิน


ที่มา : http://www.moe.go.th, หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน

"สมชาย" ปัดฝุ่น 1ทุน 1 อำเภอ 1แพทย์ 20 พยาบาล

สมชาย“ ประกาศ เร่งผลักดันโครงการ 1 อำเภอ 1 แพทย์ 20 พยาบาล ระบุรัฐบาลให้ความสนใจเรื่องนี้ และต้องการดำเนินการให้เร็วที่สุดหากมีเงิน

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวในการสัมมนาพยาบาลศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 4 จัดโดยที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ของรัฐ โดยมีผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาลทุกสังกัด อาจารย์พยาบาล จากทั่วประเทศประมาณ 300 คน เข้าร่วม ว่า จะพยายามฟื้นโครงการทุนการศึกษาให้นักเรียนมัธยมที่ยากจนแต่เรียนดีในแต่ละอำเภอเรียนต่อแพทย์- พยาบาล หรือที่เรียกกันว่า โครงการ 1 อำเภอ 1 แพทย์ 1 พยาบาล ให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้เพราะปัจจุบัน ประเทศไทยขาดแคลนพยาบาลอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกันกับหลายประเทศที่ประสบปัญหานี้เช่นกัน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลที่มีอยู่ซึ่งต้องรับภาระงานหนักอย่างมาก เพราะฉะนั้น รัฐบาลจึงต้องการสนับสนุนให้ผลิตพยาบาลเพิ่มเพื่อมาดูแลชีวิต สุขภาพของประชาชน

รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ในชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลจะมีปัญหาขาดแคลนหมอและพยาบาลหนักกว่าในตัวเมือง เพราะคนส่วนใหญ่เลือกที่จะทำงานในตัวเมืองมากกว่าซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด มีแต่ผู้ที่มีอุดมการณ์แน่วแน่ เท่านั้นจึงอาสาไปประจำอยู่ในท้องถิ่นที่ไม่เจริญ เพราะฉะนั้น การให้ทุนเด็กในแต่ละอำเภอเรียนต่อหมอ พยาบาลโดยมีเงื่อนไขว่า หลังเรียนจบแล้วต้องกลับไปประในภูมิลำเนา จะทำให้ในพื้นที่ห่างไกลมีหมอ พยาบาลประจำท้องถิ่น

“ รัฐบาลพยายามฟื้นโครงการนี้ขึ้นมา แต่อาจไม่ใช่แค่ 1 อำเภอ 1 หมอ 1 พยาบาลเท่านั้น อาจจะเป็น 20 พยาบาล ก็ได้ ชื่อโครงการก็อาจจะเปลี่ยน เป็น ทุนพยาบาลรักถิ่น เพราะโครงการนี้มีเงื่อนไขว่า เมื่อจบแล้วต้องกลับไปประจำในท้องถิ่นของตัวเอง เพื่อให้ในชนบททุกแห่งได้มีหมอ พยาบาล ประจำอยู่ คอยดูชีวิต ความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัยของคนในท้องถิ่น โครงการมีแต่ได้ทุกฝ่าย ตั้งแต่ได้พยาบาล เพิ่มขึ้น ทั้งยังเป็นการให้โอกาสเด็กยากจนในชนบทได้มีโอกาสเรียนต่อหมอ พยาบาล และสุดท้ายได้หมอ พยาบาลไปประจำในชนบท “ นายสมชาย กล่าว

นายสมชาย ย้ำว่า ต้องการจะทำโครงการนี้ให้เร็วที่สุด โดยจะไปปรึกษากระทรวงการคลังเรื่องบประมาณที่นำมาดำเนินการ ซึ่งน่าจะนำเงินรายได้จากการจำหน่ายหวยบนดินมาดำเนินการ และจะให้สภาพยาบาลศาสตร์มาช่วยดำเนินการด้วย เช่น ช่วยคิดเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกผู้รับทุน


ที่มา : http://www.komchadluek.net

เสนอ‘สมชาย'ขยาย 1 อ. 1 ทุน

จากที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายให้เร่งดำเนินการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 โดยใช้เงินรายได้จากการจำหน่ายสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว ที่จะเริ่มจำหน่ายงวดแรกในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เบื้องต้นคาดว่าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับ 2รุ่นแรกที่ผ่านมา โดยจะคัดเลือกให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนอำเภอละ 1 ทุน และให้เลือกศึกษาได้ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเน้นในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และต้องเป็นสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศไทย โดยในรุ่นที่ 3 นี้ จะขยายการให้ทุนครอบคลุมถึงกลุ่มนักเรียน นักศึกษาสายอาชีวศึกษาด้วย จังหวัดละ 1 คน ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการจัดเตรียมรายละเอียดโครงการเพื่อเสนอ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป ส่วนทุนเรียงความนั้นคงไม่มี เพราะผลวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาชี้ชัดว่า การให้ทุนโดยพิจารณาจากการเขียนเรียงความเป็นการให้ทุนที่ไม่สามารถคัดเด็กยากจนได้อย่างแท้จริง

ด้าน ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทุนการศึกษาเท่าที่ดำเนินการอยู่ขณะนี้นั้น ค่อนข้างเป็นประเภทให้เฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ถือว่าการให้ทุนเป็นเรื่องดี ควรมีระบบที่จะคัดเลือกให้ได้เด็กที่ยากจนอย่างจริงจัง โดยให้ทุนผ่านทางโรงเรียน ซึ่งสถานศึกษาต้องมีคณะกรรมการขึ้นมาร่วมกันคัดเลือกเด็ก เพราะเชื่อว่า การให้โรงเรียนเป็นผู้คัดเลือกเด็กจะมีอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยกว่าให้บุคคลภายนอกเข้ามาร่วมคัดเลือก โดยทุนการศึกษาควรให้กับเด็กนอกเมือง มากกว่าเด็กที่อยู่ในตัวเมือง

"การให้ทุนการศึกษาควรเป็นการให้อย่างต่อเนื่องจนถึงศึกษาจบปริญญาตรี ไม่ควรให้เงินก้อนเป็นครั้งคราว และรัฐบาลต้องวางแผนระยะยาว 5-10 ปีในโครงการทุนการศึกษาต่างๆ โดยให้ทุนแบบมีเงื่อนไขให้กลับไปทำงานในท้องถิ่น ซึ่งรัฐบาลต้องดูแลหางานให้เด็กที่ได้รับทุนด้วย ควรเพิ่มจำนวนผู้รับทุนให้กับแต่ละอำเภอมากขึ้น ในสาขาที่ท้องถิ่นขาดแคลน เมื่อศึกษาจบเด็กกลุ่มนี้จะได้กลับไปทำงานร่วมกันในท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง" ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว


ที่มา : http://www.moe.go.th - กรุงเทพฯ

ศธ.พร้อมฟื้นทุนหวยรุ่นที่3

ทำเนียบรัฐบาล : นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า หลังจากกระทรวงการคลังเดินหน้าออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว หรือหวยบนดิน คาดว่าภายในเดือนกันยายนนี้กระทรวงศึกษาธิการจะได้รับเงินจากส่วนนี้เพื่อมาสนับสนุนโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ซึ่งต้องยอมรับว่าโครงการนี้ใช้เงินหวยบนดิน ดังนั้น น่าจะเริ่มทุนรุ่นที่ 3 ได้ อย่างไรก็ตาม วันที่ 3 มิถุนายนนี้จะหารือร่วมกับ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในเรื่องงบประมาณอีกครั้ง โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเด็กเรียนดีแต่ยากจน เพราะมองว่าคนที่เล่นหวยใต้ดินส่วนใหญ่เป็นคนจน ซึ่งชอบเล่นหวยอยู่แล้ว จึงนำเงินดังกล่าวมาช่วยให้ลูกหลานของเขามีการศึกษาที่ดี ดีกว่าปล่อยให้เงินจำนวนนี้ไปตกอยู่กับเจ้ามือหวยเพียงฝ่ายเดียว

"ที่พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าจะส่งเสริมให้คนเล่นการพนัน แต่หากมีประโยชน์กับเด็กผมก็ชอบ ผมยังบอกไม่ได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะให้งบประมาณเท่าไร แต่เมื่อมีหวยบนดินแล้วก็มีโครงการนี้แน่นอน ส่วนจะทำกรรมวิธีใดให้คนรู้สึกว่าไม่ผิดกฎหมายก็เป็นเรื่องของท่าน ซึ่งดีกว่าจะให้เจ้ามือหวยใต้ดินได้ประโยชน์ โครงการดีๆสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้รับการสานต่อจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งหลายโครงการมีประโยชน์ เมื่อผมมาทำหน้าที่ตรงนี้ หากนำเรื่องใดกลับมาได้ก็อยากจะทำ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวและว่า ขั้นตอนโครงการอยู่ระหว่างคัดเลือกนักเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการ ซึ่งได้กำชับให้สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการเตรียมความพร้อมของเด็กให้มากขึ้นกว่ารุ่นที่ 1 และ 2 ทั้งเรื่องภาษาและความเป็นอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมา

ด้านนางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้ทำหนังสือชี้แจง พร้อมทั้งแนบข้อมูลข้อดี-ข้อเสียการดำเนินการที่ผ่านมาของทั้ง 2 รุ่นแล้ว คงต้องรอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหารือคณะกรรมการโครงการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ของรุ่น 3 อีกครั้ง


ที่มา : http://www.moe.go.th

เผยทูตฝรั่งเศสหนุน 1 อำเภอ 1 ทุนระดับ ป.โท

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ เอกอัครทูตประเทศฝรั่งเศสเข้าพบและได้หารือเรื่องการศึกษา ซึ่งการหารือเป็นไปในทิศทางที่ดี เพราะปัจจุบันเรามีนักเรียนทุน 1 อำเภอ 1 ทุน ที่เลือกไปศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นอันดับ 1 รุ่นแรกมีจำนวน 183 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 184 คน ขณะนี้มีนักศึกษาไทยที่เรียนจบแล้วมีความประสงค์จะเรียนต่อ ทางรัฐบาลฝรั่งเศสจะให้การสนับสนุนโดยการให้ทุนเรียนต่อในระดับปริญญาโท

อย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษาของประเทศฝรั่งเศสเป็นระบบที่ดีมากระบบหนึ่งในโลก ซึ่งปกติแล้ว ศธ.ได้ให้ความสนใจกับการเรียนภาษาฝรั่งเศสมากขึ้น โดยส่งเสริมให้เรียนภาษาต่างประเทศเป็นภาษาที่ 2 และ 3 อีกด้วย นอกจากนี้ ศธ.และเอกอัครทูตฝรั่งเศส ยังมีความเห็นตรงกันว่าการเรียนภาษาซึ่งกันและกัน ทำให้ช่องทางการติดต่อประสานงานสะดวกขึ้น การรู้จักวัฒนธรรม ประเพณีของกันและกัน ก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ

นายสมชาย กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ยังได้มีการหารือในเรื่องการแลกเปลี่ยนนักเรียน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ไปเรียนที่ฝรั่งเศสสามารถฝึกงานที่ประเทศฝรั่งเศสได้เลย เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความสามรถได้เข้ามาทำงานหรือเพิ่มประสบการณ์ ทั้งนี้ เอกอัครทูตก็ยินดีที่จะประสานกับบริษัทเอกชนในประเทศฝรั่งเศส ให้รับนักศึกษาอาชีวะเข้าฝึกงานอีกด้วย เนื่องจากนักศึกษาอาชีวะในประเทศไทยมีความรู้ในด้านช่างยนต์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของ ศธ. ที่ต้องการให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานกับบริษัทเอกชนในฝรั่งเศส ก็เพื่อต้องการให้เด็กนักเรียนที่จบมาแล้วมีประสบการณ์ที่ดี เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ แล้วจะได้มีเงินเดือนที่สูงขึ้น" รมว.ศธ.กล่าว


ที่มา : http://www.moe.go.th - 27 พ.ค. 2551

“สมชาย” ฟื้น 1 อ.1 ทุน รุ่น 3 หลังเดินหน้าหวยบนดิน

“สมชาย” ฟื้นโครงการ 1 อ.1 ทุน รุ่น 3 หลังเดินหน้าหวยบนดิน คาดได้เงินเดือนมิถุนายนนี้ แย้มเงินหวยเหลือจะผุดโครงการ 1 อ.1 แพทย์ 2 พยาบาล

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนรุ่นที่ 3 หลังจาก นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินหน้าออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว หรือหวยบนดิน ว่า คาดว่าจะได้เงินหนุนโครงการนี้ภายในเดือนกันยายน ซึ่ง นพ.สุรพงษ์ รับปากว่า จะให้งบมาดำเนินการในช่วงแรกไม่มาก ถ้ายังไม่สามารถนำเงินหวยมาใช้ได้ ก็รับปากว่าจะกันงบส่วนหนึ่งเพื่อสำรองจ่ายไปก่อน ทั้งนี้ 3 มิถุนายน ตนจะหากับ รมว.คลัง เรื่องงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง

ซึ่ง 1 อำเภอ 1 ทุน มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเด็กเรียนดีแต่ยากจน แล้วมองว่า เงินหวยใต้ดิน เป็นของคนจนที่ชอบเล่นหวย จึงนำเงินนี้กลับมาช่วยให้ลูกหลานของเขาให้มีการศึกษาที่ดี ดีกว่าปล่อยให้เงินจำนวนนี้ตกไปอยู่กับเจ้ามือหวย

“ผมไม่ได้หมายความว่า จะส่งเสริมให้คนเล่นการพนัน ถ้ามีประโยชน์กับเด็กผมก็ชอบ ผมยังบอกไม่ได้ว่ารมว.คลังจะให้งบเท่าไหร่ ถ้ามีหวยบนดิน ก็มีโครงการนี้แน่นอน ส่วน รมว.คลัง มีกรรมวิธีใดเพื่อให้คนเล่นหวยรู้สึกว่าไม่ใช่ผิดกฎหมายเป็นเรื่องของท่าน ยังดีกว่าให้เจ้ามือหวยใต้ดินได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว” นายสมชาย กล่าวด้วยว่า เด็กรุ่น 3 อยู่ระหว่างการคัดเลือกนักเรียน และยังได้กำชับให้สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ไปเตรียมความพร้อมเรื่องภาษา วัฒนธรรมการไปอยู่ต่างแดน ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมา

นายสมชาย กล่าวอีกว่า ยังมีอีกหลายโครงการที่มีแนวคิดจะทำ เช่น โครงการ 1 อำเภอ 1 แพทย์ 2 พยาบาล ถ้ามีเงินเหลือพอจะนำดำเนินการอย่างแน่นอน เพราะปัจจุบันแพทย์พยาบาลเป็นอาชีพที่ขาดแคลน รวมทั้งจะนำเงินไปพัฒนาระบบ อี-เลินร์นิง มาใช้พัฒนาการเรียนการสอน

ขณะที่ นางจรวย ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ บอกว่า ตนได้ทำหนังสือชี้แจงพร้อมทั้งแนบข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย ของ 2 รุ่นที่ผ่านมา ระหว่างนี้คงต้องรอให้ รมว.ศธ.หารือคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุ่น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ของรุ่น 3 อีกครั้ง

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

1อำเภอ1ทุน รุ่น3ชะงัก

นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ว่า ขณะนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าในปีการศึกษา 2551 จะให้ทุนโครงการ 1 อำเภอฯ รุ่นที่ 3 หรือไม่ เพราะขณะนี้อยู่ระหว่างรอร่าง พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมีผลบังคับใช้ ประกอบกับยังอีกหลายเดือนกว่าจะเปิดภาค 1/2551 ศธ.คงไม่สามารถแบกภาระได้ เพราะต้องใช้รายหัวละ 1 ล้านบาท เป็นระยะเวลาถึง 6 ปี กว่า 900 ทุน จึงต้องรองบฯจากการขายหวยบนดินเท่านั้น

ที่มา : http://www.moe.go.th , http://www.matichon.co.th

โครงการเยียม นักเรียนทุน ODOS

สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในสหรัฐอเมริกา ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. เยี่ยมเยียนนักเรียนในโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (ODOS) ประเทศแคนาดา ประจำปี 2551 ระหว่างวันที่ 16 – 20 เมษายน 2551

โดยมี นางสาวรังสิมา จารุภา อัครราชทูต สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในสหรัฐอเมริกา และ คุณกรรณิการ์ ปวัตนนิติ พร้อมเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา ร่วมเดินทางไปเยี่ยมเยียนนักเรียนทุนโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (ODOS) รุ่นที่ 2 ณ University of Quebec,Trois Rivieres และ Université Laval

วัตถุประสงค์ของการเดินทางครั้งเพื่อให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่นักเรียนในการเตรียมการสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษาของประเทศแคนาดา และเยี่ยมชมสถานศึกษาใน Quebec รวมทั้งเข้าพบผู้บริหารของสถานศึกษาเพื่อหารือแนวทางการศึกษา/ความเป็นอยู่ของนักเรียนทุนโครงการฯ ในโอกาสนี้ได้พบกับนักเรียนทุนรัฐบาลที่ศึกษาอยู่ในรัฐ Quebec และ Ontario เพื่อพบพูดคุยเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่และปัญหาด้านการศึกษา

ภารกิจต่างๆ ระหว่างวันที่ 16 – 20 เมษายน2551 ของเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ อาทิ เข้าพบ ออท. สนั่นชาติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา ซึ่งเป็นผู้รับดูแลนักเรียนทุน ODOS ในระหว่างศึกษาภาษาฝรั่งเศสในรัฐ Quebec พร้อมเยี่ยมนักเรียนทุนรัฐบาลที่กำลังศึกษาอยู่ ณ McGill University ใน Montreal และนักเรียนทุน ODOS ณ University of Quebec, Trois Rivieres

นอกจากนี้ได้เข้าพบ Director of Student Service ของ University of Quebec, Trois Rivieres พร้อมเยี่ยมชมโรงเรียนและที่พักของนักเรียนทุน ODOS เข้าพบ Vice Rector for International Students Affairs ของ Université Laval และเยี่ยมชมโรงเรียน พบปะพูดคุยกับนักเรียนทุน ODOS ณ Université Laval พร้อมร่วมรับประทานอาหารกลางวัน เป็นต้น

ที่มา : http://www.ocsc.go.th

สัมมนา นทร. การศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ( รุ่นที่1 ) ปี 3


เมื่อ วันที่ 6 เมษายน 2551 สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศฝรั่งเศส ( สนร.) ได้จัดการประชุมสัมมนานักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ( รุ่นที่1 ) ที่จะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 2550-51 ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ตามวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างที่ศึกษา สะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งไขข้อคำถามต่างๆ

มีรายละเอียดดังนี้
เวลา 13.30 น. อัครราชทูต (ฝ่ายการศึกษา) กล่าวต้อนรับ นทร. 25 ราย ที่มาประชุม ( 9 รายอยู่ระหว่างฝึกงาน) แสดงความยินดีที่ นทร. จะจบการศึกษาในปีการศึกษา 2550-51 นับได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าของประเทศ และแจ้งให้ นทร. ทราบว่า ขณะนี้รัฐบาลไทยโดย สถานเอกอัครราชทูต และสนร. เป็นสื่อกลางประสานกับรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อขอให้มี การสนับสนุน ทุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น แต่ยังไม่ทราบผล ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ นทร. มีทางเลือกอื่นเสริมการหาทุนการศึกษาต่อด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม ระเบียบสำนักงาน กพ. ระบุให้ นทร. ต้องกลับไปรายงานตัวเมื่อสำเร็จการศึกษา

อนึ่ง นทร. ที่ประสงค์จะกลับประเทศไทยเพื่อฝึกงานและเพิ่มพูนประสบการณ์ ก่อนเรียนรู้ชีวิตการทำงาน ขอให้แจ้ง สนร. ทราบชื่อหน่วยงานเพื่อประสาน ไปยัง สำนักงานกพ.ขอการสนับสนุนเรื่องการฝึกงานต่อไป

เวลา 18.30 น. ฯพณฯ เอกอัครราชทูต (นายธนะ ดวงรัตน์) เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารเย็นที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต (18, rue Albéric - Magnard 75016 PARIS) นทร. มอบช่อดอกไม้และบัตรอวยพร เพื่อขอบคุณ ฯพณฯ ที่ได้ให้การดูแลเป็นอย่างดีตลอดระยะเวลาที่ศึกษาในประเทศฝรั่งเศส

ที่มา : http://www.ocsc.go.th , http://oeaparis.free.fr

“จรวยพร” สรุปผลเด็ก 1 ทุน 1 อ.ส่ง “น้องเขยแม้ว” เตรียมเดินหน้ารุ่น 3

“จรวยพร” เผยเตรียมรายงานสรุปผลการดำเนินงานเด็ก 1 ทุน 1 อ. ให้ “น้องเขยแม้ว” ก่อนเดินหน้ารุ่น 3 ด้าน “สุเมธ” ปิ๊งไอเดียหนุนเด็กทุนเรียนต่อโท-เอก ผ่านทุนพัฒนาอาจารย์ ภายใต้เงื่อนไขจบแล้วกลับมาทำงานในมหาวิทยาลัย ขณะที่ “อภิสิทธิ์” สอน รมว.ศธ.มีทุนการศึกษาโดยไม่ต้องพึ่งทุนหวย

นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สืบเนื่องมาจาก นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ สำนักงานปลัด ศธ.ไปศึกษารายละเอียดการดำเนินการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ทั้ง 2 รุ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาปรับปรุงแล้วนำมาใช้ในรุ่นที่ 3 นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีแนวคิดว่าจะให้นักเรียนทุนที่จบการศึกษาในสาขาที่ขาดแคลนและมีผลการเรียนดีมาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย และ สกอ.จะให้ทุนศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

ดังนั้น ทางคณะทำงานจะทำข้อมูลรายละเอียดว่า รุ่นที่ 1 และ 2 เป็นรายบุคคลว่ากำลังเรียนอยู่ที่ไหน สาขาอะไร

“เรื่องนี้จะประสานไปยังสถานเอกอัครราชทูตว่านักเรียนทุนรุ่นที่ 1-2 กำลังเรียนอยู่ที่ไหน สาขาอะไร และผลการเรียนเป็นเช่นไรบ้าง ซึ่งรุ่นที่ 2 เด็กกำลังเรียนภาษาแต่จะดูพัฒนาการด้านภาษามีความก้าวหน้ามากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้แนะนำว่าควรเรียนต่อในมหาวิทยาลัยแห่งใด อีกทั้งมีแผนจะให้นักเรียนทุนได้มาพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ส่วนนักเรียนทุนคนไหนมีปัญหาจะประสานกับ สกอ.ให้มหาวิทยาลัยเอกชนรองรับให้แก่นักเรียนด้วย”

สำหรับนักเรียนทุนรุ่นที่ 3 นั้น นางจรวยพร กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีจำนวนกี่ทุน แต่ 2 รุ่นที่ผ่านมามีรุ่นละ 925 ทุน ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ รมว.ศธ.ว่าจะมีจำนวนทุนเท่าเดิมหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี ในรุ่นที่ 3 จะขอทุนสำหรับเด็กอาชีวศึกษา 76 ทุน โดยเด็กจะต้องเป็นนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และนักเรียนจะต้องเลือกเรียนในสาขาอุตสาหกรรม เทคโนโลยี โลจิสติก ปิโตรเคมี ยกเว้นสายพาณิชย์ เช่น การตลาด บัญชี ส่วนที่เหลืออีก 819 ทุนจะเป็นทุนสำหรับนักเรียนสายสามัญ จะให้เรียนในสาขาวิชาที่ขาดแคลน และประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ จะเสนอที่ประชุมว่านักเรียนทุนรุ่นที่ 3 ให้มีการเตรียมเรียนภาษาในประเทศก่อนเดินทางไปเรียนต่ออย่างน้อย 1 ปีหรือจนกว่ามหาวิทยาลัยในต่างประเทศตอบรับ เหตุผลที่ให้เน้นเตรียมความพร้อมด้านภาษาให้แก่เด็ก เวลาไปเรียนยังต่างประเทศจะได้ไม่มีปัญหาด้านการสื่อสารในและการเรียนในชั้นเรียน

ด้าน ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เล่าให้ฟังว่า ตนไปเจอนักเรียนในโครงการ 1 อ. 1 ทุนที่ประเทศฝรั่งเศสคนหนึ่ง ผลการเรียนดีมากและเด็กคนนี้เรียนจบปริญญาตรีแล้ว จึงมีแนวคิดจะส่งเสริมเด็กทุนที่เก่งๆ เช่นนี้เรียนต่อจนจบปริญญาโทและปริญญาเอก แล้วกลับมาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย หากเรามีเด็กเก่งๆ จำนวนมากมาเป็นอาจารย์สอนจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาไทย จึงได้เสนอ รมว.ศธ.ว่าควรจะสนับสนุนให้เด็กเก่งเรียนต่อปริญญาโทและเอก แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการติดตามผลการเรียนของเด็ก จึงขอให้การตรวจสอบผลการเรียนของเด็กทุนทุกคนว่ามีผลการเรียนเช่นไร หากพบว่าเป็นเด็กเก่งก็จะเสนอให้ทุนเรียนต่อระดับปริญญาโทและเอก เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยในไทยภายหลังเรียนจบแล้ว

“จริงๆ แล้ว สกอ.และมหาวิทยาลัยมีทุนพัฒนาอาจารย์ เพื่อส่งเสริมให้เรียนต่อในระดับที่สูงอยู่แล้ว หากเราได้นักเรียนที่เก่งแล้วส่งเสริมให้เขาเรียนต่อปริญญาโทและเอก ในสาขาที่ขาดแคลน เมื่อเด็กรียนจบแล้วให้กลับมาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยที่เซ็นสัญญาให้ทุนไว้ ส่วนเรื่องที่จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยแห่งไหน แต่อยากให้เด็กทุนเลือกเรียนมหาวิทยาลัยเกรดเอ มากกว่าเกรดบี และซี โดย สกอ.จะประสานกับสถานเอกอัครราชทูต เพื่อขอคำแนะนำว่าควรเลือกเรียนมหาวิทยาลัยแห่งใด และการเสนอทุนให้เด็กเรียนต่อปริญญาโทและเอก ตนจะเสนอ รมว.ศธ.ปลายเดือน มี.ค.นี้” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในฐานะ รมว.ศธ.(เงา)กล่าวว่า นายสมชายควรจะกลับมาทบทวนหากจะนำเงินหวยบนดินมาสนับสนุนเรื่องทุนการศึกษาเพราะขณะนี้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง กำลังโดนตรวจเกี่ยวกับคดีหวยบนดินที่เกิดขึ้นในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ

“ขอถามนายสมชายว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้องฟื้นเรื่องหวยบนดินขึ้นมา ความจริงเงินที่ใช้หนุนเรื่องทุนการศึกษาสามารถหาได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินจากหวย เพราะงบประมาณไม่เยอะขนาดนั้น ผมมีความรู้สึกว่ารัฐบาลพยายามนำเรื่องทุนไปผูกกับการฟื้นหวยบนดินขึ้นมา ที่สำคัญไม่อยากให้นักเรียนคิดว่าที่ได้ทุนเพราะมีหวยบนดิน” นายอภิสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา : http://www.manager.co.th - 11 มีนาคม 2551

ศธเล็งฟื้นโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนรุ่น 3 ให้ทันปีงบฯ51นี้

ศธ.เตรียมฟื้นโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนรุ่น 3 ให้ทันปีงบประมาณ 2551 ชงข้อมูลเสนอ รมว.ศธ. ตัดสินใจว่า จะแจกทุนให้เด็กเลือกเรียนต่อทั้งในและต่างประเทศ หรือให้เรียนต่อต่างประเทศอย่างเดียว พร้อมให้คิดหาเงินมาอัดฉีดโครงการด้วย กรณีเรียนต่อต่างประเทศใช้เงินประมาณ 1 ล้านบาทต่อคนต่อปี รวมทั้งหมดแจก 926 ทุน ด้าน สกอ.เตรียมต่อยอดโครงการ ให้ทันเด็กODOS ที่เรียนดีเรียนต่อป.โท และ ป.เอก โดยมีเงื่อนต้องกลับมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นสปอนเซอร์

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดศธ. เปิดเผยว่า ศธ.เตรียมเสนอให้คณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน One District One Scholarship (ODOS) ซึ่งมีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน พิจารณาจัดสรรทุนโครงการดังกล่าวต่อเป็นรุ่นที่ 3 หลังจากโครงการนี้หยุดชะงักไปในช่วงของรัฐบาลที่ผ่านมา ทำให้ในปีการศึกษา 2550 ไม่มีการจัดสรรทุนเรียนต่อปริญญาตรีทั้งในและต่างประเทศให้นักเรียนยากจนเรียนดีในแต่ละอำเภอ

ปลัดศธ. กล่าวต่อว่า ทุนรุ่น 3 นั้นจะเสนอจัดสรรทั้งสิ้น 926 ทุน แบ่งเป็นทุนที่จัดสรรให้นักเรียนมัธยมปลาย ที่เรียนดีในอำเภอและกิ่งอำเภอ รวม 819 ทุน ที่เหลืออีก 76 ทุน จะจัดสรรให้นักเรียนสายอาชีวะศึกษาที่เรียนดีแต่ยากจนได้มีสิทธิ์สมัครคัดเลือกเพื่อรับทุนนี้ด้วยจังหวัดละ 1 ทุน อย่างไรก็ตาม ทุนสายอาชีวะนั้นจะเสนอให้ทุนสนับสนุนเฉพาะผู้เลือกเรียนในสาขาขาดแคลนที่สภาการศึกษาและสภาพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติกำหนดไว้ อาทิสาขาขนส่งยานยนต์ ปิโตรเคมี เป็นต้น ส่วนสาขาพาณิชย์ บัญชี นั้นไม่สนับสนุนให้ทุน เพราะในประเทศผลิตคนสาขานี้มากแล้ว ทั้งนี้จะส่งเด็กสายอาชีวะไปเรียนในประเทศที่มีความเชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยขาดแคลน

”อย่างไรก็ตาม การฟื้นโครงการขึ้นมาใหม่ในคราวนี้ศธ.จะขอให้คณะกรรมการโครงการ ODOS พิจารณาหาแหล่งเงินสนับสนุนการแจกทุนรุ่นที่ 3 และพิจารณาชี้ขาดว่าจะให้นักเรียนทุนเลือกเรียนต่อได้ทั้งในและต่างประเทศเหมือนเดิม หรือจะให้เลือกเรียนเฉพาะต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากเด็กเลือกเรียนต่างประเทศค่าใช้จ่ายจะตกประมาณ 1 ล้านบาทต่อคนต่อปี หากเลือกเรียนในประเทศค่าใช้จ่ายจะประมาณ 3 แสนบาทต่อคนต่อปี “ ปลัด ศธ. กล่าว

ดร.จรวยพร กล่าวต่อว่า ได้มีการเสนอเงื่อนไขสำหรับนักเรียนทุนที่เลือกเรียนต่อต่างประเทศ โดยกำหนดให้นักเรียนจะต้องเรียนภาษาของประเทศที่เลือกศึกษาต่อในประเทศไทยก่อนอย่างน้อย 1 ปี แล้วค่อยส่งไปเรียนประเทศนั้นๆต่อเมื่อมหาวิทยาลัยของประเทศนั้นๆตอบรับที่จะรับเด็กเข้าเรียน เพื่อให้แน่ใจว่า เด็กมีความพร้อมเพียงพอที่จะเรียนต่อ

ทั้งนี้ โครงการ ODOS รุ่น 3 นี้ศธ.จะผลักดันให้เกิดทันปีงบประมาณ 2551 ขณะนี้ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการ ไปรวบรวมข้อมูลว่า นักเรียนทุน ODOS รุ่น 1 นั้นสำเร็จการศึกษาแล้วกี่ราย รุ่น 2 สามารถเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยทั้งในต่างประเทศแล้วกี่ราย ทั้งนี้นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ได้มีข้อเสนอที่จะคัดเลือกเด็กจำนวนหนึ่งที่เรียนจบจากต่างประเทศภายใต้โครงการ ODOS เข้าบรรจุทำงานเป็นอาจารย์ใหม่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ และ สำหรับเด็กที่มีผลการเรียนดีมาก สกอ.จะคัดเลือกหาทุนให้ไปเรียนต่อปริญญาโท ปริญญาเอก ด้วย

อนึ่งโครงการ ODOS เดิมนั้นเป็นโครงการที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากโครงการขายหวยบนดินเลขท้าย 2-3 ตัว เมื่อโครงการหวยบนดินถูกยกเลิกไป จึงต้องหันมาใช้งบประมาณแผ่นดินสนับสนุน โดยประมาณการว่า ถ้าจะให้นักเรียนทุน ODOS เรียนจบปริญญาตรีในแต่ละรุ่น รัฐต้องใช้เงินสนับสนุนรุ่นละประมาณ 3.7 พันล้านบาทเพื่อจ่ายเป็นทุนการศึกษาเด็ก โครงการ ODOS รุ่นแรกเริ่มไปเมื่อปีการศึกษา 2547 แจกทุนทั้งหมด 921 ทุนจาก 926 อำเภอ เด็กเลือกเรียนในประเทศ 182 คน ต่างประเทศ 739 คน โครงการ ODOS รุ่น 2 ดำเนินการในปีการศึกษา 2549 แจกทุน 915 ทุน จาก 926 อำเภอ เด็กเลือกเรียนในประเทศ 155 คน ต่างประเทศ 760 คน

ด้าน ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการกกอ. กล่าวเสริมว่า ตนได้เจอนักเรียนทุน ODOS ที่ประเทศฝรั่งเศสคนหนึ่งที่เก่งมาก และขณะนี้เด็กคนนี้เรียนจบแล้ว จึงมีแนวคิดจะส่งเสริมเด็กทุนที่เก่ง ๆ เช่นนี้เรียนต่อจนจบปริญญาโทและปริญญาเอก และกลับมาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ย จึงได้เสนอ รมว.ศธ. ว่าควรจะสนับสนุนให้เด็กเก่งเรียนต่อปริญญาโทและเอก แต่มีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยไทยเมื่อเรียนจบแล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้ว สกอ.และมหาวิทยาลัยมีทุนพัฒนาอาจารย์ เพื่อส่งเสริมให้เรียนต่อในระดับที่สูงอยู่แล้ว ทั้งนี้ จะเสนอเรื่องการเสนอทุนให้เด็กเรียนต่อปริญญาโทและเอกแก่ รมว.ศธ.ปลายเดือนมี.ค. นี้

ที่มา : http://www.charuaypontorranin.com , กรุงเทพธุรกิจ - 11 มีนาคม 2551

สถิตินักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

สรุปจำนวนนักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่กำลังศึกษา ณ ต่างประเทศ

ที่มา : http://www.ocsc.go.th - 1 มีนาคม 2551

"สมชาย" รอฟื้นหวยบนดินใช้เงินหนุนโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนรุ่น 3

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ว่า เรื่องดังกล่าวจะสานต่ออย่างแน่นอน แต่จะรอดูว่าจะนำงบประมาณส่วนใดมาดำเนินการ แต่แนวโน้มของแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 คือ การขอใช้เงินรายได้จากการจำหน่ายสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว หรือ หวยบนดิน หรืออาจจะขอความร่วมมือจากภาคเอกชนให้สนับสนุนโครงการ ซึ่งก็มีหลายแห่งที่ต้องการเข้ามาช่วย อย่างไรก็ตาม เรื่องที่อาจจะนำงบประมาณปกติมาใช้ดำเนินการคงไม่มีแน่นอน

"ผมคิดว่าหวยบนดินจะฟื้นแน่นอน แต่ว่าถ้าจะนำเงินจากการขายหวยบนดินมาใช้ครั้งนี้ก็จะดูช่องทางการใช้ให้ถูก เพราะในอดีตมีการกล่าวหาว่ากำไรจากการขายหวยนำมาใช้ไม่ถูก ซึ่งเราก็ต้องรับฟังเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา โดยในส่วนนี้คงรอดูทิศทางจากกระทรวงการคลังก่อนและต้องรอดูด้วยว่า เมื่อฟื้นหวยบนดินขึ้นมาแล้ว จะมีรายได้เข้ามาเท่าใด อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ทำแน่เพราะเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อเด็ก และทุกคนรอดูอยู่ แต่ขอดูเรื่องเงินก่อนอย่างเดียว สำหรับจำนวนทุนที่จะให้จะเป็นเช่นไรนั้น ทราบว่ารัฐบาลที่แล้วกำหนดหลักเกณฑ์ให้ทุนรุ่นที่ 3 นี้ เขตพื้นที่ละ 2 ทุน และอาชีวะอีกจังหวัดละทุน รวมเป็น 432 ทุน ซึ่งเข้าใจว่า เพราะรัฐบาลที่แล้วกลัวว่าจะไม่มีเงิน เลยลดจำนวนทุนลงไป อย่างไรก็ตาม ต้องมาพิจารณาข้อมูลอีกครั้ง หากแนวทางใดให้ประโยชน์แก่เด็กมากที่สุดก็จะเลือกทางนั้น"

ที่มา : http://www.moe.go.th , http://www.banmuang.co.th

นักวิชาการยำ 1 อ.1 ทุน ชี้ลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ

“สมพงษ์” ติงโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ใช้งบสูง แต่ผลตอบกลับมาสู่สังคมต่ำ ไม่มีแนวทางให้เด็กทำประโยชน์ให้กับท้องถิ่น ส่วนสาขาที่ส่งไปศึกษายังต่างประเทศยังไม่คำนึงถึงความต้องการของประเทศ เชื่อรัฐฟื้นหวย 2 ตัว 3 ตัว นำเงินกลับมาใช้ ฝากรัฐหากฟื้น 1 อำเภอ 1 ทุน ให้สรรหาคณะกรรมการคัดเลือกให้ดี อย่าให้การเมืองแทรกแซง

นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายที่ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่รัฐบาลปัจจุบันจะสานต่อโครงการในรุ่นที่ 3 เพราะถือเป็นจุดขายอันดับ 1 ของรัฐบาล อีกทั้งยังเป็นนโยบายประชานิยมทางการศึกษาที่ชัดเจนมาก แต่ก็เป็นนโยบายที่ให้โอกาสเด็กยากจนได้เรียนต่อในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวใช้งบประมาณลงทุนที่สูงมาก แต่ผลตอบรับที่ตอบกลับมาให้สังคมค่อนข้างต่ำ เนื่องจากการดำเนินโครงการในรุ่นที่ 1-2 รัฐบาลไม่ได้หาแนวทางรองรับสำหรับเด็กที่จบมาแล้วว่า หากจบมาแล้วจะทำประโยชน์ให้กับท้องถิ่นของตนเองได้อย่างไร ขณะเดียวกัน สาขาวิชาที่ส่งให้เด็กไปศึกษาต่อ ก็มีความเข้มข้นน้อย เนื่องจากให้เด็กเป็นผู้เลือกคณะและประเทศที่ต้องการเอง โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ และความต้องการของประเทศ เช่น ส่งนักเรียน 1 ทุน 1 อำเภอ จำนวนประมาณ 40-50 คน ไปเรียนคณะบริหารการโรงแรมที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งที่ประเทศไทยสามารถจัดการเรียนการสอนด้านนี้ได้ดีกว่า นอกจากนั้นก็ไม่มีการติดตามผลการดำเนินงานที่จริงจังเพียงพอ

“โครงการ 1 ทุน 1 อำเภอที่ผ่านมา มาตรฐานค่อนข้างย่อหย่อน และขาดการเอาจริงเอาจัง เด็กที่ไปเรียนจะรู้สึกเพียงว่าตัวเองสมหวังตามความต้องการที่อยากไปเรียนในต่างประเทศ แต่จะไม่ให้ความสำคัญกับการเรียนเท่าใดนัก ดังนั้น การให้ทุนจึงควรมีการกำหนดให้ชัดเจนว่าจะส่งไปในสาขาและประเทศใดบ้าง เพื่อให้นักเรียนได้นำความรู้กลับมาใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นของตนเองได้ ไม่ใช่เปิดกว้างเกินไปอย่างที่ผ่านมา มิเช่นนั้นจะเป็นโครงการประชานิยมที่สร้างภาพ และคุณภาพการบริหารจัดการที่ตกต่ำ”

นายสมพงษ์ กล่าวอีกว่า หากรัฐบาลปัจจุบันยืนยันที่จะสานต่อโครงการ 1 ทุน 1 อำเภอในรุ่นที่ 3 ก็ควรที่จะศึกษาถึงข้อดี และข้อเสีย รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการในรุ่นที่ 1-2 เพื่อมาพิจารณาว่าจะต้องมีการปรับปรุงในส่วนใดบ้าง ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณที่จะนำมาสนับสนุนโครงการนั้นไม่น่ามีปัญหา เพราะมั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้จะต้องรื้อฟื้นสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว กลับมา และนำมาเงินมาใช้กับโครงการนี้อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม อยากให้รัฐบาลสรรหาคณะกรรมการที่จะคัดเลือกผู้มารับทุนให้เหมาะสม อย่าให้ตกเป็นเหยื่อของนักการเมือง เพราะคนเหล่านี้จะพร้อมปฏิบัติตามความต้องการของนักการเมือง และจะส่งผลให้เด็กที่ได้รับทุนไม่ใช่เด็กที่ยากจนจริงๆ จะกลายเป็นเด็กทุนตัวปลอมที่แย่งโอกาสคนอื่น

ที่มา : http://manager.co.th

ถ้าหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนกลับมา รัฐบาลควรปรับปรุงอย่างไร?

โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่จัดสรรทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีทั้งในประเทศและต่างประเทศแก่เด็กนักเรียนยากจนทั่วประเทศ

โดยมีแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพของคนในประเทศตลอดจนการเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาการเรียนรู้ของคนในสังคมทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้เด็กยากจนในสังคมโดยเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเอง ชุมชน และท้องถิ่น (ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ, 2549)

แนวคิดดังกล่าวเป็นการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ที่จะให้ผลระยะยาวต่อการพัฒนาประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนที่ผ่านมายังมีปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการด้วยกัน

หากรัฐบาลชุดปัจจุบัน (นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี) จะรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ควรมีคณะทำงานศึกษาข้อมูลที่ได้ดำเนินการมาแล้วโดยใช้ผลการศึกษาในเชิงประเมินจากหน่วยงานและนักวิชาการเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นจุดอ่อน/จุดแข็ง รวมทั้งข้อเสนอแนะแล้วสร้างรูปแบบ (model) ของโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนเสียใหม่

กรณีศึกษารายงานโครงการติดตามประเมินผลโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนรุ่น 1 โดยคณะวิจัยจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะพัฒนาการเศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประกอบด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต ดร.ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และ ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ ซึ่งได้ตีพิมพ์รายงานโครงการดังกล่าวในปี พ.ศ.2549 โดยนำเสนอข้อเสนอแนะต่อโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนที่ได้จากการวิจัยด้านกระบวนการคัดเลือก กระบวนการเตรียมความพร้อม กระบวนการดูแลนักเรียนและประเทศที่จะไปศึกษา รวมทั้งข้อเสนอแนะทางด้านยุทธศาสตร์ในระยะยาว

เป็นข้อเสนอแนะที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนโดยมีสาระโดยย่อดังนี้

1. ข้อเสนอแนะในกระบวนการคัดเลือกนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน

ข้อเสนอแนะ ในการคัดเลือกนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน สำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนนำไปปฏิบัติ รวมทั้งข้อคิดเห็นและประเด็นต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนการกำหนดเกณฑ์รายได้ กรรมการผู้คัดเลือก การตรวจสอบคุณสมบัติ เป็นต้น

ทั้งนี้ เมื่อได้นักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนที่ผ่านตามเกณฑ์แล้ว การปฏิบัติการในกระบวนการคัดเลือกนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ให้เปิดเผยและมีความโปร่งใสโดยควรมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับทุนโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนอำเภอละ 1 คน ตามสื่อต่างๆ

โดยใช้เกณฑ์การได้คะแนนจากการสอบข้อเขียนร้อยละ 75 และการได้คะแนนจากการสอบสัมภาษณ์ร้อยละ 25

2.ข้อเสนอแนะในการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน

ข้อเสนอแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต้องการตรวจสอบคุณสมบัติอีกครั้ง ว่าสอดคล้องตามที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีกระบวนการการตรวจสอบคุณสมบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

และนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ทุกคนควรผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติก่อนการเข้าสู่กระบวนการปฐมนิเทศ หลังจากนั้น ให้มีการจัดการปฐมนิเทศ โดยสำนักงาน ก.พ. กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกันดำเนินการใช้ระยะเวลาทั้งหมดเป็นเวลา 6 เดือน ก่อนนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนแยกย้ายกันไปศึกษาต่อยังสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ

การจัดปฐมนิเทศ ควรจัดรูปแบบกิจกรรมที่ให้สมาชิกในครอบครัวเน้นพ่อแม่หรือผู้ปกครองของนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวรับรู้รายละเอียดและกิจกรรมต่างๆ ที่บุตรหลานของตนต้องไปประสบ ในการศึกษาข้างหน้า เพื่อลดความห่วงใย

นอกเหนือจากนี้รูปแบบการจัดปฐมนิเทศ อาจจัดให้นักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนไปทัศนศึกษาในหลายพื้นที่ เพื่อให้สามารถนำวัฒนธรรมไทย และข้อมูลต่างๆ ไปใช้ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในต่างประเทศได้

3.ข้อเสนอแนะในกระบวนการดูแลนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน

ข้อเสนอแนวทางจัดระบบดูแลนักเรียนผู้ได้รับทุนในระหว่างการศึกษาและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดย สกอ. ควรทำหน้าที่ในการประสานงานและจัดตั้งคณะกรรมการดูแลนักเรียนในประเทศ รวมทั้งมีระบบการเบิกจ่ายเงิน และระบบให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ มีการติดตาม และเยี่ยมเยียนนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่นักเรียนทุนในต่างประเทศสามารถมีระบบการดูแลที่แตกต่างกันดังนี้

3.1 ในประเทศที่มีสำนักงานดูแลนักเรียนของ ก.พ.ตั้งอยู่ ก.พ.จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนระหว่างการศึกษา เช่น ญี่ปุ่นและฝรั่งเศส

3.2 ในบางประเทศสำนักงานผู้ดูแล ก.พ. สามารถแจ้งภาคเอกชนมาดูแลนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน โดยอยู่ในความควบคุมของสำนักงาน ก.พ. ดังเช่น กรณีของประเทศเยอรมนี

3.3 ในประเทศที่ไม่มีสำนักงาน ก.พ.ตั้งอยู่ ก.พ.ควรมีการประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ โดยให้สถานทูตเป็นผู้ดูแลนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ดังเช่น ในกรณีของประเทศรัสเซีย อินเดีย และอิตาลี เป็นต้น

3.4 มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาสามารถเป็นผู้ดูแลนักเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนได้โดยอาจจะมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน อย่างกรณีของประเทศจีน

ทั้งนี้ ควรมีการประเมินข้อดีและข้อเสียในแต่ละระบบการดูแล และตัดสินใจเลือกระบบที่จะมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานโดยอาจแยกกรณีเฉพาะในแต่ละประเทศ

4.ข้อเสนอแนะในการเลือกประเทศที่จะส่งเด็กเพื่อไปศึกษา

จากการวิเคราะห์ถึงผลได้-ผลเสีย (Cost-Benefit Analysis) คณะวิจัยได้จัดกลุ่มประเทศโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

กลุ่ม 1 : ประเทศที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ จีน เยอรมนี อินเดีย อิตาลี มาเลเซีย สเปน

กลุ่ม 2 : ประเทศที่มีศักยภาพปานกลาง ได้แก่ รัสเซีย ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อียิปต์ ออสเตรเลีย เดนมาร์ก สวีเดน

กลุ่ม 3 : ประเทศที่มีศักยภาพต่ำ ได้แก่ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์

ทั้งนี้ การเลือกประเทศที่เหมาะสมจะช่วยให้โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น ประเทศชาติจะได้บุคลากรที่ตรงกับความต้องการเพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาว

5.ข้อเสนอแนะเพื่อการวางนโยบาย และยุทธศาสตร์ในระยะยาว

การบริหารโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนควรคำนึงถึงผลสำเร็จในระยะยาว ทั้งนี้ รัฐบาลต้องคำนึงถึงกลไกการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในการที่ภาครัฐจะได้ประโยชน์จากโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศเป็นสำคัญ

จากการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ พบว่าความหลากหลายในสาขาวิชา รวมไปถึงความสามารถทางภาษาของนักเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศ

เนื่องจากนักเรียนทุนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มแรงงานที่มีทักษะและเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา

ทั้งนี้ ระบบฐานข้อมูลหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOS Database) จะช่วยในการที่หน่วยงานวางแผนจะสามารถได้รับข้อมูลข่าวสารได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะที่ได้จากข้อค้นพบในการวิจัยเชิงประเมินผลของกลุ่มนักวิชาการดังที่กล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนไปสู่การปฏิบัติที่มุ่งผล

ดังนั้น คณะกรรมการดำเนินงานโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงาน ก.พ. (หน่วยงานเดิมที่เป็นผู้ดำเนินการในอดีต) ควรมีการศึกษาผลการประเมินโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนที่ได้มีการศึกษาทั้งโดยหน่วยงานต่างๆ และมหาวิทยาลัย

เพื่อสังเคราะห์ให้ได้ข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุง และพัฒนาโครงการให้สามารถสนองตอบต่อหลักการ และเหตุผลในการให้ทุนของโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน

ที่มา : http://www.matichon.co.th , เขียนโดย สุรชัย เทียนขาว มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี

เสนอทำประชาพิจารณ์"ทุน1อำเภอ" แนะเพิ่มกติกาคัดเด็ก"เข้ม!!"

"วิจิตร" เตือนเขยแม้ว ก่อนฟื้นโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ควรแก้ปัญหาเดิมให้ได้ก่อน เผยแค่ 2 รุ่นยังใช้เงินมากถึง 6 พันล้าน รุ่นใหม่ยังไม่รู้จะเอาเงินจากไหน "นักวิชาการ" แนะทำประชาพิจารณ์ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ และปรับปรุงกติกาคัดเด็กให้เข้มข้นกว่าที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความโปร่งใสยุติธรรม เผย 2 รุ่นแรกพบลูกนักการเมืองท้องถิ่น หัวคะแนนบางพรรคการเมืองได้ทุนจำนวนมาก

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (อดีต รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เตรียมจะฟื้นโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนเดิม) รุ่นที่ 3 ว่าโครงการนี้ในรัฐบาลที่แล้วได้ให้ยุติชั่วคราวเนื่องจากติดปัญหาเรื่องงบประมาณ ซึ่งทั้ง 2 รุ่นที่ผ่านมาใช้งบประมาณไป 6 พันล้าน แต่ก็ได้มีการนำกลับมาพิจารณากันอีกครั้งในเรื่องของหลักเกณฑ์การให้ทุนรุ่น 3 เช่นจาก 1 อำเภอ 1 ทุน มาเป็นให้ตามเขตพื้นที่การศึกษาและนักศึกษาอาชีวะ

"หากรัฐบาลฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง มองว่าการให้โอกาสคนเป็นเรื่องดีแต่อยากให้แก้ปัญหาเดิมก่อน ตอนนี้ยังไม่กล้าวิจารณ์อะไรมากเพราะยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ต้องรอดูผลงานก่อนถึงจะพูดได้และการแถลงนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา เขาก็บอกว่ารัฐบาลนี้ไม่ด้มีหน้าที่ใช้เงินอย่างเดียว แต่มีหน้าที่หาเงินเข้าประเทศด้วย" อดีต รมว.ศธ.กล่าวและปฏิเสธที่จะวิจารณ์ถึงหน้าตาของที่ปรึกษาและเลขานุการของ รมว.ศธ.ตอบเพียงว่าหล่อดี สวยดี

ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ยอมรับว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ให้โอกาสคน แต่หากจะฟื้นกลับมาอีกครั้งอยากให้มีความโปร่งใสยุติธรรมและเกิดความเท่าเทียมในทางปฏิบัติด้วยเพราะรุ่นที่ผ่านมาพบว่ามีลูกนักการเมืองและผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นได้ทุนนี้จำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีเรื่องการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กที่น่าจะยาวกว่านี้รวมถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ต้องเข้มข้นขึ้น เช่น ระบบการคัดเลือก ข้อสอบ ระบบการช่วยเหลือติดตามผล ที่สำคัญเมื่อจบและกลับมาแล้วมีงานรองรับไว้สำหรับเด็กกลุ่มนี้หรือไม่

"มีเด็กประมาณ 10-15% ของทุนนี้ที่เกิดปัญหา บางคนมองว่าทุนนี้มาจากเงินหวยและเป็นภาษีบาป ทำให้ผู้ได้ทุนขาดความเข้าใจและไม่ระมัดระวังเรื่องการใช้เงินแต่แท้จริงแล้วมันเป็นเงินจากภาษีของคนไทยทุกคน อยากให้มีการทบทวนถึงจุดอ่อนจุดแข็งเพราะหากจะว่ากันตามจริง ข้อดี-เสียของโครงการนี้ยังถือว่า 50-50" รศ.ดร.สมพงษ์กล่าว และว่า ก่อนดำเนินการต่อในรุ่นที่ 3 อยากให้เปิดประชาพิจารณ์เพื่อสอบถามความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องก่อน โดยให้เด็กที่จบจากโครงการนี้ในรุ่นที่ 1 มาบอกถึงอุปสรรคและข้อดี-เสีย นอกจากนั้นควรสอบถามไปยังสถานทูตในประเทศที่ส่งเด็กไป ว่าโครงการนี้มีปัญหาในเรื่องใดบ้าง คนกลุ่มนี้จะสามารถตอบคำถามได้มากที่สุดเพื่อจะได้เตรียมความพร้อมให้กับรุ่น 3 ได้อย่างเต็มที่ เพราะระยะหลังมองว่ากระบวนการดำเนินงานสานต่อโครงการในรุ่น 2 ยังหลวมๆ และไม่ค่อยมีการติดตามผล

อาจารย์จากคณะครุศาสตร์ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายที่พรรคพลังประชาชนใช้ในการหาเสียงไว้อย่างไรก็ตามคงต้องมีการสานต่ออย่างแน่นอน แต่ถ้าหากนำเงินไปใช้กับเด็ก 432 คนตามโครงการนี้ ไปให้กับเด็กที่ไม่มีโอกาสเรียนน่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า

แหล่งข่าวจากสำนักงานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า เบื้องต้นการคัดเลือกเด็กยังคงยืนยันตามหลักการเดิม คือคัดเลือกเด็กที่มีความประพฤติดีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 รายได้ครอบครัวไม่เกิน 1.5 แสนบาทต่อปี และต้องไปเรียนในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ ส่วนโรงเรียนก็ต้องตรวจสอบเด็กว่ามีคุณสมบัติตามที่กำหนดจริง

โดยในรุ่นที่ 3 คาดว่าจะมีระยะเวลาในการเตรียมตัวเด็กประมาณ 1 ปี อบรมทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย ทักษะด้านภาษา ความคิด รวมถึงการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างเพื่อเด็กไปแล้วจะได้ไม่เกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมา ส่วนการสอบจะมีทั้งสอบสัมภาษณ์และสอบข้อเขียน โดยใช้ข้อสอบกลางจากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้เด็กจากรุ่นที่ 1 กำลังจะกลับประเทศไทยแต่ยังไม่มีงานรองรับเด็กกลุ่มนี้ สำหรับงบประมาณนั้นขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนต้องรอให้นายสมชายพิจารณาก่อน คาดว่าจะมีการพูดคุยเรื่องโครงการนี้อีกครั้งในการประชุมผู้บริหาร 5 องค์กรหลักของ ศธ.ในวันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ ทั้งนี้สำหรับค่าใช้จ่ายของเด็กที่ได้รับทุนนี้จะไม่เท่ากัน โดยคิดตามค่าครองชีพแต่ละประเทศ เช่นประเทศฝรั่งเศสค่าใช้จ่ายจะตกอยู่ที่ประมาณ 8 แสนบาทต่อปี

ที่มา : http://www.moe.go.th , หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ - 22 กุมภาพันธ์ 2551

“สมชาย” ลุยแจกคอมพ์-ทุน 1 อ.หนุนเรียนฟรีอนุบาล 2 ปี

“สมชาย” ยืนยันแจกโน้ตบุ๊กล้านเครื่อง เชื่อได้ประโยชน์ทั้งครอบครัวไม่เฉพาะตัวเด็กเท่านั้น ส่วน 1 อำเภอ 1 ทุน ยังยืนแนวทางเดิมให้ทุน ทุกอำเภอ เพราะทั่วถึงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามที่ “วิจิตร” เคยสั่งทบทวน ระบุไม่ได้สั่งให้ทบทวนเรียนฟรี 12 ปี เพียงแต่จะแถมอนุบาลให้อีก 2 ปี “แซม” ชี้แนวทางให้ทุนจะชัดเจนได้ ต้องหาเงินให้ได้ก่อน

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ว่า โครงการให้ทุนการศึกษาดังกล่าวยังคงเป็น 1 อำเภอ 1 ทุนตามเดิม ส่วนที่ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีต รมว.ศึกษาธิการ ได้มีการทบทวนว่าจะให้ทุนตามเขตพื้นที่การศึกษานั้น ตนเห็นว่า หากให้ทุนตามอำเภอเด็กจะได้รับทุนทั่วถึงกว่า เพราะระดับเขตพื้นที่การศึกษาฯ จะมีพื้นที่กว้างกว่าระดับอำเภอมาก เนื่องจากแต่ละเขตพื้นที่จะมีหลายอำเภอรวมอยู่ อย่างไรก็ตาม ตนไม่ปฏิเสธที่จะรับฟังความคิดเห็นของอดีต รมว.ศึกษาธิการ และฝ่ายค้าน หากเรื่องไหนเป็นเรื่องที่ดีก็จะรับไปดำเนินการต่อ

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนโครงการแจกคอมพิวเตอร์แบบพกพาให้กับเด็กนักเรียนนั้น ตนมีความตั้งใจที่จะดำเนินการเช่นนั้น เพราะขณะนี้ ศธ.พัฒนาคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ใช้ในโรงเรียนไปมาก จากเดิมคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อเด็ก 40 คน ปัจจุบันอยู่ในสัดส่วนคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อเด็ก 20 คน และในอนาคตก็จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก สำหรับความเป็นห่วงของฝ่ายค้านที่เกรงว่าพื้นที่ชนบทจะไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้นั้น ปัจจุบันระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ครอบคลุมไปมาก และในพื้นที่ไหนที่ยังไม่มีเครือข่ายตนก็จะเร่งขยายให้ทั่วถึง ซึ่งการแจกคอมพิวเตอร์พกพาให้เด็กนำกลับไปใช้ที่บ้าน ไม่เพียงแต่เด็กจะได้ประโยชน์เท่านั้น แต่คนในครอบครัวก็ยังสามารถใช้งานจากคอมพิวเตอร์ได้ด้วยเช่นกัน สำหรับนโยบายเรื่องการเรียนฟรี 12 ปี ตนไม่ได้สั่งให้ทบทวน แต่ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาดูว่ามีการอุดหนุนและจัดการศึกษากันอย่างไร เพื่อจะแถมเรียนฟรีระดับอนุบาลให้อีก 2 ปี

ด้านนายยุรนันท์ ภมรมนตรี ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนเข้าใจดีว่าทุกคนอยากให้นโยบายด้านการศึกษาต่างๆ มีความชัดเจน โดยเฉพาะเรื่อง 1 อำเภอ 1 ทุน แต่สิ่งสำคัญที่สุดขณะนี้ คือ จะต้องหางบประมาณสำหรับนำมาเป็นทุนการศึกษาก่อน เนื่องจากในอดีตรัฐบาลใช้เงินจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล 2 ตัว 3 ตัว แต่ขณะนี้ยังมีปัญหาอยู่ว่าจะใช้เงินจากส่วนไหน เพราะหากไม่มีทุนการศึกษาให้กับเด็กอย่างต่อเนื่องก็จะกลายเป็นปัญหาในอนาคตได้อีก นอกจากนี้เรื่องดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาของ ศธ.หน่วยงานเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับกระทรวงการคลังด้วย ซึ่งหากทราบว่าจะได้รับเงินจากไหนการกำหนดแนวทางต่างๆ ก็จะชัดเจนขึ้น

ที่มา : http://manager.co.th - 22 กุมภาพันธ์ 2551

นักวิชาการอัดประชานิยมการศึกษา ชี้หวังแค่หาเสียง-ห่วงคุณภาพ กรอ.

นักวิชาการ จวกผู้นำประเทศไม่ให้ความสำคัญด้านการศึกษา เน้นชูนโยบายประชานิยม ซึ่งชาติจะไม่ได้อะไรเลย โครงการ 1 อ.1 ทุน เป็นประโยชน์ส่วนบุคคล เด็กเรียนจบจะทำงานในเมืองไม่กลับไปพัฒนาบ้านเกิด ขณะที่ กรอ.แค่เพิ่มคนเรียนสูงขึ้นแต่ไร้คุณภาพ แนะผู้นำควรกำหนดทิศทางการศึกษาให้ชัดเจนว่าจะผลิตคนอย่างไร เสนอให้งบโรงเรียนชนบทมากกว่าโรงเรียน กทม.และในเมือง คาดว่า 5 ปีจะเห็นความก้าวหน้าของนักเรียนชนบท

ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดี ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ได้นำเสนอรายงานการวิจัย เรื่องแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยสู่สากล : จากการเปรียบเทียบ 6 ประเทศ คือ จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลี ฟินแลนด์ เยอรมนี ว่า จากการวิจัยพบ 6 ประเทศมีระบบการจัดการศึกษาจะที่มีลักษณะเฉพาะตัว แต่ผลที่ออกมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่ให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมเน้นย้ำเป็นพลเมืองดีของสังคม ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมสูง มีความรับผิดชอบ ที่สำคัญรักชาติ ขณะที่การจัดการศึกษาของไทยไม่มีความชัดเจนยังแกว่งไปแกว่งมาไม่รู้ว่าจะไปทิศทางใด

ที่สำคัญ คือ ผู้นำประเทศไม่ได้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างเด่นชัด สังเกตได้จากคนที่มานั่งบริหารส่วนใหญ่เก่งการเมืองแต่ไม่ได้เน้นด้านการศึกษา มิหนำซ้ำระบบการผลิตครูก็มีการคัดเลือกคนเก่งมาเรียนครู

ส่วนนโยบายด้านการศึกษาขณะนี้เป็นนโยบายเชิงการเมืองมากกว่าต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งนโยบายส่วนใหญ่เน้นประชานิยม นำเอาโครงการเก่าสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เช่น เรียนฟรี 1 อำเภอ 1 ทุน เป็นต้น ในฐานะผู้นำรัฐบาล ควรจะต้องมาคิดภาพรวมว่าต้องการให้ประเทศชาติเดินไปอย่างไร แล้วค่อยเอาข้อสรุปตรงนี้มาสร้างนโยบายการศึกษา

“โครงการประชานิยม อย่างเช่น 1 อำเภอ 1 ทุน เป็นประโยชน์ส่วนบุคคลแต่ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา แม้วัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการให้เด็กเรียนจบแล้วกลับไปพัฒนาท้องถิ่น แต่ความจริงคือเมื่อเด็กเรียนจบเด็กจะไม่กลับไปทำงานในท้องถิ่น หรือการฟื้นทุน กรอ. ทำให้มหาวิทยาลัยขยายกำลังมากแต่ขาดคุณภาพ แล้วผมถามว่าจะให้เด็กเรียนมากไปทำไม ถ้าการเรียนนั้นไม่มีคุณภาพ จบออกมาแล้วหางาทำไม่ได้ คนก็จะเรียนเพิ่มไปจนถึงปริญญาโทและปริญญาเอก”

ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าสิ่งที่รัฐบาลควรทำ คือ ขยายการศึกษาให้ทั่วถึงและพัฒนาโรงเรียนในชนบทจัดการศึกษาให้มีคุณภาพในเมือง อย่างประเทศฟินแลนด์ คุณภาพในเมืองกับชนบทต่างกันไม่ถึง 5% จึงมองน่าจะทุมงบประมาณไปยังโรงเรียนต่างจังหวัดมากกว่าให้งบ กทม.และโรงเรียนในตัวเมือง อย่างจัดสรรงบให้โรงเรียน กทม.และตัวเมือง1 พันบาท ควรให้งบโรงเรียนชนบท 1 หมื่นบาท เพื่อให้โรงเรียนนำไปปรับปรุงอาคารสถานที่ ปรับปรุงการเรียนการสอน จัดซื้อสื่อที่มีคุณภาพ ทำเช่นนี้ มั่นใจว่าภายใน 5 ปีจะเห็นผลว่าโรงเรียนชนบทมีการพัฒนาขึ้น

ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวว่า ตนจะสรุปผลวิจัยแล้วเสนอที่ประชุม สกศ.คือ 1.หาคนเก่งมาสู่วิชาชีพครู 2. ควรจัดสรรงบประมาณไปยังต่างจังหวัดมากกว่าโรงเรียนในเมือง และ กทม. 3.ต้องปรับวิธีคิดในการสร้างบุคลากรคนใหม่ โดยจะนำวิธีการสร้างคนของ 6 ประเทศมาเป็นต้นแบบ 4.ต้องปลูกฝังให้คนมีความรับผิดชอบสูงขึ้น 5.สอนให้คนรู้สึกรับผิดชอบอย่างจริงจัง และมีความอดทน จากนั้นจะได้นำเสนอ รมว.ศธ.ต่อไป

ที่มา : http://manager.co.th - 21 กุมภาพันธ์ 2551

เลขาธิการ ก.พ. ชื่นชมนักเรียนทุน ODOS หวนคืนพัฒนาบ้านเกิด ในโครงการ สานสัมพันธ์ สานฝันเพื่อน้อง

นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการ ก.พ. เปิดเผยว่า นักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (ODOS) จำนวน 38 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยในกรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ นครคุนหมิง นครเทียนสิน และเมืองเซี่ยเหมิน
ได้รวมตัวกันจัดกิจกรรมออกค่ายพัฒนาโรงเรียนบ้านน้ำมุง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม – 7 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา ตามโครงการ สานสัมพันธ์ สานฝันเพื่อน้อง ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน และจากการจัดกิจกรรมหารายได้ของนักเรียนเอง เลขาธิการ ก.พ. กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าชมเชยและสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง เพราะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ที่สำคัญเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเยาวชนในการมีจิตสำนึกรักบ้านเกิดเมื่อได้รับโอกาสที่ดีทางการศึกษาแล้วหวนกลับมาร่วมกันช่วยเหลือสังคม พัฒนาชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง ทั้งให้ความหวังว่าในอนาคตเมื่อนักเรียนทุนสำเร็จการศึกษาแล้ว จะได้นำความรู้ความสามารถที่ได้รับกลับมาพัฒนาประเทศต่อไป

ที่มา : http://www.ocsc.go.th - 15 กุมภาพันธ์ 2551

นทร DCT-Suisse ได้รับรางวัลเหรียญทอง

นทร. โครงการฯที่ศึกษาวิชาการโรงแรมในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับรางวัลเหรียญทองในการประกวดการจัดโต๊ะอาหาร งานแสดงอาหารเครื่องดื่มนานาชาติที่เมืองบาเซิล สวิตเซอร์แลนด์
นทร. ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยรายนี้คือ น.ส.หทัยชนก จิระปันยารัตน์ นทร. โครงการ ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 2 จากอำเภอตาคลี จ. นครสวรรค์ ที่ศึกษาวิชาการโรงแรม ณ สถาบัน DCT เมือง Vitznau ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
น.ส. หทัยชนก เลือกจัดโต๊ะอาหารในหัวข้อ “ในหลวงของเรา” เพื่อแสดงความจงรักภักดี ของ พสกนิกร ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้ศิลปะการสลักผักผลไม้ของไทย เป็นสื่อแสดงออก ผลฟักทอง แกะสลักแทนพุ่มดอกไม้ตั้งกลางโต๊ะที่ชนะการประกวด เป็นผลงานร่วมแรงร่วมใจ จากเพื่อนนักเรียนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อน นทร.โครงการฯ สุทัศน์ กลางสุวรรณ และ เบญจวรรณ วรสุข

สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศฝรั่งเศส - 13 ธันวาคม 2550
http://oeaparis.free.fr

ชี้แจงเพิ่มเติม กรอบระยะเวลาศึกษา


Read more : ชี้แจงเพิ่มเติม.pdf

Hot News from OCSC

10 มกราคม 2551
ขณะนี้มีน้อง ๆ ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สอบถามเข้ามาหลายคน เกี่ยวกับการขออยู่ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้วยทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
สำนักงาน ก.พ. ขอแจ้งให้น้อง ๆ ทราบว่าทุนนี้ให้ศึกษาจนจบปริญญาตรีเท่านั้นและไม่มีนโยบายสนุบสนุนให้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้วยทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น แต่ถ้าภายหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว จะขออยู่ศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้วยทุนอื่น เช่นทุนของสถานศึกษา เป็นต้น นักเรียนสามารถอยู่ศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้นด้วยทุนอื่นได้ โดยขอให้ทำหนังสือแจ้งสำนักงานผูดูแลนักเรียนหรือสถานเอกอัครราชทูตที่ดูแลนักเรียนว่าจะอยู่ศึกษาต่อโดยยังไม่กลับประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม สำนักงาน ก.พ. จะเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปเพื่อรับทุนรัฐบาลประเภทต่าง ๆ เช่น ทุน ก.พ. ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น เป็นประจำทุกปี (ประมาณต้นปี) รวมทั้งแหล่งทุนอื่น ๆ ถ้าสนใจสามารถค้นหาข้อมูลได้จาก Website ของ ก.พ. ที่ http://www.ocsc.go.th

อีกเรื่องที่จะขอย้ำกันอีกแล้ว คือเรื่องการกลับประเทศไทยเพื่อเยี่ยมบ้าน น้อง ๆ ต้องทำเรื่องไปที่สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯหรือสถานทูตที่ดูแลจัดการศึกษาประเทศนั้น ๆ และต้องได้รับอนุมัติก่อน จึงจะเดินทางกลับประเทศไทยได้ค่ะ
และเมื่อเดินทางถึงประเทศไทย จะต้องมารายงานตัวที่ฝ่ายนักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น กลุ่มการศึกษาและฝึกอบรมในต่างประเทศ สำนักงาน ก.พ. ถนนพิษณุโลก ด้วยค่ะ


--------------------------------------



เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2550
ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยโตเกียวเคไซไดกักขุ นางสาวชลัยลักษณ์ บุญร่วม นักเรียนทุนพัฒนาท้องถิ่นรุ่น 1 คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวด สุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่นประจำปีของมหาวิทยาลัย โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันเป็นนักศึกษาต่างชาติจากประเทศต่างๆรวม 19 คน
สุนทรพจน์ของชลัยลักษณ์ที่ชนะใจคณะกรรมการและผู้ฟังชาวญี่ปุ่นในครั้งนี้เขียนมาจากเรื่องจริงของเธอ บอกเล่าถึงความยากลำบากในการศึกษาในมหาวิทยาลัยโตเกียวเคไซไดกักขุ ซึ่งปัจจุบันเธอเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เธอจึงรู้สึกเหงาและท้อแท้ แต่เมื่อโทรศัพท์ไปรับกำลังใจจากครอบครัวแล้วทำให้รู้สึกได้ว่าจริงๆ แล้ว เธอมีครอบครัวอยู่เคียงข้างตลอดเวลา
คณะกรรมการซึ่งเป็นคณาจารย์ชาวญี่ปุ่นกล่าวขณะมอบรางวัลชนะเลิศให้เธอว่า แสดงสุนทรพจน์ได้น่าชมและจากนี้ไปขอให้คิดว่าผู้ใหญ่ในมหาวิทยาลัยทุกคนเป็นเหมือนพ่อแม่ที่ยินดีดูแลและเป็นที่พึ่งให้เธอเสมอ
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ นางสาวหทัยชนก จิระปันยารัตน์ นักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 2 ซึ่งกำลังศึกษา ณ DCT International Hotel and Business Management School สมาพันธรัฐสวิส ได้คว้ารางวัลชนะเลิศ การประกวดการจัดโต๊ะอาหาร (รูปด้านล่าง) ซึ่งการตัดสินพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ 6 ส่วน คือ the matic table decoration, napkin folding, flambe, wine decanting, bar mixing and identification of various alcohols
ความสำเร็จครั้งนี้ ได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากเพื่อน ๆ ที่เรียนที่ DCT ค่ะ
Congratulations

พี่ ๆ ทุกคน ที่สำนักงาน ก.พ. ขอแสดงความยินดีในความสำเร็จครั้งนี้ของน้องทั้งสองคนค่ะ


--------------------------------------


วันที่ 30 พฤศจิกายน 2550
ขณะนี้มีนักเรียนหลายคนสอบถามเรื่องการนับเวลาระยะการรับทุน หากต้องกลับไปศึกษาต่อในประเทศไทย สำนักงาน ก.พ.จึงได้สอบถามไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งรับผิดชอบนักเรียนที่ศึกษาในประเทศไทย มีข้อสรุปดังนี้
นักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่ขอยุติการศึกษาในต่างประเทศ และเดินทางกลับไปรับทุนศึกษาต่อในประเทศไทย ระยะเวลาการรับทุนระหว่างศึกษาต่อในต่างประเทศและในประเทศไทย รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มรับทุน คือ วันแรกที่เดินทางออกจากประเทศไทย อย่างไรก็ตาม หากนักเรียนเดินทางถึงประเทศไทยแล้ว ยังไม่ได้เข้าเรียนต่อโดยทันที ช่วงเวลาระหว่างรอการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย นักเรียนจะยังไม่ได้รับทุน และจะเริ่มรับทุนอีกครั้งหนึ่งเมื่อนักเรียนมีสถานศึกษาตอบรับและเริ่มเข้าศึกษาแล้ว


From : http://www.ocsc.go.th