ประชาสัมพันธ์จัดค่ายโอดอสแค็มป์ ครั้งที่ 2

สำหรับกิจกรรมค่ายโอดอสแค็มป์ในหัวข้อ"ค่ายโอดอส เพื่อน้อง" ได้กำลังจะถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 สำหรับกิจกรรมครั้งแรกนั้นเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มนักเรียนทุนโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งอำเภอรุ่นที่1 ประเทศฝรั่งเศส จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นเมื่อกลางปี 2548 ที่โรงเรียนหนึ่งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จและได้รับความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สำหรับกิจกรรมค่ายโอดอสเพื่อน้องในปีนี้(โครงการสำหรับกลางปีหน้า) กำลังอยู่ระหว่างการปรึกษาหารือ สรุปแนวคิดเห็นสำหรับในการกิจกรรมต่างๆ โดยเปิดให้บรรดาเพื่อนๆชาวโอดอสทั้งหลายทั้งรุ่นที่1รุ่นที่2 จากทุกที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น หากใครมีความสนใจสามารถสอบถาม เสนอแนะข้อมูลในลักษณะต่างๆเพิ่มเติมกันได้ที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้

http://www.odos-online.com

20 คำถามกับทุนต่างประเทศ

1. ทุนมีกี่ประเภท
ถ้าหมายถึงทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายทางการศึกษา มีทั้งประเภททุนเต็มจำนวน (Full Scholarship) และทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วน มีทั้งทุนที่มีเงื่อนไขว่าต้องรายงานผลการเรียนและทุนที่ไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ ทั้งสิ้น

2. ควรเริ่มต้นในการขอทุนยังไง
ก่อนอื่นต้องถามตัวเองว่าตัวเรามีความสนใจในการเรียนในด้านใด และจะกลับมาทำอะไร วางเป้าหมายไว้ให้ดี ต่อจากนั้นมองหาประเทศที่ต้องการเข้าเรียนและศึกษารายละเอียดทุนต่าง ๆ ว่ารัฐบาลของประเทศนั้น ๆ ให้ทุนอะไรบ้าง ไม่ว่าจากทางมหาวิทยาลัย เว็บไซต์ นิตยสารการศึกษา เป็นต้น ที่สำคัญต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและกฎเกณฑ์ที่ทุนตั้งไว้ให้เรียบร้อย

3. ขั้นตอนการคัดเลือกมีอะไรบ้าง
ในการสมัครขอรับทุน ขั้นแรกเมื่อส่งใบสมัครจะถูกพิจารณาก่อนว่าคุณสมบัติตรงตามที่ตั้งไว้หรือไม่ หลังจากนั้นจะมีการจัดสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ แล้วจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทุนการศึกษานั้น ๆ โดยจะตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณสมบัติผู้รับทุนจากผลการสอบและประวัติการศึกษา รวมถึงผลงานทางวิชาการอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกอาจแตกต่างกันไปตามเงื่อนไข

4. อยากสมัครทุน DAAD ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการสมัครทุนนี้ คือ ใบสมัครพร้อมรูปถ่าย (ดาวน์โหลดใบสมัครได้จาก www.bankgkok.diplo.de) ประวัติส่วนตัวเขียนด้วยลายมือ เป็นเรียงความ ประวัติส่วนตัว (พิมพ์) แผนการศึกษาหรือแผนการวิจัย ใบระเบียนแสดงผลการศึกษา (Transcript) ใบรับรองการเรียนภาษาเยอรมัน จดหมายรับรอง 2 ฉบับจดหมายรับรองการจ้างงาน จดหมายตอบรับจากทางมหาวิทยาลัยในเยอรมนี ถ้าด้านแพทยศาสตร์ต้องมีใบประกอบโรคศิลปะ เอกสารทั้งหมดเตรียมไว้ 4 ชุด เป็นภาษาอังกฤษหรือเยอรมัน ยกเว้นประวัติส่วนตัวเขียนด้วยลายมือเป็นเรียงความ 1 ชุด ย้ำหากเตรียมเอกสารได้ไม่ครบถ้วนอาจถูกคัดออก และถ้าจะให้ดี ควรหมั่นเช็กข้อมูลในเว็บไซต์

5. การจะสมัครทุนต่างประเทศ ควรมีผลสอบอะไรบ้าง
ที่สำคัญเลยควรจะต้องมีผลสอบ IELTS และ TOEFLเพื่อรับรองว่าเรามีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในระดับใดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยหรือเกณฑ์รับสมัครทุนต่าง ๆ ด้วยว่าต้องการผลสอบในระดับคะแนนเท่าไหร่ สำหรับIELTS ส่วนมากรับ 6.5 ขึ้นไป และปัจจุบันนี้บางมหาวิทยาลัยในอังกฤษเปิดรับผล TOEFL ด้วยแล้ว บางทุนที่มาจากประเทศอื่น ๆ เช่น ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น จะต้องมีผลการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) ด้วย

6. ถ้ารับทุนการศึกษาจากต่างประเทศจะต้องชดใช้ทุนไหม
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการให้ทุน แต่ส่วนมากทุนรัฐบาลต่างประเทศจะมีลักษณะเป็นทุนให้เปล่า ซึ่งอาจจะเป็นทุนเต็มจำนวนหรือทุนบางส่วน เพื่อสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ยังมีความคาดหวังว่าผู้ที่ได้รับทุนจะกลับไปทำประโยชน์ให้กับประเทศด้วย

7. มีทุนอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาจากรัฐบาลต่างประเทศไหม
นอกเหนือจากทุนรัฐบาลต่างประเทศแล้ว ยังมีทุนต่าง ๆ ที่มาจากองค์กร หรือบริษัทเอกชน สำหรับจากทุนองค์กร หรือทุนมูลนิธิต้องตามด้วยว่าองค์กรนั้น ๆ ให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่เราต้องการเข้าศึกษาหรือเปล่า

8. ถ้าได้ทุนแล้ว แต่ไม่สามารถผ่านการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้ จะทำยังไง
ในกรณีที่แหล่งทุนอนุมัติให้ทุนเรียบร้อยแล้ว แต่ผู้สมัครไม่สามารถผ่านเกณฑ์การรับเข้าของมหาวิทยาลัยใด ๆ ได้ เท่ากับว่าต้องสละสิทธิ์ทุนนั้นไปโดยปริยาย

9. ต้องเก่งแค่ไหนถึงขอทุนได้
ทุนส่วนมากมักให้กับผู้ที่มีผลการเรียนดี-ดีมาก โดยทั่วไปแล้วคุณสมบัติ คือ เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป บางทุนรับเฉพาะเกียรตินิยม เช่น ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ทุนรัฐบาลนิวซีแลนด์ เป็นต้น ผลการสอบ IELTS 6.5 ขึ้นไป หรือ TOEFL 550 ขึ้นไป นอกจากผลการเรียนดีแล้วต้องรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่าง พร้อมเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ใหม่ ๆ ได้

10. ถ้าอยากไปเรียนในประเทศยุโรป มีทุนไหนน่าสนใจบ้าง
นี่เลย ทุนอีราสมุส มุนดุส เป็นทุนสหภาพยุโรป ให้เพื่อไปเรียนต่อปริญญาโทในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป นักเรียนทุนจะได้เรียนในประเทศต่าง ๆ อย่างน้อย 2 ประเทศในยุโรป แล้วแต่หลักสูตร ทุนนี้น่าสนใจมากเพราะผู้ที่ได้รับทุนจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ อย่างมากมาย

11. letter of recommendation คืออะไรจำเป็นต้องมีไหมletter of recommendation คือ จดหมายรับรอง เรียกง่าย ๆ ว่า เป็นจดหมายรับรองว่าผู้สมัครรับทุนมีความรู้ความสามารถ แสดงว่าเรามีความสามารถอย่างไร เคยทำผลงานอะไรมาก่อน และมีพฤติกรรมเป็นอย่างไร เพื่อทำให้ผู้พิจารณาเห็นภาพว่าเรามีคุณสมบัติอย่างไร โดยการเขียนรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา หรืออาจารย์ที่ดูแลการสอนให้กับผู้สมัครสมัยเรียน รวมถึงอาจจะเป็นหัวหน้างานด้วยก็ได้ส่วนมากนิยมให้อาจารย์เขียนรับรองให้ ขอบอกทิ้งท้ายไว้
ว่า ควรจะมีจดหมายรับรองด้วย

12. ตอนนี้เทรนด์เกาหลีกำลังแรง มีทุนไปเกาหลีบ้างไหม
รัฐบาลเกาหลีใต้มีทุนศึกษาต่อปริญญาโท-เอก และทุนวิจัยระยะเวลา 1 ปี และ 6 เดือน รวมทั้งมีทุนจากสถาบันการศึกษาให้แก่ชาวไทยด้วย ทุนรัฐบาลประกอบด้วย ทุนในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ทุนวิจัย เช่น ทุนจาก KFAS หรือThe Korea Foundation for Advanced Studies เป็นหน่วยงานที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนความร่วมมือในด้านการเรียนในระดับนานาชาติ เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ และความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องที่มาจากต่างภาษาและวัฒนธรรม สามารถสอบถามเรื่องทุนรัฐบาลเกาหลีได้ที่ สถานทูตเกาหลีใต้ประจำประเทศไทย โทร. 0-2247-7537

13. ถ้าอยากขอทุนเพื่อเรียนเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะเลยมีไหม
มีทุนฝึกอบรมดุริยางคศิลป์ (คลาสสิก) ประเทศออสเตรีย คุณสมบัติคือ เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาดุริยางคศิลป์ (คลาสสิก) หรือเรียนจบปริญญาตรีในสาขานี้หรือเทียบเท่า อายุไม่เกิน 30 ปี ประเภท Voiceและอายุไม่เกิน 35 ปี ประเภท Instrument สามารถติดตามรายละเอียดในเว็บ www.inter.mua.go.th

14. อยากสมัครทุนชีฟนิ่ง มีวิธีการสมัครอย่างไร
ปัจจุบันทุนนี้ไม่เปิดรับบุคคลทั่วไปแล้ว รับเฉพาะผู้ที่สังกัดในองค์กรที่ได้รับหนังสือเชิญจากสถานทูตอังกฤษและได้รับการเสนอชื่อเท่านั้น

15. ถ้าบางทุนมีเงื่อนไขว่าต้องมีจดหมายตอบรับจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เราควรทำอย่างไร
นั่นหมายความว่า ผู้สมัครต้องได้จดหมายตอบรับจากมหาวิทยาลัยทางนั้นมาก่อน จึงมีสิทธิ์ยื่นพร้อมใบสมัครและหลักฐานอื่น ๆ ให้กับหน่วยงานที่ดูแลทุนได้ภายหลัง ถ้าไม่มีจดหมายตอบรับก็ไม่สามารถสมัครได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอีกเช่นกัน แต่ก่อนที่จะเข้าถึงขั้นตอนการรับจดมายจะต้องติดต่อกับมหาวิทยาลัยทางต่างประเทศเอง โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก

16. ทุนอบรมระยะสั้นมีระยะเวลานานเท่าไร
ทุนอบรมอยู่ในช่วงระยะเวลา 1-3 เดือน บางโปรแกรมจัดให้มีการสัมมนาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ด้วย

17. ทุนการศึกษาต่างประเทศ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่
ขึ้นอยู่กับว่าเป็นทุนเต็มจำนวนหรือไม่ ถ้าเต็มจำนวนก็ครอบคลุมทั้งหมด ทั้งค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายส่วนตัวรายเดือนค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงห้องสมุด ค่าเดินทาง แต่ถ้าเป็นทุนสนับสนุนบางส่วน ผู้สมัครต้องออกค่าใช้จ่ายเอง เช่น ค่าเล่าเรียนบางส่วน ค่าเดินทาง เป็นต้น

18. ไม่เก่งภาษาขอทุนได้ไหม
มีโอกาสน้อยมากเลย เพราะการพิจารณาให้ทุนนั้นเรื่องภาษาเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะอย่างน้อยการสัมภาษณ์ก็เป็นภาษาอังกฤษ และต้องเรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษด้วย

19. ถ้าจะขอทุนวิจัยต้องทำอย่างไร
เช่นเคยเริ่มต้นด้วยการศึกษาข้อมูล รายละเอียดทุนต่าง ๆ ก่อน และทุนวิจัยนั้นจะต้องมีโครงร่างวิจัย (Research Proposal) ไปนำเสนอก่อนด้วย

20. จะขอทุนการศึกษา เริ่มขอได้ตั้งแต่เรียนอยู่ในระดับไหน
ทุนการศึกษามีให้ตั้งแต่น้อง ๆ ที่เรียนอยู่ระดับมัธยมฯ เช่น ทุนอียิปต์ที่ให้นักเรียนมัธยมต้น แต่ทุนส่วนมากจะเป็นทุนในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป เน้นทุนศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอกและทุนวิจัย


http://campus.sanook.com

ศธ. จัดค่ายสานสัมพันธ์นักเรียนทุนรัฐบาล (กลุ่มสารนิเทศ 25/10/50)

นายอภิชาต จีระวุฒิ รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นรุ่นที่ 1 ที่ศึกษาในประเทศไทย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ โดยรองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้โอวาทแก่นักเรียนทุนว่า เดิมโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นนี้ใช้ชื่อว่าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน แต่ได้เปลี่ยนเพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ คือ ต้องการให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนมาไปพัฒนาท้องถิ่นของตน ที่ได้รับทุนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 และหลายคนใกล้จะจบการศึกษาในเร็วๆ นี้ อยากให้ทุกคนรักกันมากๆ สามัคคีกัน ที่สำคัญคือพยายามสร้างเครือข่ายความคุ้นเคยกันเพื่อประโยชน์ในอนาคต เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วขอให้ตระหนักไว้เสมอว่าท่านคือนักเรียนทุนรัฐบาลมีหน้าที่กลับไปพัฒนาท้องถิ่น และสร้างความรุ่งเรืองให้กับประเทศไทยต่อไป สำหรับโครงการนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคม 2550 ณ ศูนย์ศึกษาการศึกษาพัฒนาหาดทุ่งกระเบน จังหวัดจันทบุรี เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนทุน ได้ทำความรู้จัก สร้างความคุ้นเคยและสร้างเครือข่ายระหว่างกัน ซึ่งกิจกรรมค่ายในครั้งนี้ได้มีนักเรียนทุนเข้าร่วมจำนวน 198 คน เป็นชาย 44 คน และเป็นหญิง 154 คน นอกจากนี้ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้นักเรียนทุนเข้ากิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่สถานสงเคราะห์คนชราจันทบุรี และสถานพินิจคุ้มครองเด็กจันทบุรี เพื่อให้ตระหนักถึงการช่วยเหลือสังคมและผู้ด้อยโอกาส

25 ตุลาคม 2550
http://www.moe.go.th/

ครม. พิจารณา ควรจะดำเนินการโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ ๓ หรือไม่

นายวิจิตร ศรีสอ้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ครั้งที่ ๖/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ ที่ห้องประชุมอาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ


รมว.ศธ.เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการครั้งนี้ เป็นการเตรียมข้อมูลสำหรับเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาว่า ควรจะดำเนินการโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ ๓ หรือไม่ โดยที่ประชุมได้เสนอหลักการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
>จะให้ทุนแก่นักเรียนเรียนดี แต่ยากจน ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยยึดเขตพื้นที่การศึกษา ๑๗๘ เขตๆ ละ ๒ คน รวม ๓๕๖ คน และทุนสายอาชีวศึกษาจังหวัดละ ๑ คน รวม ๗๖ คน รวมทั้งสิ้น ๔๓๒ คน
>ต้องไปเรียนในสาขาที่เป็นความต้องการของท้องถิ่น และไปเรียนในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กเก่งไปเรียนในประเทศที่เก่ง และได้วิชาการ รวมทั้งภาษามาด้วย
>เป็นทุนที่ไม่มีข้อผูกมัด แต่มีเงื่อนไขว่าจบแล้ว จะต้องกลับมาทำงานในประเทศไทย
>จะไม่มีทุนเพื่อให้ศึกษาในประเทศเหมือน ๒ รุ่นที่ผ่านมา เนื่องจากประเมินผลแล้วพบว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดทุนในลักษณะนี้ให้เรียนในประเทศ เพราะมีทุนอื่น รวมทั้งมีเงินทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นการประกันโอกาสบุคคลเหล่านี้อยู่แล้ว

รมว.ศธ. ได้กล่าวถึงกรณีรับทุนไปศึกษาแล้ว หากมีเหตุให้เรียนไม่ได้ ก็จะยุติการให้ทุน เพราะถือว่าเมื่อได้รับทุน ก็มีสิทธิ์เลือกประเทศและสาขาที่ต้องการจะศึกษาด้วยตนเอง หากเรียนไม่จบหรือขอยุติการศึกษา ก็ถือว่าเป็นการยุติทุน ส่วนการเลือกมหาวิทยาลัยนั้น ก็จะอนุญาตให้ไปเรียนในสถาบันที่เป็นที่รับรอง และมีชื่อเสียงในสาขานั้นๆ โดยจะเขียนเงื่อนไขไว้ รวมทั้งใช้กระบวนการแนะนำเมื่อสมัคร

ศธ.จะนำเสนอต่อ ครม.ว่า หากจะมีทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ ๓ ก็ให้เริ่มในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ เพื่อให้มีการเตรียมการไปศึกษาได้ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ โดยจะมีค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนการเดินทางไปต่างประเทศ จึงขอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณอุดหนุน ซึ่งยังไม่ทราบจำนวนเงิน แต่จะไม่มากเท่าเดิมเพราะจำนวนทุนลดลง

รมว.ศธ.กล่าวสรุปว่า ได้มีการประเมินผลการศึกษาของนักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ ๑ จำนวน ๖๒๘ คน ที่ไปเรียนใน ๑๕ ประเทศ คือ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย ออสเตรีย สเปน เดนมาร์ก อินเดีย สวีเดน มาเลเซีย อียิปต์ และอิตาลี ผลปรากฏว่า เรียนได้ดีเด่น ๒๐% ของจำนวนเด็ก ปานกลาง ๕๐% ซึ่งเป็นที่น่าพอใจสำหรับการส่งนักเรียนไปเรียนในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ ส่วนอีก ๓๐% อาจเรียนไม่จบ หรือมีปัญหา และต้องกลับมาเรียนในประเทศ เพราะทุนรุ่นนี้ยังกลับมาเรียนในประเทศได้ ดังนั้น หากมีการเตรียมตัวด้านภาษาให้มากพอก่อนการเดินทาง ก็อาจจะทำให้จำนวนผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงกว่านี้ และคุ้มค่าที่จะลงทุน

สำหรับนักเรียนทุนในรุ่นที่ ๒ จำนวน ๗๗๓ คน ใน ๑๖ ประเทศ (รวมแคนาดา) ขณะนี้กำลังเรียนภาษาเป็นส่วนใหญ่ และมหาวิทยาลัยได้ตอบรับให้เข้าศึกษาแล้วจำนวน ๑๘๗ คน.


ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี - 17 ต.ค.2550
http://www.moe.go.th

ศธ.เดินหน้า 1 อ.1 ทุน ขีดวงให้เฉพาะต่อ ตปท.ลั่นเรียนห่วยยุติ

“วิจิตร” ชงเรื่อง ครม.ขอทุนพัฒนาท้องถิ่น รุ่น 3 ตั้งเงื่อนไขให้ทุนไปเรียนประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ และสาขาขาดแคลน ย้ำเด็กเรียนไม่ไหวขอกลับมาเรียนในประเทศ “ยุติการให้ทุน” เพราะผิดวัตถุประสงค์สร้างเด็กเด็กมาพัฒนาท้องถิ่น

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น หรือ โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน นั้น ในที่ประชุมได้เตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า โดยที่ประชุมเห็นว่า ควรมีต่อในรุ่นที่ 3 ทั้งนี้ ยังคงยึดหลักการเดิมที่เคยเสนอไปคือ ให้ทุนแก่นักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนดีแต่ยากจน โดยจะให้โควตาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 178 เขตทั่วประเทศ เขตละ 2 คน และนักศึกษาอาชีวศึกษา ทั้ง 75 จังหวัดๆ ละ 1 คน รวมทุนทั้งสิ้น 432 ทุน โดยกำหนดเงื่อนไขนักเรียนทุน ว่า เมื่อเรียนจบแล้วจะต้องกลับมาทำงานในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือบริษัทเอกชนก็ได้ เพราะไม่ได้กำหนดว่าจะต้องทำงานใช้ทุนรัฐบาล

รมว.ศธ.กล่าวต่อว่า ผลการประเมินผลโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ทั้ง 2 รุ่นที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนเลือกเรียน 16 ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สวิส จีน เนเธอร์แลนด์ แคนาดา รัสเซีย ออสเตรีย สเปน เดนมาร์ก อินเดีย สวีเดน มาเลเซีย อียิปต์ และอิตาลี โดยนักเรียนรุ่นที่ 1 มีผู้เข้าเรียนจำนวน 628 คน พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนดีเด่น 20% เรียนปานกลาง 50% เท่ากับว่าที่ส่งไปมีถึง 70% ส่วนที่เหลือ 30% อาจจะไม่จบหรือมีปัญหาต้องกลับมาเรียนในประเทศได้

อย่างไรก็ตาม นักเรียนทุน 2 รุ่นแรก ยังเปิดโอกาสให้กลับมาเรียนในประเทศได้ สำหรับรุ่นที่ 2 เพิ่งเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ไม่กี่คน ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเตรียมภาษา ดังนั้น จึงยังประเมินไม่ได้ หากดูผลจากรุ่น 1 ซึ่งผลการเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

ศ.ดร.วิจิตร กล่าวอีกว่า เมื่อประเมินผลคร่าวจากนักเรียนทุน 2 รุ่น นั้น ผลอยู่ในขั้นพอใจ จึงจะเสนอรัฐบาลให้จัดทุนรุ่นที่ 3 แต่จะไม่มีทุนในประเทศเหมือน 2 รุ่นที่ผ่านมา และจะไม่ให้ทุนไปเรียนประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ ดูจากข้อมูลพบว่าคนไทยที่จบระดับ ม.ปลาย หรือระดับปริญญาตรี ที่ได้รับทุนรัฐบาล หรือใช้ทุนตัวเองไปเรียนในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกามีคนไทยไปเรียนถึง 10,000 คน อังกฤษ 50,000 คน จึงสมควรแล้วที่จะสนับสนุนให้คนไปเรียนในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ เนื่องจากคนไทยมีโอกาสไปเรียนในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษมากพออยู่แล้ว

ทั้งนี้ เด็กทุนรุ่น 3 ศธ.จะให้สิทธิเด็กเลือกสาขาและประเทศที่จะไปศึกษาต่อ แต่ต้องเป็นสาขา และสถาบันที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ถ้าหากนักเรียนไปศึกษาต่อแล้วและรู้ตัวเองว่าเรียนไม่ไหว หรือไม่สามารถเรียนต่อจนจบหลักสูตรได้ ทางคณะกรรมการเสนอว่าให้มีการยุติการให้ทุนทันทีแม้จะกลับมาเรียนในประเทศไทย

“เหตุผลที่คณะกรรมการยุติการให้ทุนในประเทศ เพราะหากลงทุนควรคุ้มค่า เพราะนี่ไม่ใช่ทุนสวัสดิการเป็นทุนจัดสร้างผู้นำทางวิชา และเน้นสะท้อนความต้องการท้องถิ่น อีกอย่างปัจจุบันเรามีทุนอื่นๆ เช่น กองทุนเงินให้กู้ยืมทางการศึกษา ที่ช่วยประกันโอกาสทางการศึกษาได้อยู่แล้ว จึงกำหนดเงื่อนไขให้เรียนเฉพาะต่างประเทศ และประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ ถ้าเรายังยืดหยุ่นให้เลือกเรียนต่างประเทศแล้วเรียนไม่ไหว แล้วขอกลับมาเรียนในไทย ก็ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ที่ต้องการให้เด็กเรียนในประเทศที่เก่ง เรียนสาขาเฉพาะทาง เพื่อนำความรู้มาพัฒนาท้องถิ่น”

ศ.ดร.วิจิตร กล่าวด้วยว่า ตนจะเสนอ ครม.ว่า รุ่นที่ 3 ขอเริ่มตั้งแต่ปี 2551 เพื่อให้เด็กได้เตรียมตัวไปศึกษาต่อในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งระหว่างนั้นจะมีค่าใช้จ่ายแต่ยังไม่ทราบว่าจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เชื่อว่าเป็นเงินไม่มากเพราะทุนรุ่น 3 กว่า 2 รุ่นที่ผ่านมา จึงขอให้รัฐบาลหางบมาช่วยด้วย


ผู้จัดการออนไลน์ 17 ตุลาคม 2550
http://manager.co.th

นร.ทุนแค่คนเรียนม.ดัง ที่เหลือกว่าเรียนม.ปานกลาง

เว็บไซต์คมชัดลึก - ก.พ.สำรวจพบนักเรียนทุน1 อำเภอ 1 ทุน หรือ เด็กโอดอสรุ่นแรก ส่วนใหญ่เข้าเรียนได้ในมหาวิทยาลัยระดับปานกลาง มีเพียงแค่ 100 กว่าคนจาก 628 คนที่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้ เตรียมชงข้อมูลเข้าที่ประชุมบอร์ดโครงการ 1 ทุน1 อำเภอ12 ต.ค. ศกนี้เพื่อผ่าตัดโครงการ 1 ทุน1 อำเภอรุ่น 3 ให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น

ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 ตุลาคม2550 นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่เปลี่ยนชื่อมาจากโครงการ 1 อำเภอ1 ทุนเพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่ ศ.ดร.วิจิตรศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้มอบให้หน่วยงานไปสำรวจมาเพื่อนำมาปรับปรุงเงื่อนไขการให้ทุน 1 อำเภอ1 ทุนรุ่นที่ 3 ให้มีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นและตอบคำถามของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ได้ให้ข้อสังเกตไว้ในเมื่อครั้งที่ศธ.เสนอโครงการนี้ขอความเห็นชอบจากครม.

ปลัดศธ. กล่าวต่อว่าข้อมูลหลักที่ รมว.ศธ.ต้องการนั้นได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไปสำรวจว่านักเรียนโครงการ 1 อำเภอ1 ทุนรุ่นที่ 1 ซึ่งเลือกเรียนต่อต่างประเทศรวม628 รายนั้นสามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยอันดับใดของแต่ละประเทศ เพราะ รมว.ศธ. ต้องการให้นักเรียนสามารถเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เก่งในแต่ละสาขาได้จริงๆเพื่อคุ้มกับทุนนี้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง

ทั้งนี้ทาง ก.พ.ได้ไปสำรวจและส่งข้อมูลดังกล่าวมาให้ศธ.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า นักเรียน 1 อำเภอ1 ทุนรุ่นแรก ที่ไปเรียนต่อใน 18 ประเทศส่วนใหญ่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยระดับกลาง มีประมาณ 100 กว่ารายที่สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยระดับดีซึ่งก็คือมหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับต้นๆของประเทศนั้นๆ

อย่างไรก็ตามแต่ละประเทศมีสัดส่วนนักเรียนทุน 1 อำเภอ ที่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยที่อันดับดีแตกต่างกัน อย่างนักเรียน 1 อำเภอ1 ทุนของประเทศญี่ปุ่นจำนวนทั้งหมด 119 คนสามารถเข้ามหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ได้ถึง 112 คน

ทั้งนี้เมื่อแต่ละหน่วยงานนำเสนอข้อมูลที่ รมว.ศธ.มอบหมายให้ไปสำรวจมาแล้วก็จะได้นำข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุงเงื่อนไขและเกณฑ์การรับทุนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น หลังจากนั้น ศธ.จะสรุปเรื่องโครงการ1 อำเภอ1 ทนรุ่น 3 ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)

รายงานข่าวแจ้งว่าศ.ดร.วิจิตร มีนโยบายให้นักเรียนทุนโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ในรุ่นต่อไป เน้นเรียนสาขาที่ประเทศชาติต้องการนำมาใช้พัฒนาประเทศ ไม่ใช้เงินทุนสูญเปล่า หรือเรียนในสาขาที่ประเทศชาติไม่ต้องการหรือมีคนล้นงานอยู่แล้ว คาดว่าในการประชุมวันที่ 12 ตุลาคมนี้ จะมีความชัดเจนมากขึ้น


http://www.komchadluek.net

เผยเด็ก 1 อำเภอ 1 ทุนรุ่น 1 ไม่เจ๋งจริง

ผู้จัดการรายวัน - สำรวจพบเด็ก 1 ทุน 1 อำเภอรุ่น 1 ไม่เจ๋งจริง เข้าเรียนได้แค่มหาวิทยาลัยระดับกลางมีเพียง 100 กว่าคนจาก 628 คนที่เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้ เตรียมชงข้อมูลนี้ในที่ประชุมบอร์ด 12 ต.ค.นี้ เพื่อปรับเงื่อนไขรุ่น 3
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า วันที่ 12 ต.ค. นี้จะประชุมคณะกรรมการโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เดิมชื่อโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาเสนอศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนำมาปรับปรุงเงื่อนไขเด็กรุ่นที่ 3 ให้มีความคุ้มค่ามากขึ้น
ทั้งนี้ จากการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไปสำรวจนักเรียนต่อต่างประเทศรวม 628 รายนั้นพบว่า นักเรียน 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นแรกที่ไปเรียนต่อใน 18 ประเทศ ส่วนใหญ่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยระดับกลาง มีเพียง 100 คนที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในระดับต้นๆของประเทศนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศมีสัดส่วนนักเรียนทุนเข้ามหาวิทยาลัยที่อันดับดีแตกต่างกัน อย่างนักเรียนทุนที่ไปเรียนประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด 119 คน เข้ามหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ได้ถึง 112 คน

http://manager.co.th

การ์ตินี มะเหาะ เด็กทุนโอดอส "เรียนจบกลับไปพัฒนาชาติไทย"

อีกไม่กี่วันจะครบกำหนด1 เดือนที่กระทรวงศึกษาธิการขอให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน (ก.พ.)รวบรวมข้อมูลจำนวนนักเรียนโครงการ 1 อำเภอ1 ทุนรุ่นแรก ไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อนำไปปรับปรุงเงื่อนไขรุ่นที่ 3 ที่เปลี่ยนชื่อเป็นทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยอาจกำหนดให้นักเรียนทุนต้องเข้าเรียนใน มหาวิทยาลัยที่ดีเด่นในสาขานั้น ๆ เพื่อให้คุ้มค่ากับทุนที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

วันนี้"คมชัดลึก" ขอนำเสนอมุมมอง - การ์ตินี มะเหาะ หรือน้องนี ศิษย์เก่าโรงเรียนนะห์ฎอตุลสูบาน จ.นราธิวาส วัย 23 ปี นักเรียน1 อำเภอ 1 ทุนรุ่นแรกไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาตะวันออกกลาง American University (AUC) เริ่มเรียนวิชาในชั้นปีที่ 1 ในวันที่ 5 กันยายน จากนี้ไปอีก 4 ปี จะต้องเก็บหน่วยกิตให้ครบทั้งหมด 120 หน่วยกิต

ทุนสำหรับนักศึกษาที่ได้เดือนละ900 ดอลลาร์สหรัฐ ในแต่ละเดือนก็ใช้จ่ายอย่างประหยัด และส่วนมากก็ไม่ได้ใช้เงินซื้ออะไรที่ฟุ่มเฟือยอยู่แล้ว จ่ายค่าที่พักประมาณ 363 ดอลลาร์สหรัฐ ค่ากินอย่างเดียว 150 ดอลลาร์สหรัฐ แล้วเหลือเงินเก็บอีกจำนวนหนึ่งซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะเก็บไว้เป็นทุนเรียนต่อสูงๆ และเก็บไว้ใช้ในเวลาฉุกเฉิน และหาประสบการณ์อียิปต์ เรียนจบแล้วจะกลัปไปทำงานที่ประเทศไทยช่วยพัฒนาบ้านเมืองของเราให้เจริญก้าวหน้าสืบไปอย่างแน่นอน น้องนีกล่าว

นักเรียนทุนโอดอสรุ่นแรกทุกคนจะต้องเรียนภาษาอังกฤษ2 ปีก่อนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียนในมหาวิทยาลัย แต่สำหรับน้องนี เธอต้องเรียน 3 ปี เพราะแต่ละวันเรียนเพียง 2 ชั่วโมง 30 นาที ประมาณ 2-3 วันต่อสัปดาห์ เท่านั้น จึงต้องใช้เวลาเรียนนานมากกว่าคนอื่น ขณะเดียวกันก็เรียนภาษาอาหรับไปด้วย เพราะต้องใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ทุนการศึกษาที่ใช้ไปกับการเรียนและการใช้ชีวิตที่ต่างประเทศถึงแม้จะได้มาฟรีๆ แต่เธอใช้จ่ายอย่างประหยัดรอบคอบเสมอ เพราะพ่อแม่มีลูก3 คน จึงต้องมีภาระหนักเลี้ยงดูลูกถึง 3 เท่า เธอเป็นพี่สาวคนโตจึงต้องประหยัดอดออมเป็นตัวอย่างที่ดีแก่น้องๆและได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากทูตไทยในกรุงไคโร เธอจัดสรรการใช้เงินทุนที่ได้รับอย่างคุ้มค่าที่สุด

หนูถูกพ่อแม่สอนให้มัธยัสถ์ตั้งแต่เด็กๆให้เป็นคนประหยัดมากๆ รู้จักเก็บเงิน ถ้าเหลือจากไปโรงเรียนแต่ละวัน ก็หยอดกระปุกออมสินเอาไว้ เวลาอยากได้สิ่งของที่อยากได้จะได้ไม่ต้องรบกวนพ่อแม่ เพราะพ่อแม่มีภาระต้องเลี้ยงดูน้องอีกตั้ง 2 คน ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายเยอะมาก ตอนเรียนมัธยม ที่โรงเรียนนะห์ฎอตุลสูบาน จ.นราธิวาส ได้เงินค่าขนมไปโรงเรียนวันละ 20 บาท กินข้าวกลางวัน 10 บาท เหลืออีก 10 บาท ก็กินขนมบ้าง เหลือจากนั้นก็เก็บออมเอาไว้ใช้ยามจำเป็น นีกล่าวถึงคำสอนที่จำจนขึ้นใจ

เธอยังน้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงแนวคิดความพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต มีแค่ไหนใช้แค่นั้นไม่โลภมาก รู้จักตัวเองก็ไม่เดือดร้อน ใช้อย่างพอเพียง พอมีพอกิน ตามรอยพ่อหลวงไม่ผิดแน่นอน นี ย้ำหนักแน่น เพราะได้ทดลองจนประจักษ์ผลและเธอก็นำเอาไปใช้ในการดำรงชีวิตในต่างแดนด้วย น้องนีบอกว่าหลังจากที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาตะวันออกกลางแล้ว เธอจะใช้เงินส่วนที่เก็บออมอย่างมัธยัสถ์จากทุนโอดอสที่ได้รับในแต่ละเดือนเพื่อสานฝันเรียนต่อปริญญาโทในสาขาเดิมให้ลึกซึ้งถึงแก่นแท้ เพราะผู้เรียนด้านนี้น้อยมาก หากเธอเรียนจบแล้ว จะกลับไปทำงานที่ประเทศไทย เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศอียิปต์ให้ดียิ่งขึ้น

ประสบการณ์มากมายในต่างแดนทำให้น้องนีแข็งแกร่ง และเอาตัวรอดได้ โดยเฉพาะการตรงตอเวลา เพราะที่มหาวิทยาลัยที่เรียนอยู่จะสอนให้เป็นคนตรงเวลามาสาย 1 วินาทีก็ถือว่าสาย ครูจะเช็คขาดทันที เพราะต้องการสอนให้เป็นคนตรงต่อเวลา จากวันวารจนถึงวันนี้ เธอก็ยังน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความพอเพียง และคำสอนของพ่อแม่ การประหยัดมัธยัสถ์ เป็นหลักมั่นในการดำรงชีวิต และจะยึดหมั่นคำสอนอันดีงามนี้ไว้ต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่


http://www.komchadluek.net

เปิดแล้วเว็บไซต์ odos-online.com

ก็ต้องขอแนะนำกันซะบัดนาวเลยนะครับสำหรับเว็บไซต์อันใหม่นี้ โอดอสออนไลน์ดอทคอม http://www.odos-online.com หนึ่งเว็บไซต์ที่นำเสนอสาระข้อมูลเกี่ยวทุนรัฐบาลโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนฯ (ชื่อใหม่ ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ) ในส่วนเว็บหลักๆตอนนี้ก็นำเสนอข่าวสารต่างๆในรอบสามสี่ปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับเหตุการต่างๆที่เกิดขึ้นกับโครงการและตัวนักเรียนทุนฯเอง อีกทั้งยังได้ให้บริการฟอรั่ม(เว็บบอร์ด) ไว้สำหรับพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำเสนอข่าวสาร ถกประเด็นกันอย่างตรงไปตรงมา (เว็บนี้เพิ่งจัดทำขึ้นใหม่นะครับ บางส่วนอาจยังไม่สมบูรณ์ (ผมไม่ได้เป็นคนจัดทำนะ)) ก็ลองๆแวะเข้าไปดูกันนะครับ
ต้องพยายามเข้าใจสักนิดนึงนะครับว่า ระยะนึง เพื่อนๆโอดอสหลายประเทศก็ได้มีส่วนจัดทำเว็บไซต์ขึ้นมากันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้เป็นจุดเชื่อมระหว่างเพื่อนๆนักเรียนทุนฯโอดอสด้วยกัน และก็เพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการ แต่ระยะหลังมานี้ เพื่อนๆหลายคนต้องมีภาระหน้าที่การเรียนที่วุ่นวายและลำบากกันมากขึ้น การเรียนการใช้ชีวิตที่ต่างประเทศจึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายๆสำหรับพวกเรา หลายเว็บไซต์ก็เลยหยุดให้ใช้งานกันไป แต่การสร้างเว็บไซต์ของโอดอสแต่ละประเทศนั้นไว้ซึ่งมันก็ย่อมเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะเราจะได้สามารถรับรู้ข่าวสารต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งความคิด ความรู้สึก และข้อเท็จจริงๆอะไรต่างๆ รวมทั้งประเด็นแต่ละปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่การนำมาวิพากวิจารณ์ แต่เราสามารถเช่นกันนำมาปรับปรุงแก้ไข้ นำมาพัฒนาในหลายๆส่วนต่างๆที่เป็นข้อผิดพลาดให้ดีมากยิ่งขึ้น เท่ากับว่า แต่ละเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับทุนโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนฯ และหากเราได้รับรู้รับฟังกันมา มันจะมีส่วนร่วมในการสร้างภูมิต้านทานให้กับพวกเรากันเอง ทำให้พวกเรามีความรู้ ความรู้สึก ความคิด และประสบการณ์ต่างๆที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้นและยังส่งผลดีในอนาคตการทำงานของพวกเราอีกด้วยเช่นกัน (โดยไม่ต้องคำนึงถึงภาระภาพพจน์ของทุนฯ) เพราะฉนั้นเองแล้วถ้าเรามองแต่ส่วนดีๆ การรับรู้รับฟังข่าวสารต่างๆเกี่ยวกับทุนโครงการนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องที่แปลก(กูเกิ้ลยังรู้เลย) ดังนั้นแล้วการผลักดันในส่วนของการจัดทำเว็บไซต์จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก

กรรมการฟันธง นศ.เรียนทุนหวย

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมกรรมการโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น หรือในชื่อเดิมว่า โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ว่า ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เคยนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ ประมาณ 2 เดือนที่แล้ว แต่ ครม.ตั้งข้อสังเกตให้ ศธ.กลับมาพิจารณา 3 ประเด็น คือ 1.ทุนดังกล่าวจะเปลี่ยนมาเป็นทุนเรียนต่อในประเทศแทนได้หรือไม่ 2.ควรขยาย ส่งนักเรียนทุนไปในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษด้วยหรือไม่ และ 3.ควรจะให้มีการผูกพันกลับมาทำงานใช้ทุนหรือไม่ จากเดิมที่กำหนดให้กลับประเทศเท่านั้น

ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นว่าทุนดังกล่าวควรให้เป็นทุนการศึกษาต่างประเทศต่อ เพราะการศึกษาในประเทศมีมาตรการอื่นๆ ให้โอกาสเด็กยากจนอยู่แล้ว อีกทั้งการส่งคนไปเรียนในหลายๆ ประเทศ จะทำให้รู้สภาพความเป็นอยู่ทำให้ประเทศไทยสามารถคบหาอย่างชาญฉลาดกับนานาประเทศ รวมทั้งเห็นว่าไม่ควรผูกผันให้กลับมาทำงานราชการ เพราะเท่ากับเป็นการบังคับให้รัฐต้องอุ้มนักเรียนทุนเหล่านี้ และต้องหางานรองรับพวกเขา อีกทั้งจุดมุ่งหมายของทุนคือต้องการพัฒนาปัญหาของเยาวชน ไม่ใช่พัฒนาคนกลับมาทำงานให้ราชการ ส่วนประเด็นว่า ควรส่งไปเรียนในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษด้วยหรือไม่นั้น ได้ให้ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไปหาตัวเลขนักเรียนไทยที่ไปเรียนประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ แยกออกมาว่า ในจำนวนนี้เป็น นักเรียนทุนรัฐบาลไทยจำนวนเท่าใด เพื่อนำข้อมูลมาตัดสินใจว่า ควรส่งนักเรียนทุนไปประเทศที่พูดภาษาอังกฤษหรือไม่ แต่แนวโน้มคิดว่าไม่จำเป็นเพราะมีทุนการศึกษาที่ส่งไปเรียนในประเทศที่พูดภาษอังกฤษมากอยู่แล้ว

รมว.ศธ.กล่าวต่อว่า นอกจากนั้น ได้มอบให้ทาง ก.พ.ซึ่งรับหน้าที่ดูแลนักเรียนทุนดังกล่าวในต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่รับหน้าที่ดูแลนักเรียนทุนในประเทศ ไปร่วมกันทำรายงานติดตามผลนักเรียนทุนทั้ง 2 รุ่น มา แสดงข้อมูลว่านักเรียนทุนทั้ง 2 รุ่น โดยเฉพาะรุ่นที่ 1 นั้น เข้ามหาวิทยาลัยได้จำนวนเท่าใดแล้ว ผลการเรียนและโอกาสจบการศึกษาเป็นอย่างไร

ที่สำคัญผมต้องการรู้อย่างละเอียดว่า นักเรียนทุนแต่ละรายเข้าเรียนในสถาบันไหน และเรียนสาขาวิชาใด และเป็นสาขาที่ตรงตามความต้องการของประเทศหรือไม่ ตรงนี้มีความสำคัญมาก เพราะถ้าเขาไปเรียนในสถาบันที่ไม่เก่ง หรือไปเรียนในสาขาวิชาที่สถาบันนั้นๆ ไม่เก่ง เป็นสาขาวิชาที่ไม่มีประโยชน์ จะถือเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า เพราะจริงๆ แล้ว โครงการต้องการส่งเด็กเก่งเหล่านี้ไปเรียนในสถานบันที่เก่งๆ เพื่อให้พวกเขาเก่งยิ่งขึ้น แล้วนำความเก่งมาใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ศ.ดร.วิจิตร กล่าว

รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า นักเรียนทุนบางรายไม่สามารถเข้าสถาบันเก่งๆ ได้ เนื่องการจากเตรียมตัวที่ไม่พร้อม โดยเฉพาะการเตรียมตัวทางด้านภาษา ทำให้ต้องเลือกสาบันการศึกษาที่รองๆ ลงมา หรือเลือกเรียนในวิทยาลัยอาชีวะแทนแล้วค่อยโอนมาเรียนมหาวิทยาลัย แต่ความตั้งใจของโครงการต้องการให้นักเรียนทุนำเรียนในสถาบันเฉพาะทางระดับปริญญาตรีที่เก่งๆ นอกจากนั้นการเตรียมพร้อมที่ไม่ดีพอทำให้นักเรียนทุนรุ่นแรกเกือบ 100 คน กลับมาเรียนต่อในประเทศ ส่วนใหญ่จะไปเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชน และเลือกเรียนทางสังคมศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่สาขาที่ประเทศต้องการ หมดโอกาสที่จะเข้ามหาวิทยาลัยรัฐที่มีความเก่งในหลายสาขาวิชามากกว่ามหาวิทยาลัยเอกชน

เพราะฉะนั้นเมื่อรายการการติดตามผลออกมา พบว่าเรื่องนี้เป็นปัญหามาก ในรุ่นที่ 3 อาจจะต้องมีการเพิ่มเกณฑ์ในเรื่องการเลือกมหาวิทยาลัยด้วย เหมือนอย่างทุนการศึกษาของธนาคารนั้นจะกำหนดไว้เลยว่า ต้องเลือกมหาวิทยาลัยที่อยู่ใน TOP TEN เท่านั้น เพราะฉะนั้นโครงการอาจจำเป็นต้องกำหนดว่ามหาวิทยาลัยที่เด็กจะเรียนนั้นต้องเป็นสถาบันที่เก่ง เป็นสาขาที่ประเทศต้องการและเป็นสาขามีความเชี่ยวชาญของสถาบันนั้นๆ รวมทั้งอาจต้องปรับให้นักเรียนเตรียมความพร้อมทางภาษาให้แน่นตั้งแต่อยู่ในประเทศไทย ระหว่างนั้นให้สมัครเข้ามหาวิทยาลัยไปด้วย หากสามารถเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อได้ค่อยส่งตัวไปเรียน ทั้งนี้เพื่อให้ทุนดังกล่าวเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลเบื้องต้นจาก ก.พ.ว่า นักเรียนทุนรุ่น 1 ที่ศึกษาอยู่ในต่างประเทศทั้งหมด 640 ราย นั้น 25% คาบลูกคาบดอกว่าจะจบหรือไม่จบ ที่เหลืออีก 75% นั้น มีโอกาสจบสูงแต่ในจำนวนนี้ 60% เท่านั้น ที่จบตามกำหนด อีก 15% ต้องใช้เวลานานกว่าปกติ

ผู้สื่อข่าวถามว่า สาเหตุอะไรที่ทำให้นักเรียนทุนซึ่งเป็นเด็กเก่งของแต่ละอำเภอต้องเปลี่ยนมาเรียนในประเทศเกือบ 100 คน และไม่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยเก่งๆ ได้ ขณะที่บางส่วนมีความเสี่ยงจะไม่จบ ศ.ดร.วิจิตร กล่าวต่อว่า เพราะการเตรียมการที่ไม่รัดกุมและเร่งรัดส่งเด็กไปต่างประเทศ รวมทั้งมีลูกหัวคะแนนติดมาด้วย ทั้งนี้คาดว่า รายงานติดตามผล และข้อมูลต่างๆ ที่มอบให้ ก.พ. และ สกอ.ไปจัดทำมาจะเสร็จภายในเดือน หลังจากนั้นจะกลับมาประชุมกันอีกครั้งก่อนจะสรุปเรื่องเสนอ ครม. คาดว่าเสนอ ครม.ได้ในเดือนกันยายนนี้


http://www.moe.go.th/

นร.ทุนอำเภอเรียนต่อฝรั่งเศส ขอกลับไทยมากที่สุดเหตุอ่อนภาษา

ปลัดศธ.ยอมรับนักเรียนทุน1 อำเภอ1 ทุนรุ่นแรก ขอกลับประเทศ เหตุสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ คะแนนทดสอบทางภาษาไม่ได้ตามเกณฑ์ ชี้เร่งรัดส่งเด็กไปต่างประเทศเร็วเกินไป

ดร.จรวยพรธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า นักเรียนทุนโครงการ 1 อำเภอ1 ทุนรุ่นแรกที่ขอกลับมาเรียนในประเทศไทย จำนวน 93 รายจากทั้งหมด 740 รายนั้นมาจากเหตุผลหลัก 3 เรื่องคือ ปัญหาสุขภาพส่วนตัว บางคนมีโรคประจำตัว และบางคนเป็นโรคคิดถึงบ้าน และสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้เพราะไม่สามารถทำคะแนนทดสอบทางภาษาได้ตามเกณฑ์หรือไม่ผ่านการทดสอบอื่นๆ เช่น สอบสัมภาษณ์ รวมถึงเปลี่ยนใจ ขอกลับมาเรียนในไทยเอง โดยนักเรียนทุนจากประเทศฝรั่งเศสขอกลับมาเรียนต่อในประเทศมากที่สุด เพราะประเทศฝรั่งเศลมีนักเรียนเลือกไปเรียนมากที่สุด โดยรุ่นแรกมีนักเรียนเลือกไปเรียนที่ ฝรั่งเศส จำนวน 142 รายรุ่น 2 จำนวน181 ราย

"ส่วนใหญ่ที่ขอกลับมาเรียนในประเทศเพราะไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ เพราะทำคะแนนทางภาษาไม่ได้ตามเกณฑ์ โดยเฉพาะบางประเทศอนุญาตให้ทดสอบทางภาษาได้ 2 ครั้งอย่างเช่น เยอรมนี หากครบ 2 ครั้งแล้วไม่สามารถผ่านการทดสอบทางภาษาได้จะไม่ต่อวีซ่าให้ เด็กก็ต้องเดินทางกลับไทย" ปลัด ศธ. กล่าว

ดร.จรวยพร กล่าวอีกว่า เด็กไม่สามารถผ่านการทดสอบทางภาษาได้นั้น เพราะนักเรียนทุนรุ่นที่ 1 มีเวลาเข้าค่ายเพื่อเตรียมความพร้อมแค่5 วันเนื่องจากต้องการเร่งรัดส่งตัวไปต่างประเทศ เมื่อเด็กต้องเดินทางไปเรียนภาษายังต่างประเทศทั้งที่เจ้าตัวไม่มีพื้นฐานทางภาษา จึงทำให้เกิดปัญหา ไม่สามารถเรียนภาษาได้เชี่ยวชาญและสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ภายใน 2 ปีตามที่โครงการกำหนด ไว้

"คงต้องมีการทบทวนการเตรียมพร้อมทางภาษาให้แก่นักเรียนทุนรุ่นที่ 3 ส่วนรุ่นที่ 2 ได้ปรับให้มีการเข้าคอร์สภาษาเป็นเวลา4 เดือนโดยให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (องครักษ์) จ.นครนายก ดำเนินการ ส่วนภาษาจีนให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้เด็กมีพื้นฐานทางภาษาบ้าง เมื่อเดินทางไปเรียนภาษาในต่างประเทศแล้วจะได้ไม่เกิดปัญหา และได้ปรับวิธีคัดเลือกด้วย รุ่นแรกได้ให้แต่ละจังหวัดเป็นผู้ออกข้อสอบคัดเลือกนักเรียนทุนแต่ละอำเภอเอง และสอบเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ แต่รุ่นที่ 2 ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกข้อสอบให้และสอบวิชาพื้นฐาน เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์" ปลัด ศธ. กล่าว


http://www.moe.go.th/
http://www.komchadluek.net/

“วิจิตร” สั่ง ก.พ.-สกอ.สังคายนา 1 ทุน 1 อำเภอ ลั่นไม่คุ้มค่ายกเลิกทันที

“วิจิตร” สั่ง ก.พ.-สกอ.รวบรวมข้อมูลเด็กทุนรัฐบาลทั้งหมดว่าศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยใดและสาขาไหนบ้าง ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพิจารณาความคุ้มค่าของการให้ทุนการศึกษา และเสนอต่อ ครม.เพื่อทบทวนโครงการ 1 ทุน 1 อำเภอ ระบุหากผลการศึกษาออกมาไม่คุ้มค่า ก็ต้องปรับเกณฑ์การให้ทุนใหม่ หรืออาจต้องยกเลิกทุนดังกล่าว ระบุไม่เอาภาษีประชาชนมาทำให้สูญเปล่า เพราะตอนนี้เงินให้ทุนมาจากภาษีทุกคน ไม่ใช่จากการขายหวย

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนเรื่องทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น หรือ 1 อำเภอ 1 ทุนเดิม ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มอบหมายให้กลับมาพิจารณาทบทวน 3 ประเด็น คือ 1.ทุนนี้จำเป็นต้องไปเรียนต่างประเทศหรือไม่ หรือจะให้เรียนในประเทศทั้งหมด 2.ทุนที่เรียนต่างประเทศควรเปิดกว้างให้ไปเรียนประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ หรือจะคงให้ไปเรียนเฉพาะประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น และ 3.ควรจะมีเงื่อนไขผูกผันในการใช้ทุนหรือไม่


สำหรับประเด็นแรกนั้นเห็นว่า ถ้าให้ทุนเพื่อเรียนในประเทศก็ไม่จำเป็นต้องมีทุนนี้ เพราะมีมาตรการที่จะส่งเสริมให้เด็กเรียนดีแต่ยากจนเรียนในประเทศอยู่แล้ว ส่วนประเด็นที่สองแนวโน้มคงต้องยืนยันกับ ครม.ไปว่าควรจะคงหลักเกณฑ์ให้ไปเรียนประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ เพราะเป็นยุคที่เตรียมคนเข้าสู่ประชาคมโลกที่ไร้พรมแดนจึงจำเป็นต้องรู้เขารู้เรา การได้เรียนรู้ชีวิตและวัฒนธรรมของประเทศที่หลากหลายจะทำให้เราเป็นพลโลก ประกอบกับปัจจุบันเด็กที่จบ ม.6 มีโอกาสที่จะไปเรียนประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษทั้งที่เป็นทุนรัฐบาลและทุนส่วนตัวมากมายอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าจะลงทุนให้คุ้มค่าก็ควรจะส่งไปเรียนในประเทศที่คนไทยไม่มีโอกาสได้ไป


ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไปประมวลจำนวนนักศึกษาไทยที่เรียนอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ และไม่ใช้ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะที่เป็นทุนรัฐบาลว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อประกอบการชี้แจงต่อ ครม.


รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นเรื่องข้อผูกพันในการชดใช้ทุนนั้น เห็นว่าทุนนี้สนองความต้องการของท้องถิ่นอยู่แล้ว และมีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาพัฒนาท้องถิ่น แต่จะให้ผูกพันถึงขั้นว่าต้องกลับมาชดใช้ทุนนั้น ตนเห็นว่ายังไม่ควรกำหนดถึงขั้นนั้น เพราะเท่ากับเป็นการบังคับรัฐบาลต้องจัดหางานมารองรับ ซึ่งถ้าไม่มีงานให้ก็ต้องอุ้มคนเหล่านี้ ฉะนั้น ทุนนี้น่าจะเป็นทุนเลี้ยงสมองมากกว่าเป็นทุนพัฒนาคนเพื่อมาทำงาน


ส่วนที่ ครม.มอบหมายให้ไปศึกษา และจัดทำรายงานข้อมูลผลการติดตามเด็กทั้ง 2 รุ่น โดยในส่วนของต่างประเทศมอบหมายให้ ก.พ.ดำเนินการ ส่วนในประเทศมอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดำเนินการนั้นจากรายงานเบื้องต้นพบว่า นักเรียนทุนพัฒนาท้องถิ่นรุ่นแรกไปเรียนต่างประเทศกว่า 700 คน ขอกลับมาเรียนในประเทศ 100 กว่าคน เนื่องจากไม่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยได้เพราะมีปัญหาเรื่องภาษา ส่วนที่เหลือร้อยละ 25 มีผลการเรียนที่คาบเส้นว่าจะจบหรือไม่ และที่เหลืออีกร้อยละ 75 อาจจะจบตามกำหนดเพียงร้อยละ 60 ส่วนอีกร้อยละ 15 อาจต้องใช้เวลานานกว่าปกติ


“ผมมอบหมายให้ทั้ง ก.พ. และสกอ.ไปศึกษาเพิ่มเติมว่า เด็กเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยอะไร ในสาขาที่มหาวิทยาลัยนั้นเชี่ยวชาญหรือไม่ และตรงกับความต้องการของประเทศหรือไม่ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน เพราะถ้าเด็กเก่งไม่ได้เรียนในสถาบันที่เก่ง และไม่ได้เรียนในสาขาที่ประเทศชาติต้องการ ก็ถือว่าไม่คุ้มค่า ซึ่งหากผลออกมาเช่นนั้น ก็อาจจะต้องยกเลิกทุนนี้ไป แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์กับเด็กในท้องถิ่น ดังนั้นน่าจะนำข้อมูลที่ได้มาปรับหลักเกณฑ์ในรุ่นที่ 3 โดยควรจะกำหนดสาขา และมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับเป็นเงื่อนไขในการให้ทุน ซึ่งผมให้เวลา ก.พ.และ สกอ.ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเป็นเวลา 1 เดือน คาดว่าไม่เกินเดือน ก.ย. น่าจะนำเรื่องนี้เสนอกลับเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ได้” รมว.ศึกษาธิการกล่าว


ศ.ดร.วิจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า หากตนไม่เห็นว่าทุนการศึกษานี้สำคัญและมีประโยชน์ก็คงไม่พยายามหาทางแก้ไขปัญหา หรือปรับปรุงเกณฑ์ต่างๆ ให้ดีขึ้น และคงจะยกเลิกทุนไปเลย แต่การดำเนินการทุนการศึกษาดังกล่าวของรัฐบาลชุดที่แล้ว ไม่รอบคอบ ไม่รัดกุม ทำแบบลองผิด ลองถูกมาตลอด จึงเกิดการสูญเปล่าขึ้น แต่ทั้งหมดไม่ใช่ความผิดของเด็ก จึงต้องพิจารณาเกณฑ์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมให้มากที่สุด ซึ่งหากตนจะทำอะไรคงไม่เอาภาษีของประชาชนมาทำให้สูญเปล่า เพราะตอนนี้ทุนการศึกษาที่ให้เด็กกลุ่มนี้อยู่ เป็นเงินจากภาษีอากรของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ทุนหวยเหมือนที่ผ่านมา และตนก็เสียภาษีนั้นอยู่เช่นกัน



“วิจิตร” เผยเด็ก 1 อำเภอ 1 ทุน ถอดใจกลับไทยเกือบ 100 ไม่ใช่ความล้มเหลว

“วิจิตร” ยันเด็ก 1 อำเภอ 1 ทุน เฉียด 100 คน ถอดใจกลับมาเรียนเมืองไทย “ไม่ใช่ความล้มเหลว” ชี้รุ่นแรกเด็กมีเวลาเตรียมตัวน้อย เผย 10 สิงหานี้จะสร้างเงื่อนไขเด็กทุนรุ่น 3 ที่ ครม.ให้โจทย์ เด็กทุนต้องกลับพัฒนาท้องถิ่น ไม่ใช่ทุนให้เปล่า

สืบมาจากนักเรียนทุน โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ทั้ง 2 รุ่น ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (รุ่นที่ 3 ) ปรากฏว่ามีเด็กจำนวนหนึ่งที่ไปเรียนต่างประเทศได้ขอย้ายกลับมาเรียนในประเทศไทยประมาณ 100 คน

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า รุ่นที่ 1 นั้นมีผู้รับทุนจำนวน 921 คน แบ่งเป็นศึกษาต่อในประเทศ 181 คน ต่างประเทศ 740 คน รุ่นแรกมีเวลาเตรียมการน้อย จึงค่อนข้างมีปัญหาค่อนข้างมากในภายหลัง เช่น มีนักเรียน 93 คน หรือร้อยละ 10 ขอกลับมาเรียนต่อในประเทศ เพราะไปเรียนภาษาแล้วแต่ไม่สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของประเทศนั้นๆ ได้ และบางคนเปลี่ยนใจอยากกลับมาศึกษาต่อในประเทศเพราะคิดถึงบ้าน

ส่วนรุ่น 2 มีผู้รับทุน 915 คน แบ่งเป็นศึกษาต่อในประเทศ 176 คน และต่างประเทศ 719 คน ซึ่งรุ่นนี้มีนักเรียนขอย้ายกลับมาเรียนในประเทศเพียง 6 คนเท่านั้น เนื่องจากเรามีประสบการณ์จากรุ่นแรก เราก็พยายามแก้ไขให้ดีขึ้น โดยการเตรียมความพร้อมนักเรียนก่อนให้เด็กเดินทางไปเรียนต่างประเทศ

“นักเรียนที่เลือกไปศึกษาต่อในต่างประเทศเปลี่ยนใจกลับมาเรียนไทยเป็นสิทธิ์ของเขา เด็กส่วนใหญ่จะเลือกมหาวิทยาลัยเอกชน เพราะหากเลือกเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐเด็กจะต้องสอบตรงกับมหาวิทยาลัยแห่งนั้น อย่างไรก็ดี การที่เด็กไปเรียนต่างประเทศแล้วขอกลับมาเรียนเมืองไทยนั้น ไม่ใช่ความล้มเหลว”

รมว.ศธ.กล่าวต่อว่า 10 ส.ค.นี้ ตนจะหารือร่วมกับคณะทำงานโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 3 เพื่อนำข้อเสนอจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เช่น ทุนนี้ควรมีการผูกพันให้เด็กเรียนจบแล้วกลับมาพัฒนาท้องถิ่น ไม่ใช่ทุนให้เปล่า เป็นต้น เมื่อได้ข้อสรุปจะนำเสนอต่อที่ประชุม ครม. ต่อไป

http://manager.co.th/

“วิจิตร” ระบุเด็ก 1 ทุน 1 อำเภอไม่ผูกพันใช้ทุนเพราะรัฐไม่มีงานรองรับ

“วิจิตร” เตรียมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 3 ยันการส่งเด็กไปเรียนในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องจำเป็น เพราะวิทยาการสมัยใหม่ไม่ได้อยู่เฉพาะในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ระบุรัฐไม่สามารถผูกพันนักเรียน 1 ทุน 1 อำเภอ ให้กลับมาใช้ทุนทำงานในท้องถิ่นได้ เพราะไม่มั่นใจว่าจะมีงานรองรับ และเด็กทุนฯ เป็นเด็กเก่งไม่หยุดแค่ ป.ตรี ส่วนใหญ่ได้ทุนต่อ ป.โท-เอก จึงต้องรักษาหลักการเดิมให้ทุนไม่ผูกพัน หรือหากอยากให้กลับมาใช้ทุน รัฐควรสรรทุนให้ ป.โท-เอกด้วย

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงความคืบหน้าแนวทางการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้นำแนวทางในการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม. ซึ่งได้มีการตั้งข้อสังเกต อาทิ เมื่อนักเรียนกลับมาแล้วจะต้องมาทำงานใช้ทุนหรือไม่ การจัดส่งนักเรียนไปเรียนในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก เป็นต้น ซึ่ง ครม.ได้มอบให้ ศธ. กลับไปพิจารณา โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเพิ่มเติม คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะนัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ เนื่องจากมีประเด็นที่จะต้องหารือไม่มาก เพื่อจะได้นำเสนอต่อ ครม. และประกาศจัดสรรทุนรุ่นที่ 3 ต่อจากเดิมโครงการ 1 ทุน 1 อำเภอที่ส่งนักศึกษาไปเรียนในรุ่นที่ 1-2 ได้

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับหลักการที่ให้ส่งเด็กไปเรียนในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษคงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากไทยต้องมีมิตรทั่วโลก และเวลานี้ทั้งวิทยาการและภาษา ก็ไม่ได้อยู่กับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น เช่น ระบบเศรษฐกิจโลกที่ใหญ่โตที่สุดในขณะนี้ก็คือประเทศจีน เมื่อเราส่งเด็กไปเรียนวิทยาการที่หาที่อื่นไม่ได้ เช่น แพทย์แผนโบราณ ยาสมุนไพร ถ้าไม่รู้ภาษาจีนก็จะเข้าไม่ถึง และในการจะติดต่อคบหากับคนจีนก็ต้องพูดจีนได้ด้วย เพราะฉะนั้นการให้ไปเรียนที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษก็เป็นเหตุผลทางวิชาการด้วยเช่นกัน อีกทั้งในการทำมาค้าขายกับประเทศใดก็ตามเราต้องรู้เขารู้เราแล้วด้วย ซึ่งวิธีเดียวที่จะทำได้คือ ต้องรู้ภาษาของเขา

“ที่ผ่านมาเราส่งคนไปเรียนในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษมามากแล้ว แต่เราก็ถดถอยมากในการส่งคนไปประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้น การให้คนไทยไปเรียนประเทศที่ใช้ภาษาอื่นจึงเป็นหลักการสำคัญของการให้ทุนนี้”

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ว่าควรเปิดให้เด้กเลือกไปเรียนประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษด้วยก็สามารถทำได้ เพราะยังถือว่าเป็นการดำรงวัตถุประสงค์ของการไปเรียนวิทยาการในประเทศที่เราต้องคบหาอยู่ นอกจากนี้ในประเด็นที่มีผู้เสนอว่าควรมีข้อผูกพันว่าจะต้องใช้ทุนคืนหากเด็กไปเรียนแล้วไม่กลับมาทำงานในท้องถิ่นของตนเอง เรื่องนี้มีประเด็นว่าหากเราจะผูกพันเด็กแล้วเรามีงานรองรับเขาหรือไม่ หากต้องประกันงานให้ด้วย เมื่อเด็กกลับมา 1 ปีหากไม่มีงานรองรับก็ต้องปล่อยเขาไป

“ผมมีความรู้สึกว่าเราให้ทุนเด็กไปเรียนแค่ปริญญาตรี และต้องการให้กลับมาทำงานในท้องถิ่น แต่ในทางปฏิบัติเด็กเหล่านี้เป็นเด็กเก่งก็จะไม่หยุดแค่ปริญญาตรี ซึ่งกว่าครึ่งก็ได้ทุนเรียนต่อปริญญาโท-เอก โดยขณะนี้มีการแจ้งมาแล้วว่าได้ทุนเรียนต่อในประเทศนั้นๆ ซึ่งเราก็อนุญาตทุกราย ดังนั้น ผมคิดว่าถ้าจะผูกพันเด็กต้องให้ทุนถึงปริญญาโท-เอก แต่วันนี้เราให้เพียงปริญญาตรี ดังนั้นผมเห็นว่าควรรักษาหลักการเดิมไว้”

http://manager.co.th/

นักเรียน 1 อำเภอ 1 ทุน อ้อนเรียนไม่ไหวขอกลับไทยกว่าร้อย

ศธ.เผยนักเรียน "1 อำเภอ 1 ทุน" กว่า 100 คน ทยอยกลับไทย เผยเรียนไม่ไหวส่วนใหญ่เป็นญาตินักการเมือง "วิจิตร" เรียกถกรายงานข่าวจากสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งว่า ขณะนี้มีนักเรียนในโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน หรือโอดอส รุ่นแรกที่เลือกเรียนในต่างประเทศ 739 คน จากนักเรียนทั้งหมด 921 คน เดินทางกลับประเทศไทยกว่า 100 คน เพราะเรียนไม่ไหว เนื่องจากผู้ที่ผ่านการคัดเลือกบางส่วนเป็นลูกหลานของนักการเมืองและหัวคะแนน ระยะการคัดเลือกกระชั้นชิด เตรียมความพร้อมด้านภาษาน้อยก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ ทำให้คุณภาพผู้ที่ผ่านการคัดเลือกไม่ได้มาตรฐาน เป็นอุปสรรคต่อการเรียนต่อ โดยได้รายงานปัญหาดังกล่าวให้ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรียบร้อย ซึ่งจะมีการเรียกประชุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวในวันที่ 9 สิงหาคมนี้

ส่วนโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มี 2 รุ่น รุ่นแรกเลือกเรียนในต่างประเทศ 739 คน และรุ่น 2 จำนวน 728 คน เรียนในต่างประเทศ เพิ่งเดินทางไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่เหลือเรียนต่อในประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบกลางปี 2550 จำนวน 1,108 ล้านบาท ให้ใช้สำหรับเดือนมกราคม-กันยายน 2550 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว และอนุมัติให้ผูกพันงบประมาณ 6,000 ล้านบาท เพื่อดูแลให้นักเรียนทุนทั้ง 2 รุ่นเรียนต่อจนจบ ซึ่งปีงบประมาณ 2551 สำนักงบประมาณได้อนุมัติวงเงินให้แล้ว 1,200 ล้านบาท

ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกรทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า มีนักเรียนทุนรุ่น 1 ที่ส่งไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่ปี 2546 สำเร็จการศึกษาและเดินทางกลับ ประเทศแล้วประมาณ 5 คน โดยสำเร็จการศึกษาจากประเทศอินเดีย และมีนักเรียนทุนบางส่วนขอเปลี่ยนมาเรียนต่อในประเทศไทย เพราะรู้ตัวเองว่าศักยภาพไม่เหมาะสมสำหรับการเรียนต่อในต่างประเทศ แต่ยืนยันว่าไม่มีการส่งตัวกลับไปเรียนต่อในประเทศเพราะไม่มีงบประมาณอย่างแน่นอน

ส่วนนักเรียนรุ่น 3 จะลดจำนวนทุนเหลือประมาณ 400 กว่าทุน แยกเป็นทุนเรียนต่อต่างประเทศจัดสรรให้เขตพื้นที่การศึกษาละ 2 คน รวมเป็น 356 ทุน (178 เขตพื้นที่การศึกษา) ทุนเรียนต่อทางด้านอาชีวศึกษาและทุนเรียนต่อในประเทศ ซึ่งสาเหตุที่ลดจำนวนทุนและจำกัดจำนวนทุนเรียนต่อต่างประเทศ เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่รัฐบาลต้องการการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กในชนบทที่เรียนดีแต่ฐานะยากจนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา ซึ่งจะปรับให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ออกข้อสอบคัดเลือกแทน เพื่อคัดเลือกให้ได้นักเรียนที่เรียนเก่งอย่างแท้จริง

ผู้รับทุนจะต้องเลือกเรียนในสาขาที่ประเทศ หรือท้องถิ่นขาดแคลน เรียนต่อในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ จะได้ประโยชน์ทั้งวิชาการและส่งเสริมบทบาทไทยในประชาคมโลกด้วย และเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กตั้งแต่อยู่ในประเทศไทยประมาณ 3-6 เดือน และทดสอบหลังเตรียมตัวด้วยว่าเด็กสามารถทำได้หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดกรณีไปแล้วเรียนต่อไม่ไหวเหมือนกับนักเรียนทุนใน 2 รุ่นที่ผ่านมา ซึ่งระหว่างที่เตรียมความพร้อมอยู่ในประเทศไทยให้สมัครเข้ามหาวิทยาลัยไปในเวลาเดียวกัน เมื่อเดินทางไปถึงสามารถเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยทันที ไม่ต้องเสียเวลาไปเรียนภาษาอีกเป็นปี หากใครไม่ผ่านการเตรียมตัวทางด้านภาษาจะไม่ให้เดินทางไป

ทั้งนี้นักเรียนทุน 1 อำเภอ 1 ทุน ทั้ง 2 ทุน รวมทั้งหมด 1,836 คน เป็นนักเรียนที่เลือกเรียนต่างประเทศประมาณ 1,400 คน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะต้องสำรวจด้วยว่านักเรียนทุน 2 รุ่น มีโอกาสที่จะมีงานทำในท้องถิ่นมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดสาขาเรียนต่อของผู้รับทุน โดยจะมีการหารือสรุปแนวทางการดำเนินการในวันที่ 9 สิงหาคมด้วย

น.ส.การ์ตินี มะเหาะ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาตะวันออกกลาง American University (AUC) นักศึกษา 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นแรก ซึ่งไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่ประเทศอียิปต์ กล่าวว่า นักเรียนไทยที่ไปเรียนในต่างประเทศในเบื้องต้นจะต้องไปเรียนภาษาเสียก่อนประมาณ 2 ปี จากนั้นถึงจะไปเรียนต่อด้านสาขาที่เลือกอีก 4 ปี และต้องเรียนให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้รับทุนการศึกษาก็ต้องเดินทางกลับ หากเรียนไม่จบตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็ต้องใช้ทุนของตัวเองเรียนต่อ

ส่วนการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนสาขาตะวันออกกลาง American University ของ น.ส.การ์ตินี บอกว่า ต้องเรียนภาษาอังกฤษ 3 ปี เรียนวันละ 2 ชั่วโมง 30 นาที ประมาณ 2-3 วันต่อสัปดาห์ พร้อมทั้งเรียนภาษาอาหรับใน 2 เดือนแรก เพราะต้องใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ขณะนี้สอบภาษาอังกฤษผ่านแล้ว โดยจะเริ่มเรียนวิชาปี 1 ในวันที่ 5 กันยายนที่จะถึงนี้ และจากนี้ไปอีก 4 ปี จะต้องเก็บหน่วยกิตให้ครบทั้งหมด 120 หน่วยกิต คาดว่าจะเรียนภาคฤดูร้อนเสริมด้วย

น.ส.การ์ตินี กล่าวว่า ได้รับทุนค่าครองชีพเดือนละ 900 ดอลลาร์สหรัฐ แบ่งออกเป็นค่าหอพักประมาณเดือนละ 363 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าอาหารประมาณเดือนละ 150 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนที่เหลือเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายเวลาที่จำเป็น และเก็บไว้เป็นทุนเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งนักเรียนไทยที่เรียนในไคโรได้รับการดูแลจากสถานทูตไทยประจำกรุงไคโรเป็นอย่างดี


http://www.moe.go.th/
http://www.komchadluek.net/

เปิดม่าน (บทความใน)

00 นักเรียนทุน 1 อำเภอรุ่นแรก แห่กลับไทย เกือบ คน ตามที่ "คมชัดลึก" ได้นำเสนอ นั่นเป็นความจริง งานนี้"ปู่วิจิตร ศรีสอ้าน เจ้ากระทรวงศึกษาธิการแอ่นอกรับแบบชายชาตรี พร้อมเตรียมล้อมคอกนักเรียนทุนรุ่นที่ 3 ในวันนี้(10ส.ค.) รู้มาบอกต่อ ๆ

00นัยว่า หลักสูตร "แพทย์แผนจีน"วิทยาลัยการแพทย์ทางเลือกของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม(มจษ.)กำลังกลายเป็นที่สนใจชองชาวอุดมศึกษามากๆ เพราะนอกจากจะเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่เปิดสอนแล้ว ยังมีนักษาศึกษาจาก "แดนมังกร"มาเรียนที่มจษ.ถึง 70 ชีวิต

0 งานนี้ทั้ง "รศ.มานพพราหมณโชติ "อธิการบดีมจษ.รศ.พรผจงเลาหวิเชียร ผู้อำนวยการวิทยาลัยการแพทย์ทางเลือกมจษ.และผศ.นุชรินทร์ศศิพิบูลย์ ต่างยิ้มแก้มปริไปตามๆ เพื่อคอยให้การต้อนแขกที่มาเยี่ยมชม เพราะต่างก็ "ทึ่ง" แพทย์จีนจันทรเกษมทำได้ไงเนีย! โดยเฉพาะผศ.พิทักษ์อาจคุ้มวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงถึงกับออกปากชม เลยนะขอบอก!

00มรภ.ธนบุรี จัดโครงการสืบสานภูมิปัญญาไทยครั้งที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการสาธิตและการสอน ประดิษฐ์หัวโขน ให้กับอาจารย์ เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้สนใจติดต่อสอบถาม โทร.02-890-1801 ต่อ 2141ในวันที่ 9-10 ,16-17 ส.ค.50 นี้

http://www.komchadluek.net

ประกาศ : ทุนการศึกษาของ นทร. โครงการฯ รุ่่น 1-2


สำนักงานผู้ดูุแลนักเรียนในประเทศฝรั่งเศส (สนร.) ขอประชาสัมพันธ์ จดหมายชี้แจงจาก กลุ่มการศึกษาและฝึกอบรมในต่างประเทศ สำนักงาน กพ. ลงวันที่ 15 มีนาคม 2550 เรื่อง กระแสข่าวเกี่ยวกับทุนการศึกษา ของ นักเรียนทุนรัฐบาลโครงการ ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 1- 2
จึงขอแจ้งให้ นทร. ทุกท่านทราบสถานการณ์ ข้อเท็จจริง และ แนะนำแนวทางปฏิบัติ ดังเอกสารที่แนบมานี้
จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

Click here to views the document (PDF)

สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศฝรั่งเศส
18 มิถุนายน 2550
http://oeaparis.free.fr

"วิจิตร"ย้ำให้ทุนท้องถิ่นต้องเลี่ยงภาษาอังกฤษ

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นรุ่นที่ 3 ว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เคยเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นรุ่นที่ 3 โดยส่งนักเรียนชั้นม.6 ไปเรียนต่อปริญญาตรีในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ จำนวน 432 ทุน แต่ในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา มีมติให้ศธ.มาทบทวน เนื่องจากมีรัฐมนตรีหลาย กระทรวงตั้งข้อสังเกต เช่น ควรให้เด็กไปเรียนในประเทศที่สอนภาษาอังกฤษด้วย และจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสถานที่เรียนเป็นความต้องการของท้องถิ่นและเมื่อเรียนจบกลับมาแล้วมีตำแหน่งงานให้จริงหรือไม่ และทำไมไม่มีสัญญาผูกมัด ซึ่งในเร็ว ๆ นี้ตนจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะยืนยันข้อเสนอดังกล่าวกับ ครม.อีกครั้งศ.ดร.วิจิตร กล่าวต่อไปว่า ในการประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทุน ตนได้ยืนยันว่าในระยะ 3-5 ปีแรกของทุนควรไปเรียนในประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เนื่องจากที่ผ่านมามีการส่งคนไทยไปเรียนต่างประเทศจากทุนของรัฐบาลหรือการที่คนไปเรียนด้วยทุนส่วนตัวในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษจำนวนมากแล้ว แต่ยุคปัจจุบันเราต้องติดต่อกับประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น หากไม่เตรียมคนไว้ก็จะทำให้อยู่อย่างลำบากในยุคนี้“ปัจจุบันใครจะคิดว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีบทบาทโดดเด่นสำคัญ และไม่มีใครคาดคิดว่าประเทศฝรั่งเศสจะไม่มีบทบาทสำคัญจนเดี๋ยวนี้คนไทยเกือบจะไม่เรียนภาษาฝรั่งเศสกันแล้ว ซึ่งผมขอยืนยันว่าไม่เห็นด้วยที่จะเปิดให้นักเรียนที่รับทุนไปเรียนในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เพราะหากเปิดให้เรียนทุกคนก็จะเลือกเรียนภาษาอังกฤษกันหมดก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้” ศ.ดร.วิจิตร กล่าว.
www.moe.go.th
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 มิ.ย. 2550

อนุมัติทุนพัฒนาท้องถิ่นเรียนต่อ วิศวกรรมศาสตร์ชั้นสูงในฝรั่งเศส

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้นำกรณีนักเรียนทุนโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น"ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" มาหารือร่วมกัน ได้แก่ กรณีนายสุทธิชัย ใจติ๊บ ซึ่งได้รับทุน รุ่นที่ 1 ปี 2547 จาก อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์เพื่อวิศวกรรม มหาวิทยาลัย Joseph Fourier-Grenoble 1 หลักสูตร 3 ปี ในประเทศฝรั่งเศส ที่ได้แจ้งความประสงค์จะขอศึกษาในโรงเรียนวิศวกรรมศาสตร์ชั้นสูงโดยจะเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ณ เมือง Grenoble และเมื่อจบการศึกษาจะได้รับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต และจะต้องใช้เวลาศึกษา รวมแล้วประมาณ 5 ปีศ.ดร.วิจิตร กล่าวต่อว่า ตามระบบการศึกษาในโรงเรียนวิศวกรรมชั้นสูงของประเทศฝรั่งเศส ถือว่าเป็นระบบการศึกษาเฉพาะสำหรับเด็กที่มีปัญญาเลิศ ที่ทำการเรียนการสอนด้านวิชาชีพเฉพาะชั้นสูง ด้านรัฐศาสตร์ การบริหารธุรกิจ และวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อเรียนจบจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต โดยจะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตร 5 ปีทั้งนี้ จากกรณีนี้ ที่ประชุมเห็นควรว่าจะผ่อนผันให้ตามที่ขอ เพราะระยะเวลาในการศึกษาไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดคือ ระยะเวลาในการเรียนภาษา และศึกษาต่อไม่เกิน 7 ปี รวมทั้งเห็นชอบให้มีการติดตามประเมินผลและสร้างหลักเกณฑ์เพื่อใช้ดูแลเด็กที่ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ เป็นต้น

www.moe.go.th
กรุงเทพฯ--14 มิ.ย.--พิมพ์ไทย

“สุรยุทธ์” สั่ง ศธ.พับทุนเรียนหวยประชานิยมยุคทักษิณ

“วิจิตร ศรีสอ้าน” หัวทิ่ม หลัง ครม.ตีกลับทุนการศึกษา หวย 2 ตัว 3 ตัว “สุรยุทธ์” สอนเสมาฯ 1 พูดความจริงกับเด็ก เชื่อ สนช.ค้านแน่ แหล่งข่าวในที่ประชุม ครม.เปิดเผยว่า จากโครงการทุนการศึกษาเด็กยากจนที่นำมาจากหวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยที่ทางกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอ ครม.ของบประมาณปี 49 จำนวน 6,405 ล้านบาท เพื่อนำไปเป็นทุนการศึกษาให้กับเยาวชน ซึ่งหลังจากที่รัฐบาลปัจจุบันยกเลิกหวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว ทำให้ไม่มีงบประมาณ และไม่ได้มีการกำหนดในการเบิกจ่ายงบประมาณปี 51 และไม่สามารถเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณได้ ขณะที่ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ ระบุว่า หากไม่ให้ทุนการศึกษากับเด็กเหล่านี้ ทำให้เกิดปัญหาและไม่สามารถตอบคำถามเด็กนักเรียนเหล่านั้นได้ ขณะนี้นายกฯ ระบุว่า เรื่องนี้ต้องชี้แจงกับเขาตามความจริง เพราะถ้าเรากลับไปเอาเงินหวย ทาง สนช.ก็ไม่เอาด้วยอยู่แล้ว ที่ประชุม ครม.จึงมีมติให้ถอนเรื่องนี้ออก และมอบให้ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมนุษย์เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้

ผู้จัดการออนไลน์ 13 มิถุนายน 2550 02:25 น

ศธ.ตั้งเป้าคัดเด็กหัวกะทิเรียนทุนรุ่น 3

ศธ. : ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน การประชุมโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ครั้งที่ 4/2550 ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 เวลา 15.00 น. ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีในชนบทแต่มีฐานะยากจนที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าทั้งสายสามัญและสายอาชีพในปีการศึกษา 2550 ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดให้มีขึ้นเป็นจำนวน 2 รุ่นแล้ว แต่สำหรับรุ่นที่ 3 นี้ มติที่ประชุมเห็นควรปรับโครงการให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศเท่านั้นและต้องเป็นประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในสาขาวิชาที่เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่นโดยจำนวนทุนตามจำนวนโรงเรียนและนักเรียน ซึ่งเป็นการกระจายทุนได้ดีกว่าอำเภอละ 1 ทุน นอกจากนี้ให้เพิ่มจำนวนผู้รับทุนสายอาชีวศึกษาจังหวัดละ 1 คน และหากไม่สามารถจัดสรรงบประมาณได้ทันการดำเนินการในปีการศึกษา 2550 ให้ดำเนินการในปีการศึกษา 2551 ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า จำนวนผู้รับทุนมีทั้งหมด 432 คน โดยกำหนดให้เป็นผู้รับทุนสายสามัญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดละ 2 คน รวมจำนวน 356 คน ทุนสายอาชีวศึกษาจังหวัดละ 1 คน รวมจำนวน 76 คน สำหรับนักเรียนสายอาชีวศึกษาให้ศึกษาต่อในสาขาอุตสาหกรรมที่เป็นไปตามความต้องการของประเทศตามที่กำหนด นอกจากนี้คณะกรรมการได้พิจารณาแนวปฏิบัตินักเรียนทุนฯ รุ่นที่ 1 นายสุทธิชัย ใจติ๊บ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์เพื่อวิศวกรรม สาขาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัย Joseph Fourier-Genoble จะใช้เวลาศึกษาเพียง 1 ปี ก็จบหลักสูตรและได้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตรดังกล่าวให้เวลาศึกษาเพียง 3 ปี) ได้แจ้งความประสงค์ขอศึกษาต่อในโรงเรียนวิศวกรรมชั้นสูง (Grandes Ecoles) ซึ่งเป็นระบบการศึกษาเฉพาะของสาธารณรัฐฝรั่งเศส สำหรับผู้มีปัญญาเลิศ โดยจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (Ingenievr Deplome) เทียบเท่าปริญญาโทใช้เวลาเรียนตามหลักสูตร 5 ปี ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณากรณีนี้เป็นการศึกษาในสาขาเดียวกันแต่เป็นการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นคนที่เรียนได้จะต้องเป็นอัจฉริยะและไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา 7 ปี ซึ่งสอดคล้องกับกรณีนักเรียนทุนที่เลือกเรียนในสาขาวิชาที่มีระยะเวลาเกิน 4 ปี ที่ศึกษาในประเทศจีนสาขาแพทย์แผนจีน (5 ปี) แพทย์แผนปัจจุบัน (5 ปี) และสถาปัตยกรรม (5 ปี) ซึ่งผู้ที่ศึกษาสาขาแพทย์ศาสตร์จำเป็นต้องฝึกงานอีก 1 ปี เพื่อสอบใบประกอบวิชาชีพจีน อันเป็นเงื่อนไขในการสมัครเป็นแพทย์ฝึกหัดของแพทย์สภาในกรณีดังกล่าว คณะกรรมการได้พิจารณาระยะเวลาการศึกษาให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดคือ 7 ปี แต่หากนักเรียนไม่สามารถศึกษาได้สำเร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว อาจพิจารณาขยายเวลาเป็นรายๆ ตามความจำเป็น

www.moe.go.th

นร.ทุนไทยสร้างชื่อในฝรั่งเศส ทำคะแนนสูงสุดหลักสูตรวิศวะอัจฉริยะ

นักเรียนทุนไทยสร้างชื่อในฝรั่งเศส “วิจิตร” เผย “สุทธิชัย ใจติ๊บ” สอบได้คะแนนสูงสุดของการเรียนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ชั้นสูงที่รับเฉพาะเด็กอัจฉริยะเข้าเรียน ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า นายสุทธิชัย ใจติ๊บ นักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 1 ปี 2547 อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์เพื่อวิศวกรรม มหาวิทยาลัย Joseph Fourier-Grenoble 1 ซึ่งเป็นหลักสูตร 3 ปี ประเทศฝรั่งเศส ได้แจ้งความประสงค์จะขอศึกษาในโรงเรียนวิศวกรรมศาสตร์ชั้นสูง โดยจะเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ณ เมือง Grenoble ซึ่งจะได้รับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต เทียบเท่าปริญญาโท ทั้งนี้ สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในฝรั่งเศสรายงานว่า นักเรียนมีผลการเรียนระดับดีเยี่ยม โดยขณะที่ศึกษาขั้นเตรียมความพร้อมภาษาฝรั่งเศส 7 เดือน ณ สถาบัน CUEF เมือง Grenoble ได้ผ่านการทดสอบวัดระดับภาษาฝรั่งเศสสำหรับนักศึกษาต่างชาติ ได้คะแนน 356 จากคะแนนเต็ม 699 และได้รับการตอบรับเข้าศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยภาคเรียนที่ 1 ได้คะแนน 11.039 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ภาคเรียนที่ 2 ได้ 11.866 จากคะแนนเต็ม 20 และภาคเรียนที่ 3 ได้ 14.238 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน โดยเฉพาะวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ได้คะแนนสูงถึง 17.75 จากคะแนนเต็ม 20 โดยสรุปได้คะแนนรวมเฉลี่ยเป็นที่ 1 ของชั้นปี “ตามระบบการศึกษาในโรงเรียนวิศวกรรมชั้นสูง ถือว่าเป็นระบบการศึกษาเฉพาะของฝรั่งเศส สำหรับเด็กที่มีปัญญาเลิศจะสอนด้านวิชาชีพเฉพาะชั้นสูง ด้านรัฐศาสตร์ การบริหารธุรกิจ และวิศวกรรมศาสตร์ เรียนจบจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต เทียบเท่าปริญญาโท โดยจะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตร 5 ปี” ศ.วิจิตร กล่าวชื่นชม

ผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤษภาคม 2550

เผยทุนอำเภอรุ่น 3 เน้นชาติไม่ใช่ ภ.อังกฤษ

ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยความคืบหน้าโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 3 ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ได้เห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยจะเป็นทุนเพื่อส่งนักเรียนที่เรียนดี มีความประพฤติดี และกำลังเรียนอยู่ชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษา ไปเรียนต่อปริญญาตรีในต่างประเทศตามสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและความต้องการของประเทศ โดยทุกประเทศที่จะส่งนักเรียนไปนั้นจะเป็นประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก สำหรับจำนวนทุนมีทั้งสิ้น 432 ทุน แบ่งเป็น สายสามัญ 356 ทุน โดยเขตพื้นที่การศึกษา 178 เขต จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกมาเขตละ 2 คน และสายอาชีวศึกษาอีก 76 จังหวัด จังหวัดละ 1 คน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับประเทศที่คณะกรรมการโครงการฯได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่จะส่งนักเรียนไปศึกษาต่อ ประกอบด้วยสายสามัญฯ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Agriculture ได้แก่ ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ แคนาดา (ควิเบค) ฟินแลนด์ รัสเซีย Fishery ได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา (ควิเบค) Food Science ได้แก่ ฝรั่งเศส ออสเตรีย ญี่ปุ่น Vehicle Engineering ได้แก่ เยอรมนี ญี่ปุ่น Information Technology ได้แก่ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฟินเลนด์ Packaging ได้แก่ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น กลุ่มการบริหารและการจัดการ Natural Resource and Environmental Management ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สเปน ญี่ปุ่น แคนาดา (ควิเบค) Logistics Languages ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี Islamic studies ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ ส่วนสายอาชีวศึกษาจะเน้นกลุ่มสาขาอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ด้านเกษตรและอาหาร ได้แก่ รัสเซีย อิสราเอล สเปน อิตาลี ด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ไต้หวัน ด้านสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง ได้แก่ อิตาลี บราซิล จีน ด้านเหล็กและเหล็กกล้า แม่พิมพ์ยานยนต์และชิ้นส่วน ได้แก่ รัสเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่น จีน ด้านผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์ไม้ ได้แก่ อิตาลี จีน ด้านปิโตรเคมี วัสดุ อัญมณี เซรามิก ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย ญี่ปุ่น รัสเซีย จีน.

www.dailynews.co.th

รมว. ศธ. เยี่ยมนักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2550ณ ประเทศฝรั่งเศส


ในระหว่างการเดินทางไปประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก ครั้งที่ 176 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เดินทางไปเยี่ยมนักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ที่เลือกศึกษาต่อ ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันกลุ่มนักเรียนดังกล่าว จำนวน 45 คน ที่เมืองเลอมองส์ (Le Mans) ของกรุงปารีส เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2550 เป็นนักเรียนรุ่นที่ 1 จำนวน 15 คน และรุ่นที่ 2 จำนวน 30 คน นักเรียนทุนโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ดังกล่าวกำลังศึกษา อยู่ที่สถาบัน IUT (Institut Universitaire de Technologie) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้น เมื่อปี 1966 มีลักษณะเฉพาะคือ ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร โดยกำหนดหลักสูตรและฝึกให้นักศึกษาเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็น การฝึกฝนด้านปฏิบัติ ปัจจุบันมีสถาบัน IUT ในฝรั่งเศส จำนวน 115 แห่ง ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่ที่จบจาก IUT 2 ปี หากประสงค์จะเรียนต่อระดับปริญญาก็สามารถกระทำได้ ทั้งระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท ทั้งนี้หากสอบเข้า Grand ecole ได้ก็จะเรียนต่ออีก 3 ปี ก็จะได้รับปริญญาโท (นักศึกษา 20% ของผู้จบอนุปริญญาที่ IUT จะทำงานทันที 30% จะเรียนต่ออีก 1 ปี เพื่อรับปริญญาตรี ส่วนอีก 50% จะศึกษาต่อระดับปริญญาโทต่อไป) ปัจจุบันนักเรียนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 1 ที่สอบผ่านการเรียนภาษา และเข้าศึกษาใน IUT มีจำนวน 69 คน รุ่นที่ 2 กำลังเรียนภาษาอยู่ จำนวน 182 คน ปัญหานักเรียนไทยคือ กระบวนการคิดและการปรับตัว ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร อย่างไรก็ตาม นักเรียนทุนรุ่นที่ 1 ส่วนหนึ่งที่กำลังศึกษาที่ IUT มีผลการเรียนอยู่ในระดับเป็นที่น่าพึงพอใจ

http://www.moe.go.th
http://thailemans.online.fr

ก.พ. เปิดรับสมัครสอบแข่งขันรับทุนรัฐบาล

สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนรัฐบาล ประจำปี 2550 รวม 234 ทุน ระหว่างวันที่ 12 – 23 มีนาคม 2550 โดยแบ่งเป็น ทุนรัฐบาลของกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือนจำนวน 57 ทุน กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จำนวน 177 ทุน
ผู้มีสิทธิ์สมัครสอบแข่งขันรับทุน ต้องเป็นผู้มีอายุไม่เกิน 35 ปี นับถึงวันที่ 23 มีนาคม 2550 และกำลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรี หรือเป็นผู้ได้รับปริญญาตรี และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.00 (ยกเว้น สาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ เภสัชศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือ 3.00) หรือเป็นผู้ได้รับปริญญาโท ประกาศนียบัตรเทียบเท่า มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.00 ต้องไม่ได้รับปริญญาโท ที่มีวิชาเอกเน้นทางเดียวกับทุนที่จะไปศึกษา และมีอายุไม่เกิน 40 ปี นับถึงวันที่ปิดรับสมัคร
ผู้ประสงค์เข้าสมัครคัดเลือกสามารถดูรายละเอียดได้ที่ศูนย์ข่าวการสอบ สำนักงาน ก.พ. ถนนพิษณุโลก ศูนย์ข่าวการสอบ สำนักงาน ก.พ. ถนนติวานนท์ หรือสำนักงาน ก.พ. เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธา สำนักงาน ก.พ. เครือข่ายมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี สำนักงาน ก.พ. เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี สำนักงาน ก.พ. เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สำนักงาน ก.พ. เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก สำนักงาน ก.พ. เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สำนักงาน ก.พ. เครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงาน ก.พ. เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สำนักงาน ก.พ. เครือข่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และทาง เว็บไซด์ของสำนักงาน ก.พ.
http://www.ocsc.go.th/, http://scholar.ocsc.go.th/
เว็บไซด์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://stscholar.nstda.or.th/

รูดม่านประชานิยม “ทักษิณ” อีก ปิดฉาก “1 อำเภอ 1 ทุน” เปลี่ยนชื่อใหม่ ใช้งบน้อยลง

รูดม่านประชานิยมทักษิณ อีก 1 โครงการ ปิดฉาก “1 อำเภอ 1 ทุน” เปลี่ยนชื่อเป็น “ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” เว้นวรรคปีการศึกษา 2550 เริ่มให้ทุนรุ่น 3 ในปีการศึกษา 2551 แยกให้ทุนการศึกษาตามเขตพื้นที่การศึกษา ส่งเรียนนอกหมดเลิกให้ทุนเรียนต่อในประเทศ เพราะมีโครงการอื่นทำเยอะแล้ว คาดใช้งบลดลงจากรัฐบาลก่อนจาก 3,000 ล้านบาทต่อรุ่น เหลือ 1,500 ล้านบาทต่อรุ่น
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมเรื่อง “ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” ซึ่งเปลี่ยนจากชื่อโครงการเดิม “1 อำเภอ 1 ทุน” ร่วมกับผู้บริหารองค์กรหลักที่เกี่ยวข้อง ว่า ที่ประชุมได้มีข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น หรือโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เดิม รุ่นที่ 3 โดยจะเป็นทุนศึกษาต่อต่างประเทศทั้งสิ้น ไม่มีทุนศึกษาต่อภายในประเทศ จะดำเนินการคัดเลือกในปีการศึกษา 2551 ซึ่งคัดจากนักเรียนม.6 หรือเทียบเท่าที่จบจากปีการศึกษา 2550 เรียนดี ใช้เกณฑ์ความยากจนเหมือนที่ผ่านมา แยกออกเป็นทุนสายสามัญศึกษา จะจัดสรรทุนให้เขตพื้นที่ฯ ละ 2 ทุน 178 เขต รวมเป็น 356 ทุน คัดเลือกจากอำเภอที่ไม่ซ้ำกัน ส่วนทุนสายอาชีวศึกษา จะจัดสรรให้จังหวัดละ 1 ทุน รวมเป็น 76 ทุน ส่วนการออกข้อสอบ และการจัดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนที่เหมาะสมนั้น จะดำเนินการโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ทั้งนี้ ก่อนจะดำเนินการรับสมัคร จะมีการสำรวจสาขาวิชาที่ท้องถิ่นแต่ละแห่งต้องการ และจะทำการสำรวจทุกปี เพื่อจะได้รับสมัครและบรรจุวุฒิที่เด็กจบมาได้ตรงกับสาขาที่ท้องถิ่นต้องการ “ถือว่า ปี 2550 นี้ข้ามไปหนึ่งรุ่น ไปดำเนินการในปี 2551 เลย เนื่องจากโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จึงต้องใช้เวลาในการชี้แจงทำความเข้าใจผู้เกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องเปลี่ยนชื่อโครงการ เปลี่ยนหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ที่สำคัญจากเดิมมีทั้งทุนศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศ แต่โครงการใหม่นี้ จะส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศเท่านั้น เนื่องจากทุนศึกษาต่อในประเทศมีอยู่มากแล้ว จะได้ไม่ซ้ำซ้อน” รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า หลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ใช้งบต่อรุ่นเพียงประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อปี ลดลงจากโครงการเดิมที่ใช้อยู่ประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาโดยเร็วๆ ที่สุด ซึ่งจะขอให้สนับสนุนงบ 5 ปีต่อเนื่องจนกว่านักเรียนจะสำเร็จการศึกษา ก่อนหน้านี้ ครม.ได้อนุมัติให้ดำเนินการโครงการ 1 ทุน 1 อำเภอรุ่นที่ 3 ได้แต่ได้ตั้งสังเกตว่า 2 รุ่นที่ผ่านมาใช้งบมากไป จึงเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเว้นดำเนินการไป 1 ปี ทั้งยังขอให้นักศึกษาที่จบจากโครงการดังกล่าว มีโอกาสทำงานในท้องถิ่นจริงๆ” นายวิจิตร กล่าว


ผู้จัดการออนไลน์ 1 มีนาคม 2550

เตรียมยกเลิกทุนหวย เชือดก่อน “ทุนเรียงความ”

“วิจิตร” เตรียมเรียก 5 องค์กรหลักกระทรวงศึกษาฯ เช็กชื่อโครงการที่ได้รับงบสนับสนุนจากเงินหวย 2 ตัว 3 ตัว ระบุ หากไม่มีเงินก็ต้องยกเลิกไม่สนับสนุน ให้ดึงงบประมาณกลางมาใช้ ส่วนโครงการไหนที่จำเป็นก็จะยืนยันให้ทำต่อไป เล็งยกเลิกทุนเรียงความโครงการแรก ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์หน้าตนจะเชิญผู้บริหาร 5 องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มาหารือถึงโครงการต่างๆ ในอดีตที่ใช้เงินจากรางวัลสลากเลขท้าย 2-3 ตัว เพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ซึ่งขณะนี้ตนยังไม่ทราบรายละเอียด แต่สำหรับในโครงการที่เคยดำเนินการมาแล้วไม่มีเงินก็ต้องยกเลิก ทั้งนี้ คงต้องขอข้อมูลจากทั้ง 5 องค์กรหลัก ว่า ดำเนินการไปเมื่อไหร่ และสภาพการเงินเป็นอย่างไร เพราะปัญหาจะเกิดขึ้นหากไม่มีเงินแล้วไปดำเนินการ โดยจะของบประมาณกลาง ซึ่งมีจำนวนเงินจำกัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คงไม่ได้ และตนคงต้องหารือว่า โครงการที่เคยดำเนินการมาแล้ว แต่หากต้องกระทบกับงบกลางคงไม่ทำ เพราะปัญหาเกิดจากไม่มีเงิน เนื่องจากงบประมาณประจำจะมีการตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้แล้วคงไม่สามารถไปดึงมาใช้ได้ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการที่เห็นว่าควรมีการทบทวนนั้น กรณีทุนหวยหรือทุนเรียงความก็เป็นเรื่องที่จะต้องทบทวนและอาจจะต้องยกเลิก แต่หากเห็นว่าเป็นกิจกรรมจำเป็นก็ค่อยยืนยันในการดำเนินการต่อไป เช่น กรณี 1 ทุน 1 อำเภอ เมื่อไม่ได้รับเงินจากกองสลาก แต่เห็นว่า จำเป็นตนก็ยืนยันให้ดำเนินการต่อ ซึ่งบางกิจกรรมไม่มีความจำเป็น และไม่กระทบต่อคนจำนวนมากก็ควรจะงดไป เพราะขณะนี้การเงินของเราไม่คล่องตัวไม่มีเงินมากเหมือนเดิมจึงต้องใช้เงินอย่างเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต้องประยุกต์เข้ากับเรื่องนี้ด้วย “ผมได้ยกเลิกไปหลายเรื่องแล้ว เช่น เรื่องคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก ยอมรับว่า เป็นการพัฒนาที่ดีแต่ยังรอได้ เพียงแต่ผมต้องการลงไปแก้ปัญหาพื้นฐานให้หมดเสียก่อน และค่อยเติมเรื่องเทคโนโลยีเข้าไป ซึ่งจะเห็นได้ว่าผมดำเนินการในลักษณะนี้มาโดยตลอด” ศ.ดร.วิจิตร กล่าว อนึ่ง ทุนการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรายได้การจำหน่ายหวย 2 ตัว 3 ตัว และอยู่ในความรับผิดชอบของ ศธ.ประกอบด้วย 1.ทุนสนับสนุนการศึกษาบุตร-ธิดา ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและราชการ งวดประจำปี 2549 จำนวน 79,330 ทุน เป็นเงิน 785,192,000 บาท 2.ทุนสนับสนุนการศึกษาโครงการเขียนเรียงความสำหรับเด็กและเยาวชน ประจำภาคเรียนที่ 1/2549 จำนวน 69,972 ทุน เป็นเงิน 395,827,000 บาท 3.ทุนสนับสนุนการศึกษาพิเศษเพื่อเด็กพิการสานฝันให้เป็นจริง ประจำปี 2549 จำนวน 30,000 ทุน เป็นเงิน 397,400,000 บาท 4.ทุนสนับสนุนการศึกษาเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพสูงขึ้น ปี 2549 จำนวน 500,000 ทุน เป็นเงิน 2,825,000,000 บาท และ 5.ทุนสนับสนุนการศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณรที่ยากจน จำนวน 5,413 ทุน เป็นเงิน 75,322,180 บาท รวมเป็นเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 4,481,741,180 บาท

ผู้จัดการออนไลน์ 29 มกราคม 2550

ศธ.เลิกส่งนักเรียน 1 อ.1 ทุน ติวเข้มในสิงคโปร์ชะลอความร่วมมือด้าน กศ.

ศธ.ระบุ ชะลอความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างไทย-สิงคโปร์ ย้ำเด็ก 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ที่เลือกเรียนภาษา จะเปลี่ยนติวเข้มในไทยแทน
จากกรณีที่รัฐบาลไทยใช้มาตรการทางการทูตตอบโต้ประเทศสิงคโปร์นั้น ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การชะลอความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งนี้ ทางกระทรวงต้องรับและปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะไม่กระทบต่อการความสัมพันธ์ด้านการศึกษาแน่นอน เพราะแม้จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในด้านต่างๆ เช่น การมอบทุนแก่นักเรียนไทย เพื่อไปศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาและปริญญาตรีที่สิงคโปร์ การจัดทำโครงการโรงเรียนเครือข่ายระหว่างโรงเรียนไทยและสิงคโปร์ การจัดค่ายเยาวชนไทย – สิงคโปร์ การส่งครูสิงคโปร์มาช่วยสอนภาษาอังกฤษ และภาษาจีนในโรงเรียนไทย การจัดหลักสูตรฝึกอบรมและศึกษาดูงานที่สิงคโปร์แก่ผู้บริหารโรงเรียนไทย รวมถึงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการแลกเปลี่ยนนักวิจัย ผู้สอน และนักเรียนในสาขาที่สนใจร่วมกัน ฯลฯ ซึ่งบางโครงการอาจชะลอไว้ก่อน ไม่จำเป็นต้องเร่งทำ สะดวกเมื่อไหร่ค่อยทำ สำหรับการส่งนักเรียนไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนนั้น ไม่มีผลกระทบเช่นกัน ซึ่งนโยบายที่ทำมาก่อนหน้านี้ แต่ถ้าเป็น รุ่น 3 ว่าจะให้ไปเรียนต่อที่ประเทศสิงคโปร์หรือไม่ หากไปศึกษาเพื่อเรียนภาษาอังกฤษคงไม่ให้ไป การพิจารณาว่าส่งไปหรือไม่ ขอยืนยันไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือมีโครงการจะติวเข้มเรียนภาษาที่เมืองไทยก่อนส่งไปเรียนต่างประเทศ “ส่วนกิจกรรมความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างไทยกับสิงคโปร์ ช่วงนี้คงต้องชะลอไปก่อน แต่ความร่วมมือระดับอาเซียน หรือทวิภาคีด้านการศึกษายังคงมีอยู่” รมว.ศธ.กล่าวระบุ

ผู้จัดการออนไลน์ 17 มกราคม 2550

ศธ.เดินหน้าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนต่อ

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียแล้วเห็นว่าควรมีการดำเนินโครงการต่อไป แต่จะมีการเปลี่ยนชื่อโครงการจากเดิมชื่อโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เป็น โครงการทุนการศึกษาพัฒนาท้องถิ่น เนื่องจากชื่อเก่าไม่สะท้อนการกระจายตัวของโรงเรียนมัธยมศึกษา และทำให้ทุนที่จะจัดให้ กระจายอย่างไม่เป็นธรรม เพราะหากให้ 1 อำเภอ 1 ทุน อำเภอที่มีโรงเรียนจำนวนมากก็จะเสียเปรียบ ที่ประชุมจึงเห็นว่าควรพิจารณาการให้ทุนโดยยึดเขตพื้นที่การศึกษาแทนอำเภอ ซึ่งมี 175 เขตพื้นที่การศึกษา เพราะแต่ละเขตพื้นที่ฯ จะมีโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ใกล้เคียงกัน ส่วนการจัดสรรทุนให้แต่ละเขตพื้นที่ฯนั้นจะต้องไม่น้อยกว่า 2 ทุน อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มอบให้คณะทำงานซึ่งมี ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ไปพิจารณาถึงจำนวนทุนที่เหมาะสม รวมทั้งสัดส่วนของนักเรียนที่จะเรียนในประเทศและนอกประเทศแล้ว และจะมีการนำรายละเอียดการดำเนินโครงการรุ่นที่ 3 มาเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้งในปลายเดือน ม.ค.นี้
รมว.ศึกษาธิการกล่าวว่า จะมีการเปลี่ยนเกณฑ์ ผู้ที่จะได้รับทุนในรุ่นที่ 3 โดยยึดเกณฑ์เดียวกันกับกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยผู้ที่จะได้รับทุนครอบครัวจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาท จากเดิมที่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนการจัดสอบเพื่อให้มีความโปร่งใส ก็จะมอบให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เป็นผู้ดำเนินการ เพราะถือเป็นหน่วยงานกลางและเป็นผู้ทำข้อสอบได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ในรุ่นที่ 3 นี้จะมีการกำหนดสาขาที่เป็นความ ต้องการของประเทศ และเลือกให้ไปเรียนในประเทศที่เก่งในสาขาเหล่านั้นด้วย ส่วนรุ่นที่ 1-2 ซึ่งไปศึกษาต่อแล้วนั้น ก็จะมีการสำรวจว่าสาขาที่ไปเรียนนั้นในแต่ละท้องถิ่นมีโอกาสในการทำงานสาขาวิชาเหล่านี้อย่างไร นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นว่าควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะส่งเด็กไปศึกษาต่อต่างประเทศอย่างน้อย 3-6 เดือน และใช้เวลาในช่วงนี้เป็นการทดสอบไปด้วย ซึ่งถ้าเห็นว่าเด็กไปไม่ไหวก็จะไม่ส่งไปเรียน เพราะไม่อยากให้ปัญหาเกิดขึ้นเหมือนรุ่นก่อนๆ เช่น ฆ่าตัวตาย โดยเมื่อส่งเด็กไปเรียนแล้วก็จะต้องมีการติดตามผลโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และกระทรวงการต่างประเทศอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง หากพบว่าเรียนไม่ไหวก็ให้ส่งกลับทันที หรือพบว่ามีปัญหาก็ให้รีบเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ปล่อยให้เป็นปัญหาอย่างที่เกิดขึ้นเหมือนในอดีต.

ไทยรัฐออนไลน์ 5 มกราคม 2550

“วิจิตร” ยกเครื่อง 1 ทุน 1 อำเภอ พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็นทุนฯพัฒนาท้องถิ่น

“ปู่จิตร” ได้ฤกษ์ยกเครื่อง 1 อ.1 ทุน เริ่มต้นจากเปลี่ยนชื่อ “ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” และคัดเลือกจากเขตพื้นที่การศึกษาแทนอำเภอ พร้อมมอบให้ สทศ.คัดเลือกนักเรียนทุนรุ่น 3 เผยปี 50 เตรียมงบพันล้านบาทให้เด็กทุน ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนว่า โครงการนี้มีประโยชน์ต่อสังคม โดยเปิดโอกาสให้เด็กยากจนได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้น ในปี 2550 จะมีการคัดเลือกนักเรียนรุ่นที่ 3 แต่จะเปลี่ยนชื่อจาก 1 อำเภอ 1 ทุน เป็น “ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” และจะไม่เลือกอำเภอละคน แต่จะเลือกโดยยึดเขตพื้นที่การศึกษาแทน ส่วนเหตุผลที่เปลี่ยนชื่อ รมว.ศธ.กล่าวว่า เพราะการคัดเลือกเด็ก 2 รุ่นที่ผ่านมา ยังกระจายไปไม่ทั่วถึง คือบางจังหวัด บางอำเภอ หรือตัวเมืองใหญ่ จะมีโรงเรียนมัธยม 5-10 โรงเรียน ขณะที่รอบนอกมีแค่ 1-2 โรงเรียน ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบเกิดขึ้น “การคัดเด็กทุนรุ่นที่ 3 จะใช้จำนวนเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 175 เขต เลือกเขตละ 2 คนขึ้นไป บางเขตอาจจะมีเด็กได้ 6 คน 8 คน หรือ 10 คน ขึ้นอยู่กับเขตนั้นๆ เล็กหรือใหญ่ แต่จะดูความเหมาะสม นอกจากนี้จะพิจารณาจากความยากจนโดยดูรายได้ของครอบครัวต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปี ซึ่งเป็นเกณฑ์เดียวกันกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)” สำหรับการเปลี่ยนจากอำเภอละคนมาใช้เขตพื้นที่การศึกษาจะทำให้จำนวนทุนลดลงหรือไม่ ศ.ดร.วิจิตร กล่าวว่า 2 รุ่นที่ผ่านมา รับไปประมาณ 1,800 คน มีทั้งทุนเรียนในประเทศและต่างประเทศ ส่วนรุ่นที่ 3 จำนวนคงไม่ต่างจากเดิมมากนัก เขตการศึกษาแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่า 2 ทุน และเขตไหนใหญ่อาจจะมีเด็กทุน 6 คน 10 คนก็ได้ อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอของบประมาณเพื่อสนับสนุนเด็กทุนในปี 2550 นี้ ไว้ประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนเด็กทุนรุ่นที่ 3 นี้ กระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เป็นผู้คัดเลือกเด็กทุน เนื่องจากสถาบันแห่งนี้มีความพร้อมทุกด้าน มีข้อสอบที่จะประเมินความรู้ความสามารถของเด็ก อีกทั้งยังเป็นสถาบันที่สังคมให้การยอมรับ ศ.ดร.วิจิตร กล่าวต่อว่า สาขาที่เด็กทุนเลือกเรียนต้องเป็นสาขาที่นำมาพัฒนาประเทศ ดังนั้นไม่ว่าเด็กเลือกไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือในประเทศ เราจะส่งให้เรียนกับมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นเฉพาะทางจริงๆ สำหรับเด็กที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศ เราจะมีการเตรียมความพร้อมด้านภาษาก่อนไปเรียนต่อจริง อย่างเด็กคนไหนจะต้องไปเรียนประเทศเยอรมนี อาจให้เรียนภาษาเยอรมันที่สถาบันเกอร์เต้ ส่วนเด็กที่จะไปเรียนต่อที่ประเทศจีน ส่งไปเรียนภาษาจีน เป็นเวลา 6 เดือนหรือ 1 ปี จากนั้นจะมีการประเมินความรู้ความสามารถด้านภาษาว่าเด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่จะไปเรียนต่อต่างชาติหรือยัง หากยังไม่พร้อมเราอาจจะให้เรียนกับมหาวิทยาลัยในไทยแทน “การเตรียมความพร้อมด้านภาษาให้แก่เด็กเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่ส่งไปเรียนภาษาที่ต่างประเทศทันที อย่างบางคนเรียนไป 1 ปีเศษแล้วภาษายังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ซึ่งเป็นการเสียเวลา เพราะฉะนั้น เด็กที่จะไปเรียนต่างชาติจะต้องมีพื้นฐานด้านภาษาดีและคิดว่าพร้อมไปเรียนทันทีหรือเรียนภาษาเพียง 3 เดือน 6 เดือนแล้วเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้เลย”
ผู้จัดการออนไลน์ 4 มกราคม 2550